
Highlight :
• DeepSeek และ OpenAI มีแนวทางที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน
• DeepSeek เก่งด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด ในขณะที่ OpenAI มีความแข็งแกร่งในภาษาอังกฤษและการใช้งานในวงกว้าง
• ต้นทุนและความเร็ว : DeepSeek ประหยัดต้นทุนและเวลาพัฒนา แต่ OpenAI ยังคงมีข้อได้เปรียบในด้านโครงสร้างพื้นฐานและความหลากหลายของการใช้งาน
• การเข้าถึงและการพาณิชย์ : OpenAI สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการเชิงพาณิชย์ได้มากกว่า ในขณะที่ DeepSeek ยังเน้นด้านวิจัย
• แม้ว่า DeepSeek จะสร้างแรงกดดันต่อความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในด้านการพัฒนา AI แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ เช่น NVIDIA และ Microsoft ยังคงมีความได้เปรียบในระยะยาว
• KAsset ยังคงมีมุมมอง Overweight หุ้นสหรัฐฯ และไม่ได้เปลี่ยนมุมมองการลงทุน สามารถใช้โอกาสช่วงที่ตลาดย่อตัวทยอยสะสม K-USA, K-GTECH และ K-USXNDQ
DeepSeek สะเทือนหุ้นเทคฯทั่วโลก
หลังจากเปิดตัว DeepSeek R1 ตลาดหุ้น Nasdaq ปรับตัวลดลงกว่า 3% ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนไหวที่รุนแรง ในปีที่ไม่ได้เป็นตลาดหมี โดยเฉพาะกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ AI และเทคโนโลยี
ความเคลื่อนไหว ตลาดหุ้นสหรัฐฯ (27 ม.ค. 2025):
- ดัชนี Nasdaq: -3.1%
- iShares Semiconductor ETF (SOXX ETF): -7.8%
- หุ้น NVIDIA: -17%
- หุ้นกลุ่ม Data Center: ปรับตัวลง เนื่องจาก DeepSeek แสดงให้เห็นว่าอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Data Center ในระดับสูง
- หุ้นกลุ่มพลังงานนิวเคลียร์: ถูกเทขายเนื่องจากความไม่แน่นอนในความต้องการพลังงาน
อย่างไรก็ตาม บางบริษัทกลับได้รับผลกระทบในเชิงบวก เช่น:
- หุ้น Apple: +3% หลังยืนยันว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ AI ในลักษณะเดียวกับ DeepSeek
- หุ้น Meta: +2% เนื่องจาก DeepSeek ใช้โมเดล AI ที่พัฒนาจาก Meta
ในทางตรงกันข้าม บริษัทที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น Microsoft -4% และ Google -4% ถูกกดดันเนื่องจาก DeepSeek เป็นคู่แข่งโดยตรงในตลาด AI
ความเคลื่อนไหว ตลาดหุ้นเอเชีย (28 ม.ค. 2025) :
-ตลาดหุ้นญี่ปุ่น (Nikkei): ปรับตัวลงในกลุ่มหุ้นเทคโนโลยี
-ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกง: เปิดบวกได้เล็กน้อย แต่บริษัทที่ได้รับประโยชน์ปรับตัวขึ้น เช่น Baidu, Tencent, Alibaba, NetEase และ หุ้น SMIC (ผู้ผลิตชิปจีน) ปรับตัวเล็กน้อยจากความกังวลเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันในตลาด AI
ในทางตรงกันข้าม Alibaba ปรับตัวเพิ่มขึ้น +1.24% เนื่องจากนักลงทุนมองว่าโอกาสของ AI ใหม่ เช่น DeepSeek จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัท
สิ่งที่ทำให้ DeepSeek โดดเด่น คือ
1. ประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ: ใช้ทุนพัฒนาเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ OpenAI ที่ใช้ทุนกว่า 18 พันล้านดอลลาร์
2. ความรวดเร็ว: เริ่มต้นพัฒนาในเดือนพฤษภาคม 2023 และสร้างโมเดล R1 ได้ภายในสองเดือน
3. การเปิดให้ใช้งานฟรี: ขณะที่ OpenAI มีค่าใช้จ่าย 20 ดอลลาร์ต่อเดือน
DeepSeek vs OpenAI : ใครได้เปรียบใคร?
