
ทรัมป์เดินหน้า 'ยกระดับภาษีการค้า' เตรียมเก็บภาษีรอบใหม่ เริ่ม 1 ส.ค. นี้ !!
ทรัมป์ยกระดับภาษีการค้า
• ส่งจดหมายถึง 14 ประเทศ เตรียมเก็บภาษีนำเข้ารอบใหม่ มีผล 1 ส.ค. นี้
• ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ถูกเก็บ 25 %
• ไทยจะถูกเก็บ 36 % ซึ่งสูงกว่าอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ที่โดนเก็บ 32% 25% และ 20% ตามลำดับ
• ข้อแม้สำคัญในจดหมายระบุว่า หากประเทศคู่ค้าตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีสหรัฐฯ จะ “บวกเพิ่ม” จากฐานตามระดับที่ประกาศไว้ ส่งผลให้ความไม่แน่นอนสูงขึ้นอีกขั้น อย่างไรก็ตาม ในจดหมายระบุเช่นกันว่า อัตราภาษียังคงเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับประเทศคู่ค้าและหากประเทศคู่ค้ายินดีที่จะปรับลด trade barrier ลงมา
• สำหรับกรอบเวลาเจรจา ทำเนียบขาวขยายเส้นตายให้บรรลุข้อตกลงยกเว้นภาษีถึง 1 ส.ค. ซึ่งขณะนี้มีเพียงสหราชอาณาจักรและเวียดนาม ที่ได้ดีลเบื้องต้นแล้ว
ตลาดการเงินตอบรับเชิงลบ (7 ก.ค. 2025)
• ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง โดยดัชนี Dow Jones ปิด -0.94% ดัชนี S&P 500 ปิด -0.79% และดัชนี Nasdaq ปิด -0.92%
• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี ปรับขึ้นเล็กน้อยมาที่ 4.38%
• ดอลลาร์แข็งค่าเทียบค่าเงินเยนของญี่ปุ่นและวอนของเกาหลีใต้
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น
• สหรัฐฯ คือคู่ค้าอันดับ 1 โดยไทยส่งออกไปสหรัฐฯ 55.1 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2024 คิดเป็น ~10 % ของ GDP (GDP 2024 ~ 515 พันล้านดอลลาร์)
• สินค้าที่มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยางและชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และ เฟอร์นิเจอร์
KAsset ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีความเสี่ยงถดถอยเชิงเทคนิค (ติดลบเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า 2 ไตรมาสติดต่อกัน) โดยการเก็บภาษีที่ 36% อาจฉุด GDP ไทยปีนี้ให้ลดลง และจะเติบโตเพียงประมาณ 1% ขณะเดียวกันจะกดดัน EPS ตลาดหุ้นไทยประมาณ -5%
• สำหรับตลาดหุ้นญี่ปุ่น (TOPIX): หากอัตราภาษีขึ้นไปตามจดหมายที่ 25% มีโอกาสส่งผลกระทบต่อ EPS Growth ของตลาด -6% ถึง -8%
มุมมอง และคำแนะนำการลงทุนต่อสินทรัพย์ต่างๆ
• หุ้นโลก: จากในจดหมายที่ระบุว่าอัตราภาษียังคงเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์กับประเทศคู่ค้า และหากประเทศคู่ค้ายินดีที่จะ กำจัด/ยกเลิก trade barrier ลงมา จึงมีมุมมองว่า ข้อความดังกล่าวยังเป็นส่วนนึงของการเจรจาเพื่อจะกดดันให้ประเทศคู่ค้าเจรจาใน term ที่เป็นประโยชน์ กับสหรัฐฯมากขึ้น และสุดท้ายลดทอนอัตราภาษีที่ระบุในจดหมายลงมา
KAsset จึงไม่แนะนำให้นักลงทุนมีการเปลี่ยนน้ำหนักการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ (เนื่องจากสุดท้ายทุกอย่างยังคงอยู่ในการเจรจาอยู่) แต่ให้มีความระมัดระวังเพิ่มเติมในการเพิ่มน้ำหนักกาลงทุนในระยะถัดไป โดยหากต้องการซื้อให้เน้นทำการซื้อเมื่อตลาดย่อตัว และเน้นการลงทุนในกองทุนที่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
• หุ้นไทย: ระมัดระวังหุ้นกลุ่มที่น่าจะได้รับผลกระทบสูงจากการส่งออกไปสหรัฐฯ เช่น ส่งออกอาหาร ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ แนะนำลงทุนในกองทุนที่เน้นหุ้นปันผลสูง เช่น K-VALUE เหมาะกับสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนและตลาดหุ้นที่มีความผันผวนสูง
• ทองคำ และ REITs: ใช้กระจายความเสี่ยงหาก Sentiment เสี่ยงยืดเยื้อ
มุมมองการลงทุน
"หลีกเลี่ยงการตัดสินใจจากข่าวระยะสั้น และจัดพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง โดยใช้กลยุทธ์ Core-Satellite Portfolio"
สำหรับ Core Portfolio เพื่อเสริมความมั่นคง และลดความผันผวน
• K-WPBALANCED / K-WPSPEEDUP / K-WPULTIMATE กองทุนผสม กระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก พร้อมปรับกลยุทธ์อย่างคล่องตัว
• K-FIXEDPLUS กองทุนตราสารหนี้ระยะกลางถึงยาว ลงทุนตราสารหนี้ไทย และต่างประเทศบางส่วนใน ETF ตราสารหนี้สหรัฐฯ ดูเรชั่นพอร์ต 2-4 ปี
• K-SFPLUS กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น สำหรับพักเงินช่วงตลาดผันผวน
สำหรับ Satellite Portfolio เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนระยะสั้น
• K-GSELECT กองทุนหุ้นโลก ที่ออกแบบพอร์ตมาให้รองรับทุกสภาวะตลาด ไม่ว่าจะอยู่ในวัฏจักรหุ้น Growth หรือ Value
• K-INDIA กองทุนหุ้นอินเดีย เน้นหุ้นคุณภาพดี เติบโตสูง และไม่จำกัดโอกาสการลงทุนในหุ้นขนาดกลาง-เล็ก
• K-GDBOND กระจายการลงทุนตราสารหนี้ทั่วโลก ปรับพอร์ตได้อย่างยืดหยุ่น
ที่มา: KAsset Investment Strategy บลจ.กสิกรไทย
ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2025
ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน