4/1/2022

สรุป Timeline ไตรมาสแรก ผันผวนแค่ใหน? ไตรมาสถัดไปเอาไงต่อดี?

​​

ตั้งแต่ต้นปี 2022 มาจนถึงตอนนี้ มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนไม่มากก็น้อย และก่อนที่เราจะ move on ต่อไป เราลองมาย้อนดูกันสักนิดว่าในช่วงไตรมาสแรกได้เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง เพื่อเราจะได้เห็นทิศทางการลงทุนต่อไปในอนาคต

  • Fed มีจุดยืนในการดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเพื่อสกัดเงินเฟ้อ
  • ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อ
  • จีนเริ่มปล่อยข่าวดี แต่ยังต้องจับตาใกล้ชิด
  • ปัจจัยเสี่ยงเริ่มเบา สัญญาณเชิงบวกมากขึ้น หุ้นยังเข้าลงทุนได้แม้จะยังมีความผันผวนในระยะสั้น

 

Fed ส่งสัญญาณจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่คาดมาตั้งแต่เปิดต้นปี ส่งผลให้หุ้นกลุ่มเติบโตสูง (Growth) ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จนถูกเทขายเป็นจำนวนมาก เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น จะทำให้อัตราการเติบโตในอนาคตอาจชะลอตัวลง

ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น จากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ที่อึมครึมมาตั้งแต่เดือน ม.ค. และรุนแรงขึ้นในช่วงเดือน ก.พ. หลังรัสเซียบุกเข้าโจมตี ทำให้ประเทศฝั่งตะวันตกตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรวมถึงการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และผลักดันให้อัตราเงินเฟ้อที่ทรงตัวระดับสูงในปัจจุบันมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกในระยะต่อไปหากสถานการณ์ยืดเยื้อ และท้ายที่สุดจะกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก เป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นโลกโดยรวม

จีนเปิดตัวมาสวยหลังมีข่าวดีในเดือนม.ค. จากการประกาศลดดอกเบี้ยซึ่งสะท้อนการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลายที่สวนทางกับฝั่งประเทศตะวันตก อีกทั้งแรงกดดันด้านกฏระเบียบที่ดูน้อยลงกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังมีหลายปัจจัยที่บดบังความเชื่อมั่นนักลงทุน ทั้งการที่จีนใช้นโยบายคุมโควิดแบบเข้มข้น (Zero Covid) โดยเฉพาะในเดือนมี.ค.ที่ยอดผู้ติดเชื้อใหม่กลับมาพุ่งจนต้องล็อกดาวน์เสินเจิ้นซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางเทคฯโลกเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้หุ้นกลุ่มเทคฯจีนยังโดนเทขายอย่างหนักหลังก.ล.ต. สหรัฐฯประกาศรายชื่อหุ้นที่มีความเสี่ยงถูกถอดจากกระดานสหรัฐฯอีกด้วย

 

ประเด็นต่างๆ ในไตรมาสแรก เปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?

ผลการประชุม Fed ในช่วงกลางเดือน มี.ค. เป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ แต่การที่ Fed ออกมาย้ำว่าพร้อมที่จะทำทุกทางเพื่อหยุดเงินเฟ้อที่สูงมาก ทำให้ตลาดกลับมาให้น้ำหนักโอกาสที่ Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมบางครั้ง ซึ่งแม้ตลาดจะรับรู้ประเด็นนี้ไปพอสมควรแต่ก็ยังจะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของตลาด

ส่วนประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคาดเดาได้ยาก ต้องจับตาดูพัฒนาการของการเจรจาที่กำลังดำเนินอยู่เป็นระยะ และหลังจากที่รัฐบาลจีนออกมาแถลงจะมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจและสนับสนุนหุ้นจีนในต่างประเทศ รวมถึงส่งสัญญาณว่าการควบคุมหุ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีจะมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนมากขึ้น ทำให้ตลาดหุ้นโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มเทคฯฟื้นตัวแรงมาก ต้องจับตาดูว่ามาตรการต่างๆที่จะออกมาจะเรียกความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้ยั่งยืนเพียงใดต่อไป

 

ในไตรมาส 2 นักลงทุนควรเดินหมากการลงทุนอย่างร?

ความไม่แน่นอนของปัจจัยที่เคยกดดันตลาดหุ้นโลกในช่วงที่ผ่านมาเริ่มเบาบางลงและมีสัญญาณเชิงบวกมากขึ้น อีกทั้งตลาดก็ได้ปรับตัวลงสะท้อนประเด็นร้ายต่างๆไปมากแล้ว จึงน่าจะเห็นการฟื้นตัวของสินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นในระยะสั้นนี้

อย่างไรก็ดีในระยะถัดไป ตลาดจะให้น้ำหนักต่อประเด็นเงินเฟ้อ เนื่องจากผลของการคว่ำบาตรรัสเซียจะยังคงอยู่และส่งผลให้ราคาพลังงานยังอยู่ในระดับสูง และท้ายที่สุดจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

โดยหุ้นจะยังเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนบวกแต่จะไม่ได้เติบโตแบบร้อนแรงอย่างปีที่ผ่านมา เนื่องจากการเติบโตของเศรษฐกิจและมาตรการกระตุ้นต่างๆทั้งการเงินและการคลังได้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

คำแนะนำการลงทุนสำหรับ ไตรมาสที่ 2

นักลงทุนความเสี่ยงต่ำ :

ความไม่แน่นอนในตลาดการเงินยังมีสูง ผู้ที่ต้องการหลบความผันผวนสามารถเข้าลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ที่เรามีมุมมองบวกต่อตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศ จากอัตราการผิดนัดชำระหนี้มีแนวโน้มลดลงจากผลของเศรษฐกิจที่ค่อยๆกลับมาฟื้นตัว กองทุนแนะนำ K-CBOND

นักลงทุนความเสี่ยงสูง :

สงครามรัสเซียกับยูเครน และการที่ Fed อาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาด จะทำให้สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้นยังมีความผันผวนสูง แต่ตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปมากแล้ว อีกทั้งเศรษฐกิจโลกโดยรวมยังเติบโต และหุ้นจะฟื้นตัวได้ตามปัจจัยพื้นฐานที่แตกต่างไปในแต่ละภูมิภาค ราคาที่ปรับตัวลงมาค่อนข้างเยอะในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นระดับที่น่าทยอยสะสมสำหรับการลงทุนระยะยาว

ปัจจัยลบเริ่มเบาลง การจัดการกับโควิดมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รัฐบาลแสดงความพร้อมจะเข้ามาสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ตั้งเป้าเติบโต 5.5% ในปีนี้ การส่งสัญญาณที่อาจลดความเข้มงวดในการจัดการกับกลุ่มเทค และราคาหุ้นปรับตัวลงมาเยอะจนอยู่ในระดับที่ต่ำมาก น่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ดีได้เมื่อรัฐบาลส่งสัญญาณพร้อมฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ชัดเจน กองทุนแนะนำ K-CHINA, K-CCTV, K-CHX

 

กองทุนแนะนำ K-JP : ทิศทางนโยบายการเงินยังคงผ่อนคลาย และระดับราคาหุ้นต่ำกว่าประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ

กองทุนแนะนำ K-VIETNAM : การเติบโตโดดเด่นทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น

กองทุนแนะนำ K-STAR : แผนการเปิดประเทศมีพัฒนาการที่ดี และผลกระทบโดยตรงจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนมีค่อนข้างจำกัด

สำหรับนักลงทุนสายกลาง :

แนะนำกองทุน K-CHANGE และ K-CLIMATE จากบลจ.กสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งกลุ่มกองทุนที่น่าสนใจ เนื่องจาก ราคา NAV ได้ปรับตัวลง จากการที่นักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์ความผันผวนในช่วงที่ผ่านมา จึงเกิดแรงเทขายหุ้นทำให้ราคาน่าสนใจเข้าลงทุน ประกอบกับธีมการลงทุนรักษ์โลกได้รับความสนใจจากนักลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งธุรกิจที่นำแนวคิด ESG มาปรับใช้จะมีความสามารถในการแข่งขัน และมีแนวโน้มการเติบโตทางธุรกิจที่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

สำหรับใครที่จะลงทุนในช่วงไตรมาสที่สองที่กำลังจะมาถึงนี้ อย่าลืมดาวน์โหลดแอป K-My Funds ติดเครื่องไว้ เพราะแอปนี้ทำได้ทั้งเปิดบัญชีกองทุนออนไลน์ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตลอด 24 ชม. อยู่ที่ไหนก็ลงทุนได้ ที่สำคัญยังมีการอัปเดตข่าวสารแวดวงการลงทุนทั่วโลก แนะนำกองทุนน่าสนใจ และฟีเจอร์ช่วยจัดพอร์ตกองทุนให้ตรงสไตล์ของเรา ช่วยให้เราตามทันทุกการลงทุนทั่วโลกได้ในแอปเดียว

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับแอป K-My Fundsเพิ่มเติม คลิก

สนใจลงทุน เริ่มต้นเพียง 500 บาท ผ่านแอป K-My Funds ตลอด 24 ชม.

 

บทความโดย คุณ นาวิน อินทรสมบัติ

Chief Investment Officer, KAsset




Yes
4/1/2022