8/17/2018

​​​​​​​​​ภาพรวมการลงทุน​

          เดือนที่ผ่านมาถือว่าตลาดปรับตัวผันผวน โดยปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในเดือนกรกฎาคมเริ่มด้วยในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ตลาดยังคงกังวลในประเด็นความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ จีน และยุโรปเป็นหลัก โดยเฉพาะการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ต่อสินค้านำเข้าจากจีน อย่างไร​ก็ตามความกังวลดังกล่าวเริ่มผ่อนคลายลงในช่วงครึ่งหลังของเดือนจากความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ที่ตกลงจะหยุดการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกันในระหว่างที่เจรจากันอยู่ จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนตลาดหุ้นทั่วโลกให้ปรับตัวขึ้นโดยเฉพาะตลาดเกิดใหม่ โดยในเดือนนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนปรับตัวขึ้นมาแรง (ยกเว้นตลาดเวียดนาม) เนื่องจากการชะลอตัวลงของเงินทุนไหลออกของต่างชาติ และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ลดความผันผวนลง​​


AEC_monthly_Th.pngประเทศไทย 
         ในเดือนกรกฎาคม SET Index ปรับตัวขึ้นแรง 6.66% mom นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ภายหลังผลประกอบการไตรมาสสองออกมาดีกว่าที่ตลาดคาด ทำให้ภาพการลงทุนโดยรวมในประเทศมีทิศทางสดใสขึ้นเป็นปัจจัยหนุนหุ้นกลุ่มต่างๆ โดยมีเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม +1.46% yoy จากการเพิ่มขึ้นของหมวดพลังงานเป็นหลัก ตัวเลขส่งออกเดือนมิถุนายน +8.2% ดีกว่าที่ตลาดคาดเล็กน้อย ทั้งนี้ในเดือนที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ 1.1 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิ 3.4 หมื่นล้านบาท ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยโดยสิ้นเดือนปิดที่ระดับ 33.2 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ


AEC_monthly_Id.pngประเทศอินโดนีเซีย

          ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวขึ้น 2.37% mom ตามภูมิภาค นักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาซื้อสุทธิ 54 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากขายสุทธิ 5 เดือนติดต่อกัน โดยเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางแห่งประเทศอินโดนีเซียคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 5.25% ภายหลังปรับขึ้นมา 1.00% ภายในสองเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อเดือนกรกฎาคมปรับตัวสูงขึ้น 3.18% yoy (ในกรอบเป้าหมาย 2.5%-4.5%) ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงต่อเนื่อง 2.5% mom สู่ระดับ 1.20 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน ​


AEC_monthly_Ph.pngประเทศฟิลิปปินส์

          ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับตัวขึ้น 6.65% mom โดยตลาดได้รับปัจจัยบวกจากการที่ธนาคารกลางฟิลิปปินส์มีท่าทีที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ (Hawkish) เพื่อลดความกังวลเงินเฟ้อของประเทศและจะไม่ลดปริมาณเงินสำรอง (Reserve Requirement) ลงอีกในช่วงทีเหลือของปี ค่าเงินเปโซแข็งค่าขึ้น 0.43% mom ตัวเลข CPI เดือนมิถุนายนออกมาที่ 5.2% yoy สูงกว่าตลาดคาด ตัวเลขเงินส่งกลับจากแรงงานฟิลิปปินส์ที่ทำงานในต่างประเทศเดือนพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 6.9% yoy นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับ 77.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายน


AEC_monthly_Ml.png ​ ประเทศมาเลเซีย

 ​          ตลาดหุ้นมาเลเซียในมิถุนายนปรับตัวขึ้น 5.48% mom ตามภูมิภาคนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1.7 พันล้านริงกิต โดยหุ้นกลุ่มสื่อสารที่โดนแรงเทขายอย่างหนักในเดือนก่อนหน้า Rebound กลับขึ้นมา ด้านตัวเลขที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ Purchasing Managers Index (PMI) เดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้นที่ 49.5 ตัวเลข CPI เดือนมิถุนายน +0.8% yoy จากผลกระทบการยกเลิกจัดเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับ 1.05 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคม และธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยที่ 3.25%


AEC_monthly_Vn.pngประเทศเวียดนาม

          ตลาดหุ้นเวียดนามในเดือนมิถุนายนยังคงปรับตัวลง 0.46% mom สวนทางตลาดอื่นในภูมิภาค โดยยังเป็นการปรับตัวลงของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์และกลุ่ม Material ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานและอสังหาริมทรัพย์พยุงตลาด นักลงทุนจากต่างชาติกลับมาขายสุทธิ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม +4.5% yoy ตัวเลข Purchasing Managers Index (PMI) ในเดือนกรกฎาคมออกมาที่ 54.9 ลดลงจาก 55.7 ในเดือนก่อนหน้า ค่าเงินเวียดนามอ่อนค่าลง 1.5% ในเดือนกรกฎาคม และตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับ 6.15 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนกรกฎาคม

AEC_monthly_SET_Jul'18.jpg


มุมมองในอนาคต

กลยุทธ์การลงทุนกองทุนเปิดเค อาเซียน อีโคโนมิค คอมมูนิตี้ หุ้นทุน (K-AEC) ในเดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนทุกตลาดปรับตัวสูงขึ้น (ยกเว้นตลาดเวียดนาม) โดยกองทุนมีผลการดำเนินงานต่ำกว่า Benchmark อยู่ 4.11% เนื่องจากทางกองทุนได้ให้น้ำหนักการลงทุนในประเทศเวียดนามสูงกว่าตลาด ซึ่งตลาดเวียดนามไม่ได้ Rebound ตามตลาดอื่นในภูมิภาค โดยในเดือนที่ผ่านมาทางกองทุนยังคงสัดส่วน Underweight ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบของนโยบายการบริหารประเทศของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ต่อเศรษฐกิจ ค่าเงินของประเทศ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในระยะถัดไป สำหรับรายกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทางกองทุนให้น้ำหนักการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มพลังงาน

ปัจจัยที่น่าจับตามอง: ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค แนวโน้มตัวเลขเงินเฟ้อมีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรของแต่ละประเทศโดยเฉพาะสหรัฐฯ ความไม่แน่นอนเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ การตอบโต้มาตรการดังกล่าวจากจีน นโยบายของรัฐบาลใหม่ในประเทศมาเลเซียซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนในระยะถัดไป

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้อาจไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเต็มจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ l เนื่องจากกองทุนลงทุนในหุ้นเฉพาะภูมิภาค จึงมีความเสี่ยงและมีราคาผันผวนสูงกว่ากองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนหลายภูมิภาค l ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน l สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 02-6733888 หรือ
www.kasikornasset.com l ข้อมูลจัดทำ ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2561 โดยฝ่ายจัดการกองทุนตราสารทุน บลจ.กสิกรไทย​



Yes
8/17/2018
1!บทวิเคราะห์รายเดือน!Monthly Analysis!market