1/3/2025

มุมมองตลาดหุ้นไทยปี 2568 และหาก LTF ครบกำหนดปีนี้ มีทางเลือกไหนบ้าง

แรงขาย LTF ช่วงต้นปี น่ากังวลแค่ไหน และมุมมองตลาดหุ้นไทยปี 2568

หากพิจารณาช่วง 3 – 5 ปี ที่ผ่านมา (ช่วง 2563 – 2567) ยอดขายกองทุน LTF จะเกิดขึ้นในเดือนม.ค.สูงที่สุด (1.5 – 3.8 หมื่นล้านบาท ต่อปี) โดยเฉพาะในช่วงปี 2565 - 2566 ที่ดัชนี SET ปิดสิ้นปีก่อนหน้ามากกว่า 1650 จุด

 

ทั้งนี้ หากประเมิน ณ ระดับดัชนี SET ที่ประมาณ 1400 จุด (ซึ่งเป็นดัชนี SET ปิด ณ สิ้นปี 2567 ที่ผ่านมา) พบว่าในช่วงเดือน ม.ค. 2567 ที่ระดับดัชนี SET ใกล้เคียงกันที่ประมาณ 1416 จุด ณ สิ้นปี 2566 นั้น พบว่ามีเม็ดเงิน LTF ไหลออกประมาณ 5.1 พันล้านบาทในเดือนดังกล่าว ประกอบกับการไหลออกของเม็ดเงินลงทุนต่างชาติในเดือนเดียวกันนั้นที่ 3.1 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ดัชนี SET ในเดือนม.ค. 2567 ปรับลง -3.6% จาก ณ สิ้นปี 2566

 

ดังนั้น KAsset จึงมองว่า 'การไถ่ถอนของ LTF จะเป็นปัจจัยจำกัด upside ของตลาดหุ้นไทยโดยเฉพาะต้นปีนี้ นอกเหนือจากปัจจัยต่างประเทศ จากความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ' ของว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์ที่จะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค. นี้ และคาดว่าจะประกาศนโยบายหลักๆในช่วง 100 วันแรก น่าจะสร้างความผันผวนต่อค่าเงินและ Fund Flow ต่างชาติ ที่ลงทุนในตลาดเกิดใหม่โดยรวม

 

ทั้งนี้ เม็ดเงินวายุภักดิ์และกองทุนหุ้นไทยประหยัดภาษีอื่นๆ ซึ่งยังมีเม็ดเงินรวมที่ลงทุนได้เพิ่มเติมในตลาดหุ้นไทย คาดว่าช่วยลดผลกระทบได้ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากเม็ดเงินรวมยังน้อยกว่า LTF สะสม

 

บลจ.กสิกรไทย มองเป้า SET Index ปี 2568 ที่ 1500-1550 จุด 'โดยคาดการณ์การเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียนในปี 2568 ที่ประมาณ 10.5% ซึ่งน่าสนใจน้อยกว่าตลาดอื่นๆโดยเปรียบเทียบ เช่น สหรัฐฯ'

 

LTF ครบกำหนด มีทางเลือกไหนให้ไปต่อบ้าง และขายช่วงไหนดี

หากพิจารณาจากมุมมองด้านปัจจัยพื้นฐาน มองที่ระดับดัชนี SET ที่มากกว่า 1400 จุดขึ้นไป ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ย 10 ปีมากขึ้น หรือรอจังหวะที่ตลาดโลกมีความผันผวนลดลง จากความคืบหน้าการเจรจาระหว่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการภาษี หรือการกีดกันการค้าของสหรัฐฯ มีทิศทางดีขึ้น

 

 
หากยังต้องเสียภาษีอยู่ หากไม่ต้องเสียภาษีแล้ว
คำแนะนำ
นำเงินไปลงทุนต่อในกองทุน Tax Saving (ThaiESG / RMF) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างต่อเนื่องยังคงมุมมองให้น้ำหนักหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ มองว่าหุ้นสหรัฐฯจะยังให้ผลตอบแทนที่ดีได้ต่อเนื่อง โดยเน้นการกระจายความเสี่ยงให้มากขึ้น
กองทุนแนะนำ

ThaiESG

  • K-ESGSI-ThaiESG : เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อความยั่งยืน
  • K-BL30-ThaiESG : ลงทุนผสมในหุ้นและตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน
  • K-TNZ-ThaiESG : เน้นลงทุนหุ้นไทยที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์

​RMF
  • K-WPBAL-RMF : ลงทุนผสม เน้นตราสารหนี้ประมาณ 70%
  • K-WPSPEED-RMF : ลงทุนผสม เน้นหุ้นประมาณ 65%
  • K-WPULTI-RMF : ลงทุนผสม เน้นหุ้นประมาณ 85%
  • K-USA-RMF : กองทุนหลักลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ ที่กำไรเติบโตสูงกว่าค่าเฉลี่ยอย่างสม่ำเสมอ
  • K-WealthPLUS Series : กองทุนผสม เลือกลงทุนได้ตามระดับความเสี่ยงที่รับได้
  • K-GSELECT : กองทุนหลักลงทุนในหุ้นทั่วโลก โดยมีสหรัฐฯเป็นสัดส่วนหลัก (ณ พ.ย. ประมาณ 72%)

ที่มา: บลจ.กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 3 มกราคม 2568


คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com / กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

Yes
1/3/2025
0
situation