1. Thai ESGX คืออะไร
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนแบบพิเศษ (Thailand ESG
Extra Fund) กองทุนรวมที่ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
ที่มีนโยบายลงทุนในหลักทรัพย์ไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืนตามหลักเกณฑ์เดียวกับกองทุน
Thai ESG โดยเฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80%
โดยจะต้องลงทุนในหุ้นกลุ่มความยั่งยืนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ
65%
ทั้งนี้แบ่งการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในช่วง พ.ค. -
มิ.ย. 2568 แบ่งออกเป็น 2 วงเงิน ได้แก่
วงเงินลงทุนใหม่
(วงเงินลดหย่อนที่ 1)
และวงเงินสับเปลี่ยนจาก LTF (วงเงินลดหย่อนที่ 2)
2. เงื่อนไขการลงทุน Thai ESGX มีอะไรบ้าง
แบ่งออกเป็น 2 วงเงิน โดยไม่นับรวมกับกองทุน ThaiESG,
RMF และกลุ่มลดหย่อนเกษียณอื่นๆ ได้แก่
วงเงินลดหย่อนที่ 1 |
วงเงินลดหย่อนที่ 2 |
เงินใหม่เฉพาะปี 2568 สูงสุด 300,000
บาท
ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน
|
สับเปลี่ยนจากหน่วยลงทุน LTF เดิม
สูงสุด 500,000 บาท
(ไม่มีเงื่อนไข 30% ของเงินได้พึงประเมิน
และต้องสับเปลี่ยนจาก LTF
ทุกกองทุนที่มีกับทุก บลจ.)
-
ปีแรก 2568
ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท
-
ปีที่ 2-5
ลดหย่อนสูงสุดปีละ 50,000 บาท
โดยนำส่วนเกิน 300,000 บาทแรก
มาหารเฉลี่ยและลดหย่อนปีละเท่าๆ กัน
เช่น สับเปลี่ยน LTF ไป Thai ESGX จำนวน
380,000 บาท จะลดหย่อนได้ดังนี้
ปีที่ 1 (ปี 2568) ลดหย่อนได้ 300,000
บาท
ปีที่ 2 - 5 (ปี 2569 - 2572)
ลดหย่อนได้ปีละ 20,000 บาท
|
ระยะเวลาลงทุน: เดือน พ.ค. - มิ.ย. 2568
K-HDThaiESGX-68
และ
K-70ThaiESGX-68
เสนอขายครั้งแรก 2 - 8 พ.ค. 2568
เสนอขายครั้งถัดไป 13 พ.ค. - 30 มิ.ย.
2568
|
ระยะเวลาลงทุน: เดือน พ.ค. - มิ.ย. 2568
K-HDThaiESGX-L
และ
K-70ThaiESGX-L
สับเปลี่ยนได้ระหว่างวันที่ 13 พ.ค. - 30
มิ.ย. 2568
|
การถือครอง: ไม่น้อยกว่า 5 ปี
(วันชนวันนับแต่วันที่ลงทุน) เช่น
ซื้อกองทุน Thai ESGX ในวันที่ 1 มิ.ย.
2568 ถือครองจนครบ 5 ปี ถึงวันที่ 31 พ.ค.
2573
จะสามารถขายออกถูกเงื่อนไขได้ในวันที่ 1
มิ.ย. 2573 เป็นต้นไป
|
การถือครอง: ไม่น้อยกว่า 5 ปี
(วันชนวันนับจากวันที่ส่งคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
LTF เดิม มายังกองทุน Thai ESGX) เช่น
สับเปลี่ยนมากองทุน Thai ESGX ในวันที่ 1
มิ.ย. 2568 ถือครองจนครบ 5 ปี ถึงวันที่
31 พ.ค. 2573
จะสามารถขายออกถูกเงื่อนไขได้ในวันที่ 1
มิ.ย. 2573 เป็นต้นไป
|
3. สรุปสิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนในปี 2568 คือเท่าไหร่
สูงสุด 1,400,000 บาท (RMF รวมกลุ่มลดหย่อนเกษียณอื่นๆ
ไม่เกิน 500,000 บาท + ThaiESG ไม่เกิน 300,000 บาท +
Thai ESGX วงเงินที่ 1 ไม่เกิน 300,000 บาท + Thai
ESGX วงเงินที่ 2 ไม่เกิน 300,000 บาท)
4. Thai ESGX ต่างจาก Thai ESG เดิมอย่างไร
Thai ESG |
Thai ESGX |
-
ลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน
ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
-
ลงทุนได้ทั้งหุ้นไทยยั่งยืนที่ได้รับการจัดอันดับ
ESG Rating ตามหลัก ESG
ตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (ESG Bond)
และโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน
|
-
ลงทุนในทรัพย์สินที่ออกโดยผู้ออกหรือกิจการในไทยที่มีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ไม่น้อยกว่า 80% ของ
NAV
-
เงื่อนไขเพิ่มเติมเฉพาะ Thai
ESGX
ต้องลงทุนหุ้นกลุ่มความยั่งยืน
ไม่น้อยกว่า 65% ของ NAV
|
ไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมิน
สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท
|
-
วงเงินลดหย่อนที่ 1
เงินใหม่ เฉพาะปี 2568 ไม่เกิน 30%
ของเงินได้พึงประเมิน สูงสุด 300,000 บาท
-
วงเงินลดหย่อนที่ 2
สับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เดิม สูงสุด
500,000 บาท (ไม่มีเงื่อนไข 30%
ของเงินได้พึงประเมิน)
|
วงเงินลดหย่อนภาษีไม่นับรวมกับกลุ่มลดหย่อนเกษียณอื่นๆ
|
5. การสับเปลี่ยน LTF มา Thai ESGX โอนรอบเดียวใช่หรือไม่
ผู้ถือหน่วยลงทุน LTF
สามารถทยอยส่งคำสั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เป็น
Thai ESGX ได้
เพียงแต่ต้องทำรายการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF
ทั้งหมดให้ครบทุกบลจ. ตั้งแต่ 13 พ.ค. - 30 มิ.ย. 2568
6. หากมี LTF เดิมอยู่เกิน 500,000 บาท
สามารถขายออกบางส่วน และใช้สิทธิวงเงินลดหย่อนที่ 2
ได้หรือไม่
ไม่ได้ ต้องทำการสับเปลี่ยนเงิน LTF ทั้งหมดมายัง Thai
ESGX โดยจะลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 500,000 บาท
หมายเหตุ:
-
หากมีการขายหรือสับเปลี่ยน LTF หลัง 11 มี.ค. 2568
จะไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีวงเงินที่ 2
อย่างไรก็ตาม ยังคงลงทุนในวงเงินที่ 1 ได้
-
หากมีการขายหรือสับเปลี่ยน LTF บางส่วนไปก่อน 11
มี.ค. 2568 ยังคงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีวงเงินที่
2 ได้
(11 มี.ค. 2568 วันที่ ครม.
