เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน Thai ESGX
ลงทุนให้ถูกต้องตามสิทธิ ได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วน
เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน Thai ESGX
| |
---|
ระยะเวลาลงทุน | สำหรับเงินลงทุนใหม่ - ต้องถือครอง 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่ซื้อ สำหรับเงินที่สับเปลี่ยนมาจาก LTF - ต้องถือครอง 5 ปีขึ้นไป นับจากวันที่แจ้งสับเปลี่ยนกองทุน LTF
|
ความต่อเนื่องในการลงทุน | ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี
ระยะเวลาและเงื่อนไข ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
|
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี | ไม่กำหนด
|
จำนวนเงินลงทุนขั้นสูงสุดต่อปี |
สำหรับเงินลงทุนใหม่ การลงทุนในกองทุน Thai ESGX กำหนดเงินลงทุนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี ไม่เกิน 300,000 บาท (ตั้งแต่ปี 2569 เงินลงทุนใหม่/เพิ่มเติมใน Thai ESGX จะใช้วงเงินเดียวกับ Thai ESG) โดยไม่นับรวมกับวงเงินกลุ่มเกษียณ เช่น SSF เพื่อการออม, RMF, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ/ กบข., ประกันบำนาญ เป็นต้น โดยต้องถือครองอย่างน้อย 5 ปีเต็ม นับจากวันที่ลงทุน
สำหรับเงิน LTF เดิมที่สับเปลี่ยนมายังกองทุน Thai ESGX
สำหรับปี 2568 ต้องสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF ที่ถือครองทั้งหมดของทุกกองทุน ทุกบลจ. ไปยังกองทุน Thai ESGX มีสิทธิลดหย่อนในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท และสำหรับปี 2569 – 2572 ส่วนที่เกิน 300,000 บาทมีสิทธิลดหย่อนเป็นจำนวนเท่าๆ กัน ในแต่ละปี สูงสุดปีละไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งนี้หากมีการขายคืน/สับเปลี่ยนกองทุน LTF (ไม่ว่าจะเป็นสับเปลี่ยนไปยัง LTF อื่น) ตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. 2568 จะไม่เข้าเงื่อนไขในการรับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
|
กรณีที่มีการลงทุนเกินสิทธิ |
กรณีซื้อเกินสิทธิ Thai ESGX (ส่วนที่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือเกิน 300,000 บาท) 1. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนส่วนที่ซื้อเป็นเกินสิทธิจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 2. กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) ที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเกินสิทธิจะถือเป็นรายได้ปีที่ขายคืนซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย แม้จะถือครองหน่วยลงทุนเกินกว่า 5 ปีก็ตาม
|
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน | กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) จากการขายหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เข้าเงื่อนไขที่สามารถลดหย่อนภาษี หรือกำไรจากการขายคืนผิดเงื่อนไข จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วยแม้จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 5 ปีเต็มก็ตาม
|
ข้อปฏิบัติหากผิดเงื่อนไขการลงทุน | โดยบลจ.กสิกรไทย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และหากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองน้อยกว่า 1 ปี จะเสียค่าปรับ 1.50% หากได้ยื่นลดหย่อน ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ 1.50% ต่อเดือน โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย.ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี
|
คู่มือการลงทุน Thai ESGX กฎกระทรวง ฉบับที่ 398
| สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ThaiESGX เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
|
เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน Thai ESG
ลงทุนให้ถูกต้องตามสิทธิ ได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วน
เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน Thai ESG
| |
---|
ระยะเวลาลงทุน | ถือครองหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับจากวันที่ซื้อ
|
ความต่อเนื่องในการลงทุน | ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ลงทุนปีไหนก็ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ในปีนั้น (ระยะเวลาที่ใช้ลดหย่อน วันที่ 21/11/2566 - 31/12/2575)*
|
จำนวนเงินลงทุนขั้นต่ำต่อปี | ไม่กำหนด
|
จำนวนเงินลงทุนขั้นสูงสุดต่อปี | - ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 100,000 บาท (สำหรับการลงทุน วันที่ 21/11/2566 - 31/12/2566) - ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 300,000 บาท (สำหรับการลงทุน ตั้งแต่ วันที่ 01/01/2567 เป็นต้นไป)*
|
กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน | - กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน หรือการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 8 ปี* (นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน - สำหรับการลงทุน วันที่ 21/11/2566 - 31/12/2566) - กรณีผิดเงื่อนไขการลงทุน หรือการขายคืนหน่วยลงทุนก่อนครบ 5 ปี* (นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน - สำหรับการลงทุน ตั้งแต่ วันที่ 01/01/2567 เป็นต้นไป)*
|
กรณีที่มีการลงทุนเกินสิทธิ |
กรณีซื้อเกินสิทธิThai ESG [ส่วนที่เกิน30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือเกิน 100,000 บาท* (สำหรับการลงทุน วันที่ 21/11/2566 - 31/12/2566) / 300,000 บาท* (สำหรับการลงทุน ตั้งแต่ วันที่ 01/01/2567 เป็นต้นไป)*]
1. เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนส่วนที่ซื้อเป็นเกินสิทธิจะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
2. กำไรส่วนเกินทุน (Capital Gain) ที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุนเฉพาะส่วนที่เป็นเกินสิทธิจะถือเป็นรายได้ปีที่ขายคืนซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย แม้จะถือครองหน่วยลงทุนเกินกว่า 8 ปี* (สำหรับการลงทุน วันที่ 21/11/2566 - 31/12/2566) / 5 ปี* (สำหรับการลงทุน ตั้งแต่ วันที่ 01/01/2567 เป็นต้นไป) ก็ตาม
|
ข้อปฏิบัติหากผิดเงื่อนไขการลงทุน | - ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ 1.50% ต่อเดือน โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่ เดือน เม.ย.ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี
- กำไรที่ได้จากการขายคืนถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย โดย บลจ.กสิกรไทย จะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
คู่มือการลงทุน Thai ESG กฎกระทรวง ฉบับที่ 395
| *หมายเหตุ สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกองทุน ThaiESG เป็นไปกฎกระทรวงฉบับที่ 395 (พ.ศ.2567)
|
หมายเหตุ
*เงินสะสมที่ส่งเข้าในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง สามารถนำมาหักลดหย่อนในการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินปีละ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกินปีละ 490,000 บาท จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษี