กองทุน K-ATECH ลงทุนหุ้นเทคเอเชียระดับ Top 10 ของโลก
Top 10 หุ้นเทคที่มี Market Cap ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นบริษัทเอเชียถึง 3 บริษัท
ได้แก่ TSMC (ไต้หวัน), Tencent Holdings (จีน), Samsung Electronics (เกาหลี) ขณะที่อีก 7 บริษัทเป็นของสหรัฐฯ (ที่มา Companiesmarketcap.com 21 ม.ค. 65)
เอเชียจะก้าวขึ้นเป็นอีกหนึ่ง Technology Hub ของโลก
โดยในปี 2564 ภูมิภาคอาเซียนมี Unicorn เกิดขึ้นถึง 19 บริษัท (ที่มา Straitstimes ต.ค. 64)
มูลค่าหุ้นเทคโนโลยีในเอเชียถูกกว่าหุ้นเทคสหรัฐฯ* บริษัทมีอัตราการเติบโตที่โดดเด่น และมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
เทรนด์ขององค์กรรัฐ เอกชน และผู้บริโภค ที่ปรับตัว เข้าสู่โลกดิจิตอลเป็นประโยชน์ต่อซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์, E-commerce และรถยนต์ไฟฟ้า
*มูลค่าเปรียบเทียบจาก P/B Ratioและเป็นการเทียบระหว่าง ดัชนี MSCI AC APAC IT กับ ดัชนี Russell 1000 Technology (ที่มา : JPMorgan Asset Management 30 พ.ย. 64)
เพราะลงทุนผ่านกองทุนหลัก JPMorgan Pacific Technology - Class C (acc) – USD
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุนหลัก
หมายเหตุ : ผลการดำเนินงานของกองทุนหลัก JPMorgan Pacific Technology (acc) – USD ซึ่งเป็น Class ที่ผลการดำเนินงาน
ยาวนานที่สุด ทั้งนี้ ทั้ง 2 Class มีนโยบายการลงทุนแบบเดียวกันและมีผลการดำเนินงานที่ใกล้กันมาก
ที่มา: JPMorgan Asset Management ณ 31 ธ.ค. 64 / JPMorgan Pacific Technology (acc) – USD จัดตั้งเมื่อ 15 ส.ค. 40 /
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้ยืนยันถึงอนาคต
ได้แก่ การบริโภคผ่านช่องทางดิจิตอล (Digitalized Consumption), การเปลี่ยนแปลงภาคองค์กร (Enterprise Transformation) และผู้นำอุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing Leaders)
Information Technology
Information Technology
Information Technology
Communication Services
Industrials
ผลการดำเนินงานโดดเด่น
จากทั้งหมด 267 กองทุนหุ้นเทคทั่วโลก***
นับแต่จัดตั้งกองทุนในปี 2540
ได้คัดสรรหุ้นเทคที่มีความน่าสนใจก่อนที่จะกลายมาเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก เช่น TSMC, Keyence, Tencent และ Alibaba
(ที่มา Citywire ธ.ค. 64)
หุ้นเทคโนโลยีเอเชียมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก Top 10 อันดับหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมีบริษัทเอเชียถึง 3 บริษัท ได้แก่ TSMC (ไต้หวัน), Tencent Holdings (จีน), Samsung Electronics (เกาหลี) ขณะที่อีก 7 บริษัทเป็นของสหรัฐฯ (ที่มา Companiesmarketcap.com 21 ม.ค. 65)
หุ้นเทคโนโลยีเอเชียชั้นนำคือคู่แข่งของบริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของโลกในหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น
เอเชียมีประชากรที่เก่งเรื่องเทคโนโลยี มีทั้งผู้คิด ผู้ผลิต และค่าจ้างที่ยังถูก จึงเป็นทั้งแหล่งผลิตเทคโนโลยีของโลก และยังเป็นผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมหาศาล
การออกกฎระเบียบควบคุมการผูกขาดของหุ้นเทคโนโลยีจีนน่าจะผ่านจุดที่ทำให้ตลาดผันผวนมากที่สุดไปแล้ว การปรับฐานถือเป็นโอกาสในการทยอยเข้าสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจโลกอยู่ในภาวะฟื้นตัว ธนาคารกลางประเทศฝั่งเอเชียยังดำเนินนโยบายที่ผ่อนคลาย สวนทางกับของฝั่งประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐฯ ช่วยหนุนสภาพคล่องในระบบ การลงทุนในหุ้นจึงยังเป็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งปัจจัยพื้นฐานยังไม่ได้เปลี่ยนไป และมีแนวโน้มอัตราการเติบโตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีความพร้อมทั้งด้านนวัตกรรมและและอุปสงค์จากชนชั้นกลางที่เติบโตสูงอย่างเอเชีย
กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีที่รวมถึงบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสาร ซึ่งถ้าแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมจะพบว่า กองทุนหลักเน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม IT 57% ซึ่งกระจายการลงทุนในไปใน 3 กลุ่มย่อย (Semiconductor, Software & Services และ Technology Hardware) อีกทั้งยังมีการกระจายไปในกลุ่ม Communication Services 18%, Industrials 7.5%, Consumer Discretionary 7.5% และยังมีการลงทุนในกลุ่ม Healthcare 3.8% (JPMorgan Pacific Technology ธ.ค. 64)