มีมติให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับ Thai ESGX)
7. มูลค่าที่นำไปคิดลดหย่อนภาษีคิดจากมูลค่าตลาดหรือต้นทุน
คิดจากมูลค่าหน่วยลงทุนที่โอนไป ณ
วันทำการที่สั่งสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน LTF เป็น Thai
ESGX
เช่น ส่งคำสั่งสับเปลี่ยนไปกองทุน Thai ESGX วันที่ 6
พ.ค. 2568 จำนวน 300,000 บาท
ก็จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษี 300,000 บาท
8. โอนย้ายแล้วต้องลงทะเบียนขอใช้สิทธิลดหย่อนหรือไม่
กรณีผู้ลงทุนเคยลงทะเบียนแจ้งความประสงค์แล้ว
ไม่ต้องแจ้งความประสงค์ใหม่
9. สามารถโอนย้ายกองทุนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ LTF มา Thai ESGX
ได้หรือไม่
สามารถทำได้สำหรับวงเงินที่ 1 (วงเงินใหม่ปี 2568)
10. ถ้าไม่มีกองทุน LTF-C(L) มีแค่ LTF
ที่เป็นชนิดกองทุนเปิดทั่วไป จะสามารถสับเปลี่ยนมา Thai
ESGX โดยใช้สิทธิวงเงินลดหย่อนของ LTF - C(L) ได้หรือไม่
สามารถสับเปลี่ยนมาเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนวงเงินที่ 2
ของ Thai ESGX ได้
11. สามารถสับเปลี่ยน Thai ESGX จากบลจ.อื่นเข้า
บลจ.กสิกรไทย ได้หรือไม่
หากมีลูกค้าขอสับเปลี่ยนเข้าจากบลจ. อื่น ในช่วงพ.ค. -
มิ.ย. 2568
ต้องทำการติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและประสานงานกับบลจ. ต้นทางว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่
ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 68 เป็นต้นไป สามารถรับโอนจาก
บลจ. อื่นได้ตามปกติ (Class LTF ไป LTF, Class
เงินใหม่ไปเงินใหม่เท่านั้น)
12. สามารถสับเปลี่ยน Thai ESGX จากบลจ.กสิกรไทย ไป
บลจ.อื่น ได้หรือไม่
ช่วงเดือน พ.ค. - มิ.ย. 68 ลูกค้า KAsset
จะไม่สามารถโอนหน่วยไปยัง บลจ. อื่นๆ ได้
แต่จะเปิดให้โอนได้หลังวันที่ 1 ก.ค. 68 เป็นต้นไป
(Class LTF ไป LTF, Class เงินใหม่ไปเงินใหม่เท่านั้น)
13. หากซื้อ Thai ESGX
แล้วต้องการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปกอง ThaiESG ได้หรือไม่
- สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2568 ไม่สามารถทำได้
- สำหรับหน่วยลงทุนที่ซื้อตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป
สามารถทำได้
14. สามารถสับเปลี่ยน Thai ESGX ของบลจ.กสิกรไทย
ได้หรือไม่
สามารถสับเปลี่ยนได้ โดยต้องเป็น Class เดียวกัน
(Class LTF ไป LTF, Class เงินใหม่ไปเงินใหม่เท่านั้น)
15. กรณีลงทุนใน Thai ESGX วงเงินที่ 1 ในปี 2568
จำนวนเงิน 300,000 บาท และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีแล้ว
ต่อมาในปี 2570 ทำการขายคืนหน่วยลงทุนบางส่วนออก
จะต้องคืนภาษีอย่างไร
การขายคืนผิดเงื่อนไข
จะต้องคืนภาษีในส่วนที่ได้รับการลดหย่อนไปก่อนหน้าทั้งหมด
และไม่สามารถใช้สิทธิในส่วนที่เหลือได้อีก
16. กรณีโอน LTF มา Thai ESGX ในวงเงินที่ 2
และใช้สิทธิลดหย่อนภาษีไปแล้ว ต่อมาในปี 2571
ทำการขายหน่วยลงทุนบางส่วนออก ต้องคืนภาษีอย่างไร
และยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนของยอดที่เหลือได้หรือไม่
การขายคืนผิดเงื่อนไข
จะต้องคืนภาษีในส่วนที่ได้รับการลดหย่อนไปก่อนหน้าทั้งหมด
และไม่สามารถใช้สิทธิในส่วนที่เหลือได้อีก
17. กรณีขายคืนกองทุน Thai ESGX วงเงินที่ 2 ผิดเงื่อนไข
จะกระทบกับวงเงินที่ 1 หรือไม่