10/2/2024

CHINA Fund Check-up ไขข้อข้องใจ 10 คำถาม ตลาดหุ้นจีน

อัพเดทการลงทุน ตลาดหุ้นจีน ตอบข้อสงสัยกับ 10 คำถาม

โดยผู้เชี่ยวชาญการลงทุน ทีม Emerging Markets and Asia Pacific Equity, J.P. Morgan Asset management​

​ตลาดหุ้นจีนกลับมาบวกแรงในช่วงสั้นที่ผ่านมา (A-Shares +16.5%* และ H-Shares +19.8%**) หลังรัฐบาลเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดใหญ่ เพื่อหวังฟื้นฟูเศรษฐกิจที่อาจจะไม่เติบโตได้ตามเป้าหมายในปีนี้ ซึ่งครอบคลุมนโยบายการเงิน มาตรการเยียวยาภาคอสังหาริมทรัพย์ และการสนับสนุนตลาดทุน
 

*ผลตอบแทนดัชนี A-Shares ช่วง 24 - 30 ก.ย. 2024 (ตลาดหุ้นจีน A-Shares ปิดทำการ 1 – 7 ต.ค. เนื่องในวันชาติจีน)
**ผลตอบแทนดัชนี H-Shares ช่วง 24 - 2 ต.ค. 2024 (ตลาดหุ้นจีน H-Shares ปิดทำการ 1 ต.ค. เนื่องในวันชาติจีน)

  
 


KAsset ชวนมาอัพเดทกองทุน K-CHINA พร้อมฟังคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการลงทุน

 

1)   3 ปัจจัยหลักที่กดดันผลการดำเนินงานกองทุนหลัก K-CHINA ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา

  1. Style Rotation towards Value - ท่ามกลางภาวะอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก การขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และความอ่อนแอของภาคอสังหาริมทรัพย์ในจีน ทำให้บรรยากาศการลงทุนเป็นภาวะ risk-off  นักลงทุนจึงหันไปหาหุ้นคุณภาพ (Value) ที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าหุ้นเติบโต (Growth) เช่น บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ (SOE) ซึ่งพอร์ตการลงทุนไม่ได้ลงทุน
  2. Sector Allocation - ผู้จัดการกองทุนหลักคาดว่าภาคการบริโภคจะสามารถฟื้นตัวอย่างมีนัยยะหลังพ้นโควิด-19 จึงเข้าสะสมในหุ้นที่เกี่ยวข้องเช่น เหล้าขาว สายการบินต้นทุนต่ำ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ซึ่งราคาหุ้นในกลุ่มนี้ยังทำได้ไม่ดี จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้า
  3. Stock Selection – การไม่ลงทุนในหุ้นที่เป็นรัฐวิสาหกิจจากที่ได้กล่าวไปข้างต้น นอกจากนี้ การเลือกลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานสะอาด ซึ่งเป็นหนึ่งในธีมที่เราเน้นลงทุน กดดันผลการดำเนินงาน แม้ความต้องการรถยนต์ EV จะยังเติบโต แต่การเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาที่สูง กดดันผลการดำเนินงานหุ้นกลุ่มนี้
     

2)   กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตจากหุ้น Growth ไปหุ้น Value บ้างหรือไม่?

  • ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงยึดมั่นในปรัชญาการลงทุน ที่เน้นหุ้นเติบโต (Growth) คุณภาพสูง (High Quality) และอยู่ในกลุ่มธุรกิจใหม่ (New Economy) ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มลดการปล่อยคาร์บอน และกลุ่มอุปโภคบริโภค
  • อย่างไรก็ดี ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการปรับพอร์ต เช่น ลดจำนวนหุ้นที่ถือ (more concentration) เข้าลงทุนหุ้นตัวใหม่/ขายหุ้น เช่น
    • กลุ่มเทคฯ: ซื้อหุ้นที่จะได้ประโยชน์จากความต้องการ AI ทั่วโลก เช่น Zhongji Innolight
    • กลุ่ม EV: ขายหุ้น Suzhou Maxwell จากการที่นำเทคโนโลยีมาใช้ช้ากว่าที่คาดไว้
    • กลุ่มบริโภค: ลดน้ำหนักหุ้นที่ Valuation แพง และอ่อนไหวต่อผลประกอบการที่ผิดคาด
    • กลุ่มการเงิน: เพิ่มน้ำหนักหุ้นในกลุ่มประกัน จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจะส่งผลบวกต่อยอดขายกรมธรรม์

3)   ภาพเศรษฐกิจในปี 2024 นี้ จะช่วยเอื้อต่อพอร์ตการลงทุนอย่างไร

  • ในภาพรวม ความท้าทายหลักยังเป็นเรื่องของความเชื่อมั่นผู้บริโภคและภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ยังอ่อนแอ ขณะที่ปัจจัยภายนอกก็มีประเด็นความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์
  • อย่างไรก็ดี การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ค่อยๆปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมหลายด้าน ทั้งการเงิน อสังหาฯ ตลาดทุน แม้อาจจะไม่ใช่การกระตุ้นอุปสงค์โดยตรง แต่เป็นการลดความเสี่ยงฟองสบู่ในอนาคต และผู้จัดการกองทุนหลักเชื่อว่า นโยบายเหล่านี้จะมีผลกระทบเชิงบวกอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • พอร์ตการลงทุนจึงยังคงเน้นหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในระยะยาว  ได้แก่ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มลดการปล่อยคาร์บอน และกลุ่มอุปโภคบริโภค
     

4)   ทำไมกองทุนหลักจึงยังคงเชื่อมั่นในหุ้นเติบโต (Growth)

  • การเติบโตของเศรษฐกิจ  และผลการดำเนินงานของตลาดหุ้น อาจไม่สัมพันธ์กันเสมอไป เห็นจากตัวอย่างของฝั่งญี่ปุ่นที่เศรษฐกิจโตอย่างช้าๆ แต่หุ้นกลุ่ม Growth กลับทำผลการดำเนินงานได้ดีกว่ากลุ่ม Value
  • แนวโน้มหุ้นกลุ่ม Growth เช่น เทคฯ ดูดีขึ้น และยังมีศักยภาพในการเติบโตอีกมาก รวมถึงกำไรบริษัทถูกปรับประมาณการขึ้น
  • ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงเชื่อมั่นว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนจะช่วยสนับสนุนการเติบโตเชิงโครงสร้างในจีนต่อไป 

5)   ความน่าสนใจของมูลค่าหุ้นจีนในแง่ Valuation ที่ถูกมาก

  • ปัจจุบันระดับมูลค่าหุ้นจีนซื้อขายในราคาที่ถูกมาก และรับรู้ปัจจัยเสี่ยงต่างๆไปมากแล้ว ดังนั้น downside จึงค่อนข้างจำกัด
  • อาจพลาดโอกาสที่ดีในการเข้าลงทุน หากมัวแต่รอปัจจัยหนุนที่ชัดเจนต่างๆจนตลาดเป็นขาขึ้น
  • ผู้จัดการกองทุนหลักยังคงมีความเชื่อมั่นว่าจะเห็นการกลับมาของตลาดหุ้นจีน เช่นเดียวกับโอกาสการเติบโตของกำไรบางบริษัทที่เป็นเลข 2 หลัก

6)   ธีมการลงทุน และตัวอย่างหุ้นที่น่าสนใจ

กองทุนหลักเน้นลงทุนใน 3 ธีม ที่ได้รับประโยชน์จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีนในระยะยาว

    1. กลุ่มเทคโนโลยี: โอกาสการลงทุนที่หลากหลาย อาทิ เซมิคอนดักเตอร์ ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์  และ AI เช่น Beijing Kingsoft Office บริษัทซอฟต์แวร์ที่มีฐานผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุดในจีน ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการที่รัฐบาลสนับสนุนการใช้ระบบภายในประเทศ
    2. กลุ่มลดการปล่อยคาร์บอน: เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นับเป็นวาระแห่งชาติ ทำให้มีธุรกิจที่จะได้ประโยชน์อีกมาก เทรนด์ New Energy เติบโตขึ้นเรื่อยๆและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค การเจาะตลาดรถยนต์ที่ใช้ New Energy ในจีนคาดว่าจะถึง 90% ภายในปี 2030 (ปัจจุบันที่เพียงประมาณ 30%) ตัวอย่างหุ้นที่น่าสนใจเช่น CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ EV ชั้นนำของโลก ที่มีส่วนแบ่งทางตลาดเกือบ 50% ทั่วโลก
    3. กลุ่มอุปโภคบริโภค: ประชากรในจีนมีความมั่งคั่งขึ้น เพิ่มความต้องการสินค้าและบริการที่มีความ Premium ธุรกิจออนไลน์มีแนวโน้มเติบโตอย่างก้าวกระโดด ตัวอย่างบริษัท JD Health หนึ่งในร้านขายยาออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในจีน ได้ประโยชน์จากการเจาะตลาด E-commerce ผู้คนต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น
       

7)   ทำไมถึงพอร์ตการลงทุนจึง Overweight หุ้น A-Shares

  • กลยุทธ์การลงทุนสามารถลงทุนได้ในหุ้นจีนทุกชนิด (All China) และไม่ได้มีความชื่นชอบชนิดใดชนิดหนึ่ง  
  • หุ้นในพอร์ตเป็นผลมาจากการ bottom-up วิเคราะห์หุ้นจากปัจจัยพื้นฐาน
  • หุ้น A-shares ที่ถูกคัดเลือกมาครอบคลุมในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ สุรา ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ EV และอุปกรณ์สื่อสาร
     

8)   ภาวะตลาดแบบใดที่พอร์ตการลงทุนจะกลับมาสร้างผลตอบแทน

  • พอร์ตการลงทุนกองทุนหลักมักจะทำผลตอบแทนได้ดีในช่วงที่ 1. ตลาดมีขึ้นๆลงๆ 2. เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ และ 3. ปัจจัยเฉพาะของหุ้นแต่ละตัวที่กองทุนถือ
  • ในช่วงที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนเผชิญกับความผันผวนอย่างรุนแรง ตลอดจนความอ่อนแอของภาคบริโภคและอสังหาฯ จนทำให้หุ้นในพอร์ตไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้
  • อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการกองทุนหลักยังเชื่อมั่นว่า การคัดเลือกหุ้น Growth ที่มีคุณภาพ จะเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนของพอร์ตให้โดดเด่นกว่าดัชนีชี้วัดเมื่อตลาดหุ้นจีนฟื้นตัว

9) กระบวนการการลงทุนมีการปรับเปลี่ยนเพื่อรับมือกับความผันผวนในช่วงที่ผ่านมาบ้างหรือไม่

  • กระบวนการการลงทุนไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด
  • การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ คือเพิ่มความเข้มข้นในส่วนของการวิจัย รวมถึงมีการแต่งตั้งหัวหน้าคนใหม่ของทีม Greater China

10) สิ่งที่ทำให้ทีมจัดการกองทุนของกองทุนหลัก K-CHINA เหนือกว่าของคู่แข่งอื่นๆ

  • ทีมบริหารจัดการกองทุนมืออาชีพ ภายใต้ทีม Greater China กว่า 24 คน รวมถึงนักวิจัยที่อยู่ภายใต้ JPMorgan Asset Management (China) อีกกว่า 20 คน
  • การแชร์ข้อมูลระหว่างกันทำให้สามารถได้ข้อมูลเชิงลึก และแนวคิดการลงทุนใหม่ๆ
  • นอกจากนี้ เรายังมีศักยภาพที่จะครอบคลุมการวิเคราะห์หุ้นขนาดกลาง/เล็ก ได้มากกว่าคู่แข่ง

    ​​คำแนะนำการลงทุน K-CHINA

    สำหรับผู้ที่มีสัดส่วนในหุ้นจีนน้อย/ยังไม่มี:  ถือต่อ/เข้าลงทุนได้
    มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่ออกมาสร้าง Sentiment เชิงบวกต่อตลาดหุ้นจีน ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งผลดีต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง สามารถถือต่อ/เข้าลงทุน เพื่อรอรับประโยชน์จากการฟื้นตัวของตลาดหุ้นจีน   

    สำหรับผู้ที่มีเยอะ: ลดสัดส่วนไปกระจายการลงทุนผ่าน Core-Sat Portfolio
    ใช้โอกาสช่วงที่ตลาดปรับขึ้น พิจารณาลดสัดส่วนไปเข้ากลุ่มกองทุน K-WealthPLUS Series (ในส่วน Core Portfolio) หรือว่าหุ้นโลก อินเดีย เวียดนาม และไทย (ในส่วนของ Satellite Portfolio)

    ที่มา: บลจ.กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 2 ตุลาคม 2567



Yes
10/2/2024
none