กองทุนหลักมีสัดส่วนลงทุนในประเทศชั้นนำของเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน 35% ญี่ปุน 20% ไต้หวัน 18% เกาหลีใต้ 12% สิงคโปร์ 5% ออสเตรเลีย 4% และอินเดีย 3% (JPMorgan Pacific Technology ธ.ค. 64)
ไม่ซ้ำซ้อน เนื่องจากกองทุนหุ้นเทคโนโลยีส่วนใหญ่จะเข้าไปลงทุนในบริษัทสหรัฐฯหรือบริษัทที่มีรายได้ส่วนใหญ่ในทวีปอเมริกา ซึ่งแตกต่างจากกองทุน K-ATECH ที่เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี สื่อ และการสื่อสารในทวีปเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น
สัดส่วนการถือครองหุ้นของ K-ATECH ที่ทับซ้อนกับ K-CHINA มีประมาณ 23% (ที่มา Morningstar 31 ธ.ค. 64) โดยหุ้นเทคโนโลยีในจีนถือเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ต้องจับตา เนื่องจากจีนมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการจะเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของโลก จึงไม่แปลกที่จะมีสัดส่วนการลงทุนที่ทับซ้อนกัน แต่อย่างไรก็ตามในอนาคตคาดว่าจะมีหุ้นเทคโนโลยีในประเทศอื่นๆ เช่น อาเซียน อินเดีย นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นส่งผลให้สัดส่วนการมีหุ้นจีนซ้ำซ้อนจะลดลง
นักลงทุนสามารถถือทั้ง 2 กองทุนได้ เนื่องจากแต่ละกองตอบโจทย์ที่แตกต่างกัน
K-ATECH จะตอบโจทย์นักลงทุนที่เชื่อว่าหุ้นเทคโนโลยีในเอเชียจะก้าวขึ้นมาเทียบเคียงกับหุ้นเทคโนโลยีโลก ขณะที่ K-CHINA จะตอบโจทย์นักลงทุนที่เชื่อมั่นในการที่จีนจะก้าวเป็นมหาอำนาจโลก ทั้งในแง่ของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกอย่างยั่งยืนในอนาคต และการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของโลก ที่จะทำให้หุ้นกลุ่มต่างๆ อาทิ เทคโนโลยี การแพทย์ และการบริโภค จะได้รับอานิสงส์
ในแง่ความเสี่ยงด้านการกระจุกตัว K-ATECH จะกระจายความเสี่ยงผ่านการลงทุนในหลายประเทศทั่วเอเชียแปซิฟิค ขณะที่ K-CHINA จะมีการกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรมในประเทศจีน
เนื่องจาก K-ATECH ลงทุนใน Share Class ที่เพิ่งมีการจัดตั้งสำหรับนักลงทุนสถาบันขึ้นมาใหม่ ทำให้ไม่มีข้อมูลผลการดำเนินงานย้อนหลัง จึงแนะนำให้ใช้ Share Class (acc) - USD ซึ่งเป็น Class ที่มีผลการดำเนินงานยาวที่สุดจัดตั้ง 15 สิงหาคม 1997
https://finance.yahoo.com/quote/HK0000055761.HK/
https://am.jpmorgan.com/hk/en/asset-management/per/products/jpmorgan-pacific-technology-acc-usd-hk0000055761
ควรถืออย่างน้อย 5 ปี โดยไม่ควรลงทุนเพื่อเน้นทำกำไรระยะสั้น เนื่องจากกองทุนมีความผันผวนสูงจากการลงทุนหุ้นจำนวน 25-35 ตัว
ไม่ควร เนื่องจากมีผู้จัดการกองทุนหลักคอยปรับสัดส่วนและดูแลพอร์ตการลงทุนอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การลงทุนในทุกขณะ อีกทั้งการลงทุนในกองทุนประเภท Active สามารถสร้างผลตอบแทนที่เป็นบวกได้แม้ว่าภาพรวมตลาดการลงทุนจะไม่สดใสก็ตาม
ผู้จัดการกองทุนหลักจะทำหน้าที่ติดตาม ซื้อขายหุ้นในพอร์ตการลงทุน
ผู้จัดการกองทุน KAsset จะทำการป้องกันความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน และส่งคำสั่งซื้อขายหน่วยลงทุนไปที่ต่างประเทศ
สามารถเปิดบัญชีกองทุนรวมได้เองทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องไปสาขา โดยเตรียมเลขที่บัญชีออมทรัพย์ และข้อมูลตามบัตรประชาชนให้เรียบร้อย
สำหรับผู้ที่มีบัญชีกองทุนรวมอยู่แล้ว กดซื้อได้เลยง่ายๆ ผ่านแอป K PLUS หรือ K-My Funds และช่องทางออนไลน์ที่ K-Cyber Invest หรือที่ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา
*ที่มา JPMorgan Asset Management ธ.ค. 63
**มูลค่าเปรียบเทียบจาก P/B Ratio และเป็นการเทียบระหว่าง ดัชนี MSCI AC APAC IT กับ ดัชนี Russell 1000 Technology (ที่มา JPMorgan Asset Management ธ.ค. 63)
***เทียบในกลุ่ม Morningstar EAA OE Sector Equity Technology ผลตอบแทน 1 ปีย้อนหลัง ณ 28 ก.พ. 64
ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้ยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต /
K-ATECH,
K-CHANGE-A(A) และ K-CHINA-A(D) ความเสี่ยงกองทุนระดับ 6 /
K-CHANGE-A(A) และ K-CHINA-A(D) ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 75% ของมูลค่าเงินลงทุนต่างประเทศ
K-ATECH ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /
K-ATECH ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก /
ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน /
สนใจลงทุนและขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่ ธนาคารกสิกรไทยทุกสาขา