3/13/2025

ศึกชิงเจ้าสังเวียน AI สหรัฐฯ VS จีน ใครคือผู้ชนะ?

หากพูดถึงประเด็นที่ร้อนแรงในเวลานี้ คงหนีไม่พ้น… เรื่องของการท้าชิงความเป็นผู้นำ AI อย่างแน่นอน 

โดยผู้ท้าชิงหลักก็คือ 2 ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯ และจีน ที่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีศักยภาพในมืออย่างเต็มเปี่ยม เรียกว่ากินกันไม่ลงเลยทีเดียว วันนี้ KAsset จะพาทุกคนไปอัปเดตประเด็นที่น่าสนใจของทั้ง 2 ประเทศนี้กัน 

ประเด็นเศรษฐกิจ ประเทศจีน 
ตลอดช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จีนมีความไม่แน่นอนภายในประเทศมากมาย ส่งผลให้ดัชนี CSI 300 และ Hang Seng ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตอนนี้จีนเริ่มมีสัญญาณบวกมากขึ้นจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น

ผลตอบแทน 
แม้ช่วงที่ผ่านมาผลตอบแทนของตลาดหุ้นจีนจะติดลบมาตลอด แต่ในตอนนี้ 10 เทพเซียน (Terrific Ten) หรือธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักยภาพและมีมูลค่าตลาดสูงสุดในจีน กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง ส่งผลให้ตั้งแต่ต้นปีนี้ดัชนี Hang Seng Tech ปรับตัวสูงขึ้น 30% จนทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี และแซงหน้า Nasdaq 100 จากฝั่งสหรัฐฯ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุนที่มาแรงไม่แพ้กัน

ภาครัฐบาล
จากเหตุการณ์ที่ สี จิ้นผิง ได้จัดประชุมเรียกผู้นำภาคเอกชนที่อยู่ในกลุ่มกำลังการผลิตใหม่เข้าพบ เช่น แจ็คหม่า ผู้ก่อตั้ง Alibaba Group, หวัง ชวนฟู ผู้ก่อตั้ง BYD, เหลย จุน ผู้ก่อตั้ง Xiaomi เป็นต้น การประชุมดังกล่าวถือเป็นอีกหนึ่งสัญญาณที่กำลังบ่งบอกว่ารัฐบาลเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับภาคเอกชนมากขึ้น เพื่อผลักดันให้เป็นกำลังสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนในอนาคต 
พร้อมทั้งมีแนวโน้มว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการที่เคยเข้มงวดก่อนหน้านี้ และพร้อมจะสนับสนุนภาคเอกชนอย่างเท่าเทียมกับบริษัทของรัฐบาลอีกด้วย 

การพัฒนาด้านเทคโนโลยี
จีนกลับมาอีกครั้งด้วยการเปิดตัวแชตบอต AI อย่าง DeepSeek ที่สะเทือนไกลถึงฝั่งสหรัฐฯ เพราะมีประสิทธิภาพสูง และต้นทุนในการพัฒนาเพียง 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งต่ำกว่า ChatGPT ทำให้มียอดดาวน์โหลดใน App Store พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว 

ไม่เพียงเท่านั้น การเกิดขึ้นของ DeepSeek ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับหลายภาคส่วน เช่น โรงพยาบาลในจีนได้นำ DeepSeek ไปต่อยอดเป็นเครื่องมือช่วยวินิจฉัยโรคและแผนการรักษา รวมถึงยังได้ร่วมมือกับทาง BYD เพื่อพัฒนารถยนต์ไร้คนขับในอนาคตอีกด้วย
ภาพรวมการเคลื่อนไหวของจีน นับว่ามีความน่าสนใจและส่งสัญญาณเตือนฝั่งสหรัฐฯ อยู่ไม่น้อย แล้วฝั่งสหรัฐฯ ที่นำโดย โดนัลด์ ทรัมป์ ยุค 2.0 ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวในการบริหารประเทศมหาอำนาจเบอร์หนึ่งได้อย่างไร ลองไปสำรวจไปด้วยกัน 

ประเด็นเศรษฐกิจ สหรัฐอเมริกา
การกลับมาของทรัมป์นั้นจะทำให้สหรัฐฯ ได้ประโยชน์ในหลายมิติ จากนโยบายที่เราได้เห็นกันไป ไม่ว่าจะเป็นนโยบายกำแพงภาษี นโยบายลดภาษี และนโยบายกีดกันผู้อพยพ

ผลตอบแทน
ปีที่ผ่านมาดัชนี S&P 500 ทำสถิติใหม่มาตลอด และให้ผลตอบแทนที่ดี 2 ปีติดต่อกัน เมื่อรวมแล้วมีการปรับตัวขึ้นมาถึง 53% เลยทีเดียว รวมถึงดัชนี Nasdaq ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเทคโนโลยีก็ปรับตัวขึ้นมา 28.64% โดยมีหุ้น 7 นางฟ้าเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก 
รวมถึงเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี AI เศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ทำให้สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนได้

ภาครัฐบาล 
รัฐบาลในยุคทรัมป์ได้ออกนโยบายการปรับลดภาษีนิติบุคคลที่มีแนวโน้มจะลดสูงสุดถึง 15% โดยหากเกิดขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อต้นทุนของธุรกิจภายในประเทศ  
นอกจากนี้ นโยบายเชิงเทคโนโลยี ทรัมป์ได้ประกาศลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI กับภาคเอกชนอย่าง OpenAI, Oracle และ SoftBank มูลค่ากว่า 500,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้าน AI และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับสหรัฐฯ มากขึ้น 

การพัฒนาด้านเทคโนโลยี
ข้อนี้เป็นไฮไลต์ที่สหรัฐฯ​ โฟกัสในการแข่งขันกับจีนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการพัฒนา AI หลังถูกกระแส Deepseek ขึ้นมาท้าทายเรื่องต้นทุนของการพัฒนา ซึ่งฝั่งสหรัฐฯ ก็กำลังหาทางยกระดับ นำโดย ChatGPT จาก OpenAI ที่ได้พัฒนาโมเดลใหม่ GPT-4.5 ให้มีองค์ความรู้กว้างขึ้น รวมถึงตอบสนองต่อความรู้สึกของผู้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้นด้วยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ไม่เพียงเท่านั้น ทางฝั่งอีลอน มัสก์ ก็ได้อัปเกรดแชตบอต Grok-3 ใหม่ ให้มีพลังสำหรับการประมวลผลมากกว่ารุ่นก่อนถึง 10 เท่า 

จะเห็นได้ว่าธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยีของสหรัฐฯ​ กำลังเกิดการเร่งพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีคู่แข่งหน้าใหม่เกิดขึ้น จึงถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสสำหรับนักลงทุนที่สนใจในอุตสาหกรรมนี้ในระยะยาว  

คำแนะนำการลงทุน
สรุป ทั้ง 2 ประเทศนี้ ถือว่ามีศักยภาพที่หลากหลายไม่แพ้กัน และหนึ่งสิ่งที่เหมือนกันนั่นก็คือ เรื่องของเทคโนโลยี ที่เกิดการพัฒนาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ที่มีโอกาสเติบโตในอนาคต 

สำหรับใครที่เชื่อมั่นและสนใจลงทุนในหุ้นคุณภาพทั่วโลก รวมทั้งหุ้นธุรกิจกลุ่มเทคโนโลยี วันนี้ทาง KAsset มี 2 กองทุนรวมที่น่าสนใจมาแนะนำ ได้แก่

ลงทุนหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำทั่วโลก เน้นหุ้นเติบโตสูง จัดพอร์ตโดยผู้เชี่ยวชาญการลงทุนด้านเทคโนโลยีมากกว่า 35 ปี ผ่านกองทุนหลัก Threadneedle (Lux) Global Technology, Class IU USD ที่มีผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง 

กองทุนหุ้นโลกคุณภาพ เน้นลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ของประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลก ลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core Equity ในกองทุนหลัก JPMorgan Global Select Equity ETF คัดเลือกหุ้นที่สามารถเอาชนะดัชนีชี้วัด MSCI World อย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทั้งหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้ดี 

ที่มา: บลจ.กสิกรไทย 

ข้อมูล ณ วันที่ 13 มีนาคม 2568​


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :

LTF ยังมีหวัง หรือไม่? >>อ่านต่อ​

​เทรนด์ AI โอกาสลงทุนปี 2025 >>อ่านต่อ

​รับมืออย่างไร? ในวันที่ไม่มี SSF >>อ่านต่อ​​

จัดการเงินโบนัส ให้ชนะเงินเฟ้อ​ >>อ่านต่อ​​


คำเตือน *เงื่อนไขเป็นไปตามที่บลจ.กสิกรไทยกำหนด กองทุนนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน​



Yes
3/13/2025
0
situation