​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​​

กองทุน

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ​​​​

Linked Slide

รู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ กองทุนที่ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นโดยความสมัครใจประกอบด้วยเงินที่ลูกจ้าง ซึ่งเป็นสมาชิกของกองทุนจ่ายสะสมและเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกและครอบครัวในกรณีที่สมาชิกออกจากงานเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ประกอบด้วย 4 ส่วน ดั้งนี้

เงินที่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนจ่ายเข้ากองทุน โดยนายจ้างจะหักจากค่าจ้างของลูกจ้างที่เป็นสมาชิกทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง

ผลประโยชน์อันเกิดจากการลงทุนในส่วนของสมาชิก

เงินที่นายจ้างจ่ายเข้ากองทุนเพื่อลูกจ้างที่เป็นสมาชิกกองทุน ซึ่งจะเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับกองทุน

ผลประโยชน์อันเกิดจากการลงทุนของเงินสมทบคือดอกผลที่เกิดจากในส่วนของนายจ้างสมทบไปลงทุน


ประโยชน์สำหรับนายจ้าง

เพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดภาระของนายจ้างในการจ่ายเงินบำเหน็จ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร เป็นเครื่องมือในการลดอัตราการเข้า-ออกของพนักงาน

ประโยชน์สำหรับสมาชิก

เหมือนได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นจากเงินสมทบที่นายจ้างจ่ายให้ เป็นสวัสดิการเงินได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อออกจากงานหรือเกษียณอายุ เป็นหลักประกันแก่ครอบครัวกรณีสมาชิกทุพพลภาพหรือเสียชีวิต เป็นโอกาสออมเงินเพื่อตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น เงินออมอยู่ภายใต้การบริหารของมืออาชีพได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี

ประเภทของกองทุน

กองทุนเดี่ยว (Single Fund)

เป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีนายจ้างเพียงรายเดียว มีข้อบังคับและนโยบายการลงทุนเฉพาะของกองทุนนั้นๆ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีเงินทุนตั้งต้นขนาดใหญ่

กองทุนร่วมหลายนโยบายการลงทุน (Master Pooled Fund)

เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทจัดการมีนายจ้างมากกว่าหนึ่งรายโดยใช้ข้อบังคับหลักและนโยบายการลงทุนร่วมกัน ทั้งนายจ้างแต่ละรายสามารถกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนได้ในข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วนเหมาะสำหรับองค์กรที่จัดตั้งกองทุนเป็นครั้งแรก ซึ่งสามารถเข้าร่วมกองทุนนี้ได้โดยไม่จำกัดจำนวนสมาชิกหรือขนาดกองทุนเริ่มต้น​​



ก่อนจัดตั้งกองทุน

  1. ให้คำปรึกษาในการจดทะเบียนจัดตั้งกองทุน รวมถึงการเตรียมเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ประกอบการจดทะเบียน โดยทางเราจะจัดเตรียมแผนงานการดำเนินงานที่เหมาะสมกับบริษัทที่จะตั้งกองทุน
  2. ชี้แจงและแนะนำในการจัดเตรียมร่างข้อบังคับกองทุน เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายและเป็นไปตามวัตถุประสงค์และความต้องการ ของนายจ้างและลูกจ้าง
  3. จัดเตรียมเอกสารและดำเนินการจดทะเบียนกองทุนต่อนายทะเบียนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  4. จัดเตรียมเอกสารประชาสัมพันธ์ให้กับบริษัทที่จะตั้งกองทุน เพื่อให้ความรู้แก่พนักงานก่อนการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

หลังจัดตั้งกองทุน

  1. นักบริหารมืออาชีพจะบริหารกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. จัดทำบัญชีกองทุน
  3. จัดทำรายงานสถานะกองทุนและผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกองทุนเป็นรายเดือน/รายปี
  4. จัดทำรายงานใบรับรองใบแจ้งยอดเงินสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่สมาชิกกองทุน ทำให้สมาชิกทราบสถานะเงินกองทุนของตัวเองและผลการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าต่อหน่วยให้แก่สมาชิกรายบุคคลทุก 6 เดือน
  5. ดำเนินการจ่ายเงินใ​ห้แก่สมาชิกหรือผู้รับประโยชน์ภายใน 30 วันนับจากวันที่พ้นสมาชิกภาพ
  6. นำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการกองทุนและสมาชิกกองทุน

การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกับ บลจ.กสิกรไทย