ประเภทกองทุน
กองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
• กองทุนรวมตราสารหนี้
• กองทุนรวมหน่วยลงทุนประเภท Feeder Fund
• กองทุนรวมที่เน้นลงทุนแบบมีความเสี่ยงต่างประเทศ
เหมาะสำหรับใคร
• ผู้ลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนระยะยาวที่ดีกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วไป
• ผู้ลงทุนที่เข้าใจและสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเพิ่มฐานะการลงทุนในสินทรัพย์ให้มีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าทรัพย์สินของกองทุน (Leverage) ได้
• ผู้ลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้
• ผู้ที่สามารถลงทุนได้ระยะยาวตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป
นโยบายการลงทุน
• กองทุนมีนโยบายที่จะนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ โดยจะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PrivilEdge – H2O High Conviction Bonds, (EUR), I Class A (กองทุนหลัก) ในอัตราส่วนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทั้งแบบคงที่และลอยตัว ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีเงื่อนไข (Coco Bonds) (ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลัก) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bonds) และหรือตราสารหนี้อื่น เงินตราต่างประเทศสกุลต่างๆ เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลัก • กองทุนและกองทุนหลักอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) และตราสารหนี้ที่ไม่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Unrated) ทั้งในและต่างประเทศ
• กองทุนและกองทุนหลักอาจลงทุนในตราสารที่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง (Structured Notes หรือ SN) และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน (Efficient Portfolio Management) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนให้สูงขึ้น หรือเพื่อลดค่าใช้จ่ายของกองทุน รวมถึงกองทุนอาจจะลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
กองทุน PrivilEdge – H2O High Conviction Bonds, (EUR), I Class A (กองทุนหลัก)
• กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนีชี้วัดของกองทุนหลัก ซึ่งก็คือ ดัชนี JP Morgan Government Bond Index Broad
• กองทุนหลักผสมผสานกลยุทธ์และยุทธวิธีในการสร้างฐานะการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ รวมถึงการแสวงหากำไรจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยและตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ผู้จัดการกองทุนหลักอาจลงทุนในเครดิต ตราสารหนี้ภาคเอกชนในสกุลเงินต่างๆ (รวมถึงสกุลเงินของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market currencies)) และเงินตราต่างประเทศสกุลต่างๆ (รวมถึงสกุลเงินของกลุ่มประเทศเกิดใหม่) กลยุทธ์การลงทุนเป็นวิธีวิเคราะห์แบบบนลงล่าง (Top-Down Approach) โดยอาศัยการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาคและการวิเคราะห์กระแสเงินทุนและการประเมินมูลค่าตลาดของสินทรัพย์ทางการเงิน
• กองทุนหลักลงทุนในตราสารหนี้ ตราสารหนี้ที่จ่ายดอกเบี้ยทั้งแบบคงที่และลอยตัว ตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าที่สามารถลงทุนได้ (Non – Investment Grade) หุ้นกู้แปลงสภาพที่มีเงื่อนไข (Coco Bonds) (ไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลัก) หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible bonds) และหรือตราสารหนี้อื่น เงินตราต่างประเทศสกุลต่างๆ เงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลัก
• ผู้จัดการกองทุนหลักอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับเครดิต (รวมถึง Credit default swap) อัตราดอกเบี้ย (รวมถึง Interest rate swap) อัตราเงินเฟ้อ เงินตราต่างประเทศสกุลต่างๆ และค่าความผันผวน เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อลดความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการลงทุน และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุน
• กองทุนหลักลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนซึ่งส่งผลให้ฐานะการลงทุนในสินทรัพย์สูงขึ้น (Leverage) และเป็นการเพิ่มฐานะความเสี่ยงโดยรวมของกองทุนหลักและเพิ่มความผันผวนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนหลักให้สูงขึ้น
ผู้ที่สนใจลงทุนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารกองทุน