
เกือบ 2 สัปดาห์แล้วที่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศเลื่อนการปรับขึ้นภาษีตอบโต้รายประเทศ (Reciprocal Tariffs) ออกไป 90 วัน เป็นเริ่มมีผล 8 ก.ค. แต่ยังเก็บภาษีขั้นตํ่าทุกประเทศเพิ่ม 10% (Universal Tariffs)
แต่ละประเทศหลักๆ มีความคืบหน้าในการเจรจาต่อรองกัน อย่างไรบ้าง
ประเทศจีน
• จีนเป็นประเทศเดียวที่ทรัมป์ยังเดินหน้าประกาศขึ้นภาษีอีกหลายรอบ ทำให้กำแพงภาษี Reciprocal กับจีนอยู่ที่ 125% และภาษีเฉพาะเจาะจงที่ 20% รวมเป็น 145% เพื่อตอบโต้จีนที่ประกาศขึ้นภาษีตอบโต้กลับสหรัฐฯ หลายครั้งในช่วงสัปดาห์ก่อน และทำให้ภาษีที่เก็บกับจีนบางชนิด อาจสูงถึง 245%
• จีนได้ตอบโต้กลับ โดยขึ้นภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ เป็น 84% และภายหลังเพิ่มเป็น 125% เช่นกัน นอกจากนี้ จีนยังระงับการส่งออกแร่หายาก (Critical Minerals) ที่จำเป็นต่ออุตสาหกรรมทั่วโลกด้วย
ประเทศญี่ปุ่น
• สหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นสูงถึง 24% ทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มได้รับผลกระทบอย่างหนัก
• การเจรจาระหว่างนายกรัฐมนตรี ชิเงรุ อิชิบะ กับทรัมป์ ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ แต่จากรายงานข่าว ปธน.ทรัมป์กล่าวว่า การเจรจาการค้ากับญี่ปุ่นมีความคืบหน้าอย่างมาก
ประเทศเกาหลีใต้
• ภาษีนำเข้าถูกเก็บจากสหรัฐฯ ในอัตรา 25%
• รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศมาตรการเยียวยาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ และมีแผนพบปะเพื่อเจรจากับรัฐมนตรีเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่กรุงวอชิงตัน
ประเทศอินเดีย
• ภาษีนำเข้าถูกเก็บจากสหรัฐฯ ในอัตรา 26%
• นายกรัฐมนตรี นเรนทรา โมดี เตรียมต้อนรับรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เจดี แวนซ์ เพื่อการประชุมทวิภาคี โดยหวังหารือให้สหรัฐฯ ยกเว้นภาษีสินค้ากว่า “ครึ่งหนึ่ง” ของการนำเข้าจากอินเดีย
สหภาพยุโรป (EU)
• EU เสนอข้อตกลง “zero-for-zero” ให้สหรัฐฯ (ต่างฝ่ายต่างยกเลิกภาษีอุตสาหกรรม) แต่สหรัฐฯ ปฏิเสธข้อเสนอนี้
• EU เตรียมตอบโต้ด้วยการเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่าสูงถึง 2.6 หมื่นล้านยูโร
มุมมองการลงทุน
ตลาดการเงินจะยังคงเผชิญกับความผันผวนไปจนกว่าจะมีความชัดเจนของผลการเจรจาระหว่างสหรัฐฯกับประเทศต่างๆ ซึ่งเส้นตายคือวันที่ 8 ก.ค. นี้
KAsset แนะนำให้นักลงทุนติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด เนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์ มีการปรับเปลี่ยนประเด็นภาษีตลอดเวลา มีทั้งพัฒนาการเชิงบวกและลบ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการค้า และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
คำแนะนำการลงทุน
สำหรับผู้ที่ไม่รับความเสี่ยง และต้องการรอความชัดเจน แนะนำกองทุนความเสี่ยงต่ำ เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนตลาดเงิน
• K-SFPLUS สำหรับพักเงินระยะสั้น 3-6 เดือน
• K-FIXEDPLUS สำหรับลงทุน 1-1.5 ปี ขึ้นไป
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ แนะนำกองทุนผสม ที่กระจายการลงทุนในหลายสินทรัพย์ทั่วโลก
• K-WealthPLUS Series ทยอยลงทุนได้ต่อเนื่อง
ที่มา: KAsset Investment Strategy บลจ.กสิกรไทย
ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2025
คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน