8/23/2024

เทคนิคจัดพอร์ต Save ภาษี ได้กำไร X2 ทั้งลดหย่อนและออมเงิน


จัดพอร์ตกองทุนประหยัดภาษี ได้สองต่อ ทั้งลดหย่อน และเก็บออมไว้ใช้ยามเกษียณ

เมื่อคนส่วนใหญ่ล้วนใฝ่ฝันอยากใช้ชีวิต “หลังเกษียณ" อย่างมีความสุข มีเงินเพียงพอใช้เพื่อคุณภาพชีวิตเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกษียณไปตลอดอายุขัย ทำให้การวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ยิ่งไปกว่านั้น ปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จากเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คนไทยมีอายุขัยเฉลี่ยไม่ถึง 60 ปี แต่ตอนนี้จากนวัตกรรมต่างๆ ทำให้คนไทยมีอายุขัยประมาณ 78 ปี หรือเท่ากับว่ามีอายุยืนขึ้นถึงเกือบ 20 ปี ซึ่งนั่นหมายถึงว่าเราจะมีช่วงที่ไม่มีรายได้จากการทำงานนานขึ้น


เริ่มต้นวางแผนและลงทุนเร็ว ย่อมได้รับพลังดอกเบี้ยทบต้น

แม้ว่าสำหรับหนุ่มสาว การเกษียณอายุอาจดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ยิ่งเราเริ่มต้นวางแผน และลงทุนเร็วเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งได้รับประโยชน์จาก “พลังดอกเบี้ยทบต้น" และมีเวลาให้เงินงอกเงยได้มากขึ้น

เช่น จากตัวอย่างในรูปด้านล่าง หากเราลงทุน 20,000 ดอลลาร์ฯ ทุกๆปี ตั้งแต่อายุ 25-65 ปี ผลตอบแทนที่ 5% ต่อปี จะทำให้ตอนอายุ 65 เรามีเงิน 2,536,795 ดอลลาร์ฯ (เส้นสีน้ำเงิน) แต่หากเราเริ่มลงทุนตอนอายุ 35 ปี จะทำให้เงินออมเมื่ออายุ 65 จะน้อยลงกว่ากรณีที่เราเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุ 25 ปี (เส้นสีส้ม)


ลงทุน เพื่อต่อยอดเงินให้เพิ่มพูน

นอกจากความสำคัญของการเริ่มเก็บออมตั้งแต่อายุยังน้อยแล้ว การลงทุนก็มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายเพื่อเกษียณเช่นเดียวกัน เนื่องจากแม้ว่าเราจะเริ่มออมเงินตั้งแต่อายุ 25 ปี แต่เก็บไว้เป็นเงินสดเพียงอย่างเดียว ไม่ได้นำเงินไปลงทุน (เส้นสีเขียว) ก็จะทำให้เงินออมเมื่ออายุ 65 นั้น น้อยกว่าการนำเงินไปลงทุนให้ได้ผลตอบแทน 5% ต่อปี ถึงครึ่งหนึ่งเลยทีเดียว

ดังนั้น เราจึงควรเริ่มต้นวางแผนลงทุนเพื่อเกษียณตั้งแต่อายุน้อยๆ และนำเงินไปลงทุนเพื่อเพิ่มผลตอบแทน ภายใต้ความเสี่ยงที่รับได้ เพื่อให้แน่ใจว่าเราจะมีความมั่นคงทางการเงินในช่วงบั้นปลายชีวิต

 

accumulation-of-investment-growth.png

​กราฟที่มา: J.P. Morgan Asset Management, Guide to the Markets

 

เทคนิควางแผนลงทุนพอร์ตกองทุนประหยัดภาษี โดยเริ่มต้นจาก

1. การตั้งเป้าหมายสำหรับการเกษียณ

ซึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ทั้งอายุที่ต้องการเกษียณ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องการ เช่น ท่านต้องการไปเที่ยวต่างประเทศหรือไม่ มีสวัสดิการรักษาพยาบาลหรือไม่ หรือสามารถลดรายจ่ายลงมาจากที่เคยใช้ช่วงก่อนเกษียณได้ แล้วนำมาคิดว่าในแต่ละเดือนท่านต้องการใช้เงินเดือนละเท่าไร ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล


2. ประเมินความเสี่ยงที่ท่านรับได้

เนื่องจากแต่ละคนมี “ความสามารถในการรับความเสี่ยง" (Risk Tolerance) ที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่ได้แบ่งตามอายุเสมอไป บางคนอายุน้อย แต่อาจรับความเสี่ยงไม่ได้มาก ขึ้นอยู่กับสถานภาพทางการเงิน ข้อจำกัด และระยะเวลาการลงทุน


3. เข้าใจตัวเลือกในการลงทุนวางแผนเกษียณ

โดยเราสามารถเลือกลงทุนในสินทรัพย์ได้หลากหลาย ตั้งแต่หุ้น ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งการลงทุนในกองทุน SSF RMF และ Thai ESG นั้น ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ต้องออมเงินระยะยาว และได้ประโยชน์จากสิทธิในการลดหย่อนภาษีด้วย เพียงแต่นักลงทุนต้องทำความเข้าใจเงื่อนไขกองทุนเพื่อให้มั่นใจว่าเราจะได้ประโยชน์ และมีเงินออมไปใช้ในวัยเกษียณ ซึ่งสำหรับกองทุน SSF และ RMF นั้นมีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย และผู้ลงทุนสามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปมาระหว่างกองทุน SSF หรือระหว่างกองทุน RMF ด้วยกันได้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการปรับพอร์ตตามความเสี่ยง เช่น เมื่ออายุมากขึ้น หรือระดับความเสี่ยงที่รับได้เปลี่ยนไป

 

4. การจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง

เพราะไม่มีสินทรัพย์ไหนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีได้ตลอดเวลา และจะสลับกันไปตามปัจจัยที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งการลงทุนแบบกระจุกตัว อาจทำให้นักลงทุนเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินได้มาก ดังนั้น เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอน การกระจายความเสี่ยงจะสามารถลดความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้ โดยเราสามารถใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “Core & Satellite" เนื่องจากเป็นการจัดพอร์ตที่ทำได้ง่าย มีความยืดหยุ่น ในขณะเดียวกันก็สามารถเพิ่มเป้าหมายทำกำไรในระยะสั้น-กลางได้ ด้วยการแบ่งเป็นส่วนของพอร์ตหลักหรือ “Core" ประมาณ 80% และส่วนของ Satellite อีก 20%

 kasset-thaiesg-fund.png


Core Port ส่วนหลักสำหรับเงินลงทุน

สำหรับในส่วนของ Core นักลงทุนสามารถเลือกกองทุนที่กระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ โดยเงินส่วนนี้จะเน้นการลงทุนระยะยาว สามารถ DCA ได้ทุกเดือน เพื่อเป็นเฉลี่ยต้นทุน และรักษาวินัยในการลงทุน แนะนำกองทุนในกลุ่ม WealthPLUS Series ตามระดับความเสี่ยงที่ท่านรับได้ ได้แก่

K-WPBAL-RMF สำหรับคนที่รับความเสี่ยงปานกลาง

K-WPSPEED-RMF* สำหรับคนที่รับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง (*IPO ระหว่างวันที่ 17-23 ก.ย. 2567)

K-GINCOME-SSF สำหรับคนที่รับความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างสูง

K-WPULTI-RMF สำหรับคนที่รับความเสี่ยงสูง

 

Satellite Port ส่วนเพิ่ม สำหรับทำกำไรระยะสั้นๆ

ส่วนของพอร์ตเสริมหรือ Satellite เน้นลงทุนไปในกองทุนกลุ่มที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงระยะสั้น-กลาง เช่น กองทุนที่ลงทุนรายประเทศ หรือรายอุตสาหกรรม

โดยสำหรับในไตรมาส 3/2024 ทีม KAsset แนะนำกองทุน

K-GSELECT-RMF กองทุนหุ้นทั่วโลกน้องใหม่ ที่สามารถลงทุนได้ทุกช่วงเวลา ไม่ต้องจับวัฏจักรตลาดหุ้น

K-VIETNAM-SSF และ RMF ผลการดำเนินงานเอาชนะดัชนีชี้วัดทั้งในระยะสั้นและยาว (31 ก.ค. 2567)

K-INDIA-​RMF โอกาสเติบโตไปกับหนึ่งในตลาดหุ้นที่ปรับตัวดีโดดเด่นในปีนี้

K-PROPI-RMF เน้นลงทุนในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และหรือโครงสร้างพื้นฐาน

K-FI-RMF เน้นลงทุนระยะยาวเพื่อใช้ในวัยเกษียณ

K-FIXEDPLUS-SSF จะได้ประโยชน์จาก Yield ตราสารหนี้ในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง

 

โดยสรุป กองทุน SSF, RMF และ Thai ESG นับเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับการลงทุนในระยะยาว อย่างมีวินัย เพื่อการใช้ชีวิตในวัยเกษียณอย่างมีความสุข และได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไปพร้อมๆ กัน เพราะการวางแผนเกษียณอายุให้มีความมั่นคงทางการเงินในช่วงบั้นปลายชีวิต ไม่ใช่เพียงสิ่งที่เรา “ใฝ่ฝัน" แต่เป็น “เป้าหมายชีวิต" ที่สำคัญอันดับแรกๆ เพื่อให้คำว่า “เกษียณสุข" มีโอกาสเป็นจริงได้ ไม่ไกลเกินฝัน

 

กองทุนนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ โปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

 

บทความโดย คุณฐนิตา ตุมราศวิน Investment Strategist บลจ.กสิกรไทย

ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2024

 ​​
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

ตอบคำถามคาใจ จัดพอร์ตไม่ใช่เรื่องยาก >>Click

จัดพอร์ตลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core-Satellite Portfolio >>Click

พอร์ตกองทุนประหยัดภาษี เงินเกษียณก้อนใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม >>Click

จัดพอร์ตแบบ De-Risking เทคนิคเกษียณง่าย >>Click
เลือกกองทุน Core Portfolio อย่างไร?  >>Click

Yes
8/23/2024
none