Deepseek คือโมเดล AI รุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเน้นความสามารถด้านการคำนวณ การเขียนโค้ด และการคิดเชิงตรรกะ ซึ่งแซงหน้า OpenAI ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม DeepSeek ยังตามหลัง OpenAI ในเรื่องภาษาอังกฤษ
โมเดล R1 ของ DeepSeek ใช้แนวทาง Mixture of Experts (MoE) ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ โดยใช้เฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องมากที่สุดในแต่ละงาน นอกจากนี้ยังใช้กระบวนการ Post-training และ Reinforcement Training เพื่อยกระดับความแม่นยำและความสามารถในการเรียนรู้
DeepSeek และ OpenAI มีแนวทางที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
1. ความสามารถเฉพาะด้าน: DeepSeek เก่งด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด ในขณะที่ OpenAI มีความแข็งแกร่งในภาษาอังกฤษและการใช้งานในวงกว้าง
2. ต้นทุนและความเร็ว: DeepSeek ประหยัดต้นทุนและเวลาพัฒนา แต่ OpenAI ยังคงมีข้อได้เปรียบในด้านโครงสร้างพื้นฐานและความหลากหลายของการใช้งาน
3. การเข้าถึงและการพาณิชย์: OpenAI สามารถสร้างรายได้จากการให้บริการเชิงพาณิชย์ได้มากกว่า ในขณะที่ DeepSeek ยังเน้นด้านวิจัย
ผลกระทบ ต่อบริษัทเทคโนโลยี และเซมิคอนดักเตอร์
การมาของ DeepSeek สร้างความกังวลต่อการใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI (Capex Spending)
1. ลดการลงทุนใน AI Infrastructure: บริษัทอย่าง Meta ที่ตั้งงบลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้สูงถึง 60-65 พันล้านดอลลาร์ อาจปรับลดตัวเลขดังกล่าว
2. แรงกดดันต่อผู้ผลิตชิป: บริษัทที่เคยได้ประโยชน์จากการลงทุน เช่น NVIDIA, TSMC และ ASML อาจเผชิญแรงกดดันจากการลดการใช้จ่าย
3. การเพิ่มการยอมรับ AI: ต้นทุนที่ลดลงช่วยให้ AI เข้าถึงได้มากขึ้น อาจเพิ่มความต้องการในระยะยาว
มุมมอง และคำแนะนำการลงทุน
แม้ว่า DeepSeek จะสร้างแรงกดดันต่อความเป็นผู้นำของสหรัฐฯ ในด้านการพัฒนา AI แต่ผู้เชี่ยวชาญยังมองว่าบริษัทเทคโนโลยีสหรัฐฯ เช่น NVIDIA และ Microsoft ยังคงมีความได้เปรียบในระยะยาว ด้วยการลงทุน R&D ที่แข็งแกร่งและการสร้างนวัตกรรม
การเปิดตัว DeepSeek ไม่ได้เป็นจุดจบของเทคโนโลยีฝั่งอเมริกา แต่เป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับการแข่งขันในตลาด AI การลดต้นทุนในการพัฒนา AI เป็นผลดีต่อการเพิ่มการใช้งานและการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวต่อตลาดหุ้นและการลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี
ทำให้ KAsset ยังคงมีมุมมอง Overweight หุ้นสหรัฐฯ และไม่ได้เปลี่ยนมุมมองการลงทุน สามารถใช้โอกาสช่วงที่ตลาดย่อตัวทยอยสะสม K-USA, K-GTECH และ K-USXNDQ
ที่มา: บลจ.กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 28 มกราคม 2568
คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่
www.kasikornasset.com / กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้