1. ลงทุนกองทุน SSF มากกว่า 200,000 บาท
ได้หรือไม่
สามารถลงทุนได้ แต่ส่วนที่เกิน 200,000 บาท จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และกำไรที่ได้รับจากการขายคืน (เฉพาะส่วนที่เกินสิทธิ) จะถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วยแม้จะถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 10 ปีก็ตาม
2. การนับวันลงทุน SSF นับอย่างไร
เงินลงทุนแต่ละครั้ง จะนับ 10 ปีเต็ม (โดยนับแยกตามการซื้อเป็นรายครั้ง มิใช่รายปี) เช่น ลงทุนวันที่ 1 พ.ย. 2565 เงินลงทุนจะครบ 10 ปีเต็ม วันที่ 30 ต.ค. 2575 และขายคืนได้วันที่ 1 พ.ย. 2575
3. กองทุน SSF สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุน
ได้หรือไม่
สามารถสับเปลี่ยนได้ โดยหากสับเปลี่ยนมายังกองทุน SSF ภายใน บลจ.กสิกรไทย จะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม แต่หากสับเปลี่ยนออกไปกองทุน SSF บลจ. อื่น มีค่าธรรมเนียม Switching Out Fee 1.00% ของมูลค่าหน่วยลงทุน
4. ข้อควรทราบกรณีผิดเงื่อนไข
การลงทุนกองทุน SSF
หรือการขายคืนก่อนครบ 10 ปี
(นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุน)
มีอะไรบ้าง
-
ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นทั้งหมดทันที พร้อมจ่ายเงินเพิ่มให้รัฐ 1.50% ต่อเดือน โดยคิดย้อนหลังตั้งแต่เดือน เม.ย. ของปีที่เคยยื่นขอลดหย่อนภาษีไว้ จนถึงวันที่ยื่นคืนภาษี
-
กำไรที่ได้จากการขายคืนถือเป็นรายได้ในปีที่ขายคืน ซึ่งต้องนำไปรวมคำนวณภาษีด้วย โดย บลจ.กสิกรไทยจะหักภาษี ณ ที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
-
หากขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือครองต่ำกว่า 1 ปี จะเสีย Exit Fee 1.50% ของมูลค่าซื้อขาย เงื่อนไขการลงทุน SSF เพิ่มเติม
https://www.kasikornasset.com/th/LTFRMFcondition/Pages/SSF.aspx
5. ควรลงทุน SSF และ RMF ทั้ง
2 ประเภทหรือไม่
ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของผู้ลงทุน และจำนวนเงินลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รวมถึงผู้ลงทุนควรพิจารณาระยะเวลาที่สามารถลงทุนได้ เนื่องจากกองทุน SSF ห้ามขายคืนก่อน 10 ปี และกองทุน RMF ห้ามขายคืนก่อนอายุ 55 ปี
6. ควรลงทุน SSF และ RMF
อย่างไรดี
ควรพิจารณาการเลือกรับผลตอบแทนในอนาคต โดยคำนึงถึงระดับความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนแต่ละท่านยอมรับได้ เช่น หากต้องการผลตอบแทนสูง ยอมรับความผันผวนระหว่างการลงทุนได้ ควรเลือกลงทุนกองทุนหุ้น แต่หากไม่ต้องการความเสี่ยงมาก ก็ควรเลือกกองทุนตราสารหนี้ หากต้องการสะสมผลตอบแทนเพื่อรับเงินก้อน
ให้เลือกกองทุนที่ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล แต่ถ้าต้องการผลตอบแทนระหว่างลงทุน ควรเลือกกองทุนที่มีโนบายจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามกองทุน RMF ทุกกองทุนในตลาด ไม่มีนโยบายจ่ายเงินปันผล
7. การแจ้งความประสงค์
ใช้สิทธิลดหย่อนภาษี (Tax Consent) คืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่
คือการแจ้งความประสงค์ยินยอมให้ บลจ. นำส่งข้อมูลการลงทุนในกองทุน SSF และ/หรือ RMF แก่กรมสรรพากร เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากกรมสรรพากรจะยอมรับหลักฐานการซื้อหน่วยลงทุนจาก บลจ. โดยตรง แทนการยื่นหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนจากผู้ถือหน่วยลงทุน
ซึ่งเป็นไปตามกฎใหม่กรมสรรพากร ปี 2565 โดยเริ่มนับการลงทุนตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 2565 เป็นต้นไป สำหรับผู้ซื้อหน่วยลงทุนของบลจ.กสิกรไทย สามารถแจ้งความประสงค์ผ่านทางเว็บไซต์
https://k-invest.kasikornbankgroup.com/TaxConsent/ หากผู้ลงทุนไม่แจ้งความประสงค์ จะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจากการลงทุนใน SSF และ RMF ได้
ทั้งนี้ หากผู้ลงทุนเคยแจ้งความประสงค์ให้บลจ.กสิกรไทย นำส่งข้อมูลแล้วในปี 2565 สามารถใช้สิทธิได้ตลอดไป ไม่จำเป็นต้องแจ้งความประสงค์ใหม่
8. ควรแจ้งความประสงค์
ภายในเมื่อไหร่
หากผู้ลงทุนยังไม่เคยแจ้งความประสงค์ ควรแจ้งภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 ทางเว็บไซต์ของ บลจ.กสิกรไทย เพื่อให้บลจ.นำส่งข้อมูลการซื้อ SSF และ RMF ของปีภาษี 2566 ได้ทันการยื่นภาษีของผู้ลงทุน
9. จะทราบได้อย่างไรว่าแจ้ง
ความประสงค์สำเร็จ มีการส่ง
แจ้งผลหรือไม่
เมื่อผู้ลงทุนกด “ยืนยัน” ในขั้นตอนการแจ้งความประสงค์ และถึงขั้นตอน “จบขั้นตอน” จะถือว่าแจ้งความประสงค์สำเร็จ (หน้าจอจะแสดงข้อความตามที่แจ้งความประสงค์ไว้) โดยไม่มีการแจ้งผลผ่านช่องทางอื่น
10. ต้องแจ้งความประสงค์ทุกปี
ที่มีการซื้อกองภาษีหรือไม่
ไม่ต้อง ผู้ลงทุนแจ้งความประสงค์เพียงครั้งเดียวก็สามารถใช้สิทธิได้ตลอดไป
11. สามารถเปลี่ยนแปลง
ความประสงค์ได้หรือไม่
สามารถทำได้ โดย
1. กรณีเคยแจ้งมีความประสงค์ให้นำส่งและเปิดเผยข้อมูล
>> สามารถถอนความประสงค์ เพื่อไม่ให้นำส่งและเปิดเผยข้อมูลได้
2. กรณีเคยแจ้งไม่มีความประสงค์ให้นำส่งและเปิดเผยข้อมูล
>> สามารถเปลี่ยนความประสงค์ เพื่อให้นำส่งและเปิดเผยข้อมูลได้