3/2/2022

​มุมมองการลงทุนในตราสารหนี้ ก่อน F​e​​d ขึ้นดอกเบี้ย มี.ค.นี้

​​​​​​​​​​​​​​​​​สาเหตุที่กองทุนตราสารหนี้ติดลบในช่วงที่ผ่านมา

แรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่งเปลี่ยนมามีท่าทีดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น แนวโน้มการขึ้นด​อกเบี้ยเร็วขึ้นเพื่อชะลอความร้อนแรงของเงินเฟ้อนี้เอง กดดันให้ Bond Yield ทั่วโลกปรับตัวขึ้นมาอย่างมีนัยยะตั้งแต่ช่วงต้นปี โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ของไทยปรับตัวขึ้นจาก 1.9% ณ สิ้นปี 2564 มาที่ 2.21% ณ 15 กุมภาพันธ์ 2565 (ถ้าดอกเบี้ยปรับขึ้น ราคาจะปรับตัวลง เคลื่อนไหวทิศทางตรงกันข้าม)

ความผันผวนของกองทุนตราสารหนี้ไทยในระยะนี้ จึงเป็นผลกระทบทางอ้อม ด้าน Market Risk จ​ากเหตุการณ์ที่ Bond Yield สหรัฐฯที่ปรับขึ้นเป็นหลัก แต่ภาพรวมด้าน Credit Risk ตลาดตราสารหนี้ไทยยังอยู่ในระดับต่ำ Credit Spread ทยอยปรับลดลงจากปีก่อนและคาดมีแนวโน้มทรงตัวในระยะข้างหน้า อีกทั้งอัตราการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มลดลงจากผลของเศรษฐกิจที่ค่อยๆกลับมาฟื้นตัว


“KAsset จึงยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อกองทุนตราสารหนี้ ที่มีน้ำหนักในหุ้นกู้ในประเทศจากปัจจัยสนับสนุนดังกล่าว"

มุมมองการลงทุนในตราสารหนี้ ก่อน Fed ขึ้นดอกเบี้ย มี.ค. เศรษฐกิจไทยพร้อมรับมือหรือไม่? กระทบกองทุนที่ท่านถืออยู่หรือไม่? ...วันนี้ KAsset มีคำตอบ !! #Fed #กองทุนรวม #ตราสารหนี้ #KAsset #รางวัล #บลจยอดเยี่ยมจากMorningstar #บลจยอดเยี่ยมSETAwards #คำตอบที่ใช่ของการลงทุน #เรื่องกองทุนคุณเชื่อได้

โพสต์โดย KAsset เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2022

มุมมองการลงทุนในตราสารหนี้ จากผู้จัดการกองทุน

คำถาม : อัตราดอกเบี้ยไทยมีทิศทางขาขึ้นเหมือนของสหรัฐฯหรือไม่?

คำตอบ : ทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทยต่างจากของโลก และคาดว่าธปท.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.50% ตลอดทั้งปีนี้ เนื่องจากเงินเฟ้อทั้งปีน่าจะอยู่ในกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของธปท.ที่ 1-3% และเศรษฐกิจอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยปีหน้ากว่าจะกลับมาฟิ้นตัวใกล้เคียงระดับก่อนเกิดโควิด-19

KAsset มองว่าความผันผวนในตลาดตราสารหนี้ต่างประเทศจะสูงกว่าของในประเทศ เนื่องจากไทยยังไม่มีแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ทำให้ธปท.ต้องเร่งปรับขึ้นดอกเบี้ย

 

คำถาม : Fed มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ย ผู้จัดการกองทุน มีแนวทางการปรับพอร์ตการลงทุนอย่างไร?

คำตอบ : กองทุนฯ มีการลด Duration ของพอร์ตบางส่วน

โดยผู้จัดการกองทุนฯ ทยอยเพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ เนื่องจากมีมุมมองเชิงบวกในภาพรวมต่อเครดิตไทยที่คุณภาพดี และมองว่าในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น การลงทุนในหุ้นกู้เอกชนที่อายุไม่ยาวเป็นทางเลือกลงทุนที่จะให้ผลตอบแทนดีที่สุด และยังรักษาน้ำหนักพันธบัตรเพื่อใช้เป็นสภาพคล่อง


คำถาม : ปัจจัยเสี่ยงที่นักลงทุนต้องจับตาหลังจากนี้ ?

คำตอบ : จับตาการดำเนินนโยบายแบบตึงตัวของธนาคารกลางสหรัฐฯ ทั้งนี้ มองว่าความผันผวนที่เกิดขึ้นในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นอาจมีได้จาก Global Sentiment

ในอดีตที่ผ่านมาหากมีการเริ่มวัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยแล้วความผันผวนของตลาดตราสารหนี้โลกจะลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความชัดเจนของนโยบายทางการเงินที่มีมากขึ้น

รวมทั้ง ปัจจัยอื่นๆ เช่น สถานการณ์ความไม่สงบรัสเซีย-ยูเครน แนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจในประเทศ สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่นักลงทุนต้องจับตาด้วย

 

คำถาม : มุมมองต่อกองทุนตราสารหนี้ในอีก 6 เดือน หรือ 1 ปีข้างหน้า เป็นเช่นไร?

คำตอบ : จากทิศทางนโยบายการเงินไทยที่ต่างจากของโลก สนับสนุนให้การปรับขึ้นของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรไทย (Yield) ในปีนี้จะอยู่ในกรอบแคบ คาดผลตอบแทนที่ได้รับจากกองทุนตราสารหนี้ในปีนี้จะสูงกว่าปีที่ผ่านมาอย่างมีนัยยะ เนื่องจากเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรได้ปรับตัวขึ้นมาจากปี 2564 มามากแล้ว

 

คำถาม : คำแนะนำการลงทุน? สำหรับกองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง/ยาว เช่น K-FIXEDPLUS

คำตอบ:นักลงทุนสามาถถือต่อไปได้ โดยคาดว่าราคา NAV จะสามารถกลับมาฟื้นตัว

และสามารถสับเปลี่ยนบางส่วนไปลงทุนในกองทุน K-CBOND เพื่อกระจายความ​เสี่ยง และลดความผันผวน เนื่องจาก K-CBOND ไม่มีการลงทุนในต่างประเทศและเน้นลงทุนในหุ้นกู้ ที่ KAsset มีมุมมองบวกต่อเครดิตไทยที่มีคุณภาพดี

 

บทความโดย ฝ่ายกลยุทธิ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย​

ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2565




 
Yes
3/2/2022