7/9/2018

​​​​​​​ภาพรวมการลงทุน​

          ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนในเดือนมิถุนายน เริ่มต้นด้วยแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์ (DXY) ที่อ่อนค่าลงหลังจากความกังวลการเมืองของอิตาลีคลี่คลาย ต่อมาช่วงกลางสัปดาห์แม้ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ มีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น 1.75-2.00% ตามตลาดคาด แต่การปรับ Dot Plot ขึ้นเป็น 4 ครั้ง (ตลาดคาด 3 ครั้ง) ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งทำให้ DXY กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ประกอบกับในช่วงครึ่งหลังของเดือนทรัมป์ได้ประกาศรายชื่อสินค้าจีนที่จะเริ่มเก็บภาษีที่อัตรา 25% โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 มูลค่ารวม 3.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ กดดันค่าเงินหยวนซึ่งอ่อนค่าลงกว่า 3% ในระหว่างเดือน โดยในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนผลการประชุม OPEC ที่มีมติเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันขอ​งกลุ่มน้อยกว่าตลาดคาดผลักดันราคาน้ำมัน WTI พุ่งทะลุ USD 70/bbl อีกครั้ง ทั้งนี้ความกังวลสงครามการค้าที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยหลักกดดันค่าเงินและตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนทำให้เกิดการ Sell-Off อย่างหนักในเดือนที่ผ่านมา


​​​​​AEC_monthly_Th.pngประเทศไทย 
          ในเดือนมิถุนายน SET Index ปรับตัวลดลงค่อนข้างแรง 7.61% mom โดยตลาดหุ้นไทยในเดือนนี้ยังคงเผชิญแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติต่อเนื่อง นำโดยหุ้นกลุ่มปิโตรเคมี ขณะที่หุ้นกลุ่ม Utility และธนาคารพาณิชย์ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาด เหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่  อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน +1.38% yoy จากการเพิ่มขึ้นของหมวดพลังงานเป็นหลัก ตัวเลขส่งออกเดือนพฤษภาคม +7.7% ดีกว่าตลาดคาด ทั้งนี้ในเดือนที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิ  4.9 หมื่นล้านบาท ขณะที่นักลงทุนสถาบันเป็นผู้ซื้อสุทธิ 2.2 หมื่นล้านบาท ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยสิ้นเดือนปิดที่ระดับ 33.12 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ


AEC_monthly_Id.pngประเทศอินโดนีเซีย

          ตลาดหุ้นอินโดนีเซียปรับตัวลง 3.08% mom ตามภูมิภาค นักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิต่อเนื่องจากเดือนที่แล้วอีก 647 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯตั้งแต่ต้นปี) ในระหว่างเดือนธนาคารกลางแห่งประเทศอินโดนีเซียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.25% เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินรูเปีย (อ่อนค่าลง 3.04% mom) โดยเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ธนาคารกลางผ่อนปรนหลักเกณฑ์ LTV สำหรับผู้ซื้อบ้าน เงินเฟ้อเดือนมิถุนายนปรับตัวสูงขึ้น 3.12% yoy (ในกรอบเป้าหมาย 2.5%-4.5%) ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลง 1.6% mom ที่ระดับ 1.23 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 


AEC_monthly_Ph.pngประเทศฟิลิปปินส์

          ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ปรับตัวลดลง 4.05% mom โดยตลาดได้รับปัจจัยลบกดดันต่อเนื่องจากความกังวลตัวเลขเงินเฟ้อและการขาดดุลแฝด (twin deficits) ค่าเงินเปโซอ่อนค่าลง 1.47% mom ธนาคารกลางประเทศฟิลิปปินส์ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็นครั้งที่สองและส่งสัญญาณที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อ (hawkish) ตัวเลข CPI เดือนพฤษภาคมออกมาที่ 4.6% yoy ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง โดยในเดือนนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 252 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับ 79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนพฤษภาคม


AEC_monthly_Ml.png ​ ประเทศมาเลเซีย

           ตลาดหุ้นมาเลเซียในมิถุนายนปรับตัวลง 2.82% mom ตามภูมิภาค  นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 4.9 พันล้านริงกิต หุ้นกลุ่มสื่อสารโดนแรงเทขายอย่างหนักเนื่องจากรัฐบาลประกาศปรับลด broadband charge ด้านตัวเลขที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ Purchasing Managers Index (PMI) เดือนพฤษภาคมปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 11 เดือนที่ 47.6 ตัวเลข CPI เดือนพฤษภาคม +1.8% yoy ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงสู่ระดับ 1.08 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนมิถุนายน และธนาคารกลางมาเลเซียคงอัตราดอกเบี้ยที่ 3.25%


AEC_monthly_Vn.pngประ

เทศเวียดนาม

          ตลาดหุ้นเวียดนามในเดือนมิถุนายนยังคงปรับตัวลง 1.08% mom โดยหลักๆ เป็นการปรับตัวลงจากแรงเทขายทำกำไรของหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ขณะที่หุ่นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นพยุงตลาด นักลงทุนจากต่างชาติซื้อสุทธิ 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเหตุการณ์สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่ ตัวเลข GDP ไตรมาสสองออกมาโต 6.8% yoy อัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน +4.7% yoy ตัวเลข Purchasing Managers Index (PMI) ในเดือนมิถุนายนออกมาที่ 55.7 เพิ่มขึ้นจาก 53.9 ในเดือนก่อนหน้า ตัวเลขทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 6.35 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนมิถุนายน​​

AEC_monthly_Table_Jun'18.png


มองในอนาคต

กลยุทธ์การลงทุน: กองทุนเปิดเค อาเซียน อีโคโนมิค คอมมูนิตี้ หุ้นทุน (K-AEC) ในเดือนที่ผ่านมาตลาดหุ้นในภูมิภาคอาเซียนทุกตลาดปรับตัวลดลง โดยกองทุนมีผลการดำเนินงานสูงกว่า Benchmark อยู่ 0.49%  เนื่องจากทางกองทุนได้ให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่ม Consumers ของประเทศอินโดนีเซียสูงกว่าตลาด ซึ่งหุ้นกลุ่มนี้ปรับตัวลดลงน้อยกว่าตลาดอย่างมีนัยยะสะท้อนภาคการบริโภคในประเทศที่ดีขึ้น โดยในเดือนที่ผ่านมาทางกองทุนยังคงสัดส่วน underweight ประเทศมาเลเซีย เนื่องจากอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบของนโยบายการบริหารประเทศของว่าที่รัฐบาลชุดใหม่ต่อเศรษฐกิจและค่าเงินของประเทศ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่ทางกองทุนให้น้ำหนักการลงทุนมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มพลังงาน

ปัจจัยที่น่าจับตามอง: ความผันผวนของค่าเงินในภูมิภาค แนวโน้มตัวเลขเงินเฟ้อที่มีผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรของแต่ละประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐฯ ความไม่แน่นอนเรื่องมาตรการกีดกันทางการค้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ การตอบโต้มาตรการดังกล่าวจากจีน นโยบายของรัฐบาลใหม่ในประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการลงทุนในระยะถัดไป


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

กองทุนป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากกองทุนไม่ได้อาจไม่ป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราเต็มจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ l เนื่องจากกองทุนลงทุนในหุ้นเฉพาะภูมิภาค จึงมีความเสี่ยงและมีราคาผันผวนสูงกว่ากองทุนรวมที่มีการกระจายการลงทุนหลายภูมิภาค l ผลการดำเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต


ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน l สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ KAsset Contact Center 02-6733888 หรือ
www.kasikornasset.com l ข้อมูลจัดทำ ณ วันที่ 19 กรกฎาคม 2561 โดยฝ่ายจัดการกองทุนตราสารทุน บลจ.กสิกรไทย​


Yes
7/9/2018
1!บทวิเคราะห์รายเดือน!Monthly Analysis!market