1/31/2024

ได้เวลาลงทุนด้าน Climate Change เติบโตได้ในระยะยาว ฟันธง!!

HIGHLIGHTS :
• ทั่วโลกให้คำมั่นสัญญาจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 3 เท่า ภายในปี 2030
• มาตรการของรัฐบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการลงทุนเพื่อลด​การปล่อย GHG
• การลงทุนด้าน Climate Change จึงมีศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาวและเหมาะสมที่จะเริ่มเข้าลงทุน

ตอนที่ 2 : ถึงเวลาแล้วที่เราจะลงทุนด้าน Climate Change

“หากเราทุกคนไม่ร่วมมือกันตอนนี้ โลกจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส 1.5 -2 oC ได้”

ที่ประชุม COP 28 เมื่อเดือน​ธันวาคม 2023 คาดการณ์ว่าหากทั่วโลกยังคงดำเนินการตามสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในปี 2030 ปริมาณ GHG จะลดลงเพียง 2% จากปริมาณ GHG ในปี 2019 (จากเป้าหมายที่ 43%)  และจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส และโลกจะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงและจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ

ทั่วโลกให้คำมั่นสัญญาจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน 3 เท่า ภายในปี 2030
ในที่ประชุม COP 28 ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นจำนวน 3 เท่า และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นจำนวน 2 เท่าภายในปี 2030 รวมถึงลดการพึ่งพาพลังงานจากเชื้อเพลิงถ่านหินที่ไม่มีการใช้เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งทำให้ทุกประเทศทั่วโลกจะต้องมีการลงทุนสนับสนุนด้านพลังงานพลังงหมุนเวียน

สำหรับประเทศไทยมีการตั้งเป้าหมายบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 และการปล่อย GHG สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 ซึ่งจะต้องเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นสัดส่วน 50% ภายในปี 2050 จากปัจจุบันที่ 21.19%  รวมถึงสนับสนุนการผลิตรถยนต์ EV และเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม 

มาตรการของรัฐบาลทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการลงทุนเพื่อลด
การปล่อย GHG

มาตรการในประเทศ
มาตรการยกเว้นภาษีสำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ลด GHG เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCUS) อุตสาหกรรม BCG (Bio-Circular-Green Economy) เป็นต้น
Thailand Taxonomy Phase 1 เพื่อใช้อ้างอิงในการออกตราสารหนี้หรือสินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม
Thailand ESG Fund (TESG) หรือ กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมการลงทุนในหุ้นหรือตราสารหนี้ของบริษัทที่ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืน ซึ่งสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
การจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า Thailand Power Development Plan (PDP 2024) ในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล
ร่าง Climate Chang Act ซึ่งกำหนดให้มีมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการลด GHG เช่น ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ (ETS) ภาษีคาร์บอน และการให้เงินสนับสนุน ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐบาล

มาตรการในต่างประเทศ
• มาตรการ US-IRA ที่ให้เงินสนับสนุนและสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจที่ลด GHG 
• มาตรการ EU-CBAM ที่จะเริ่มมีการเก็บค่าธรรมเนียมในปี 2026 จะกดดันให้ผู้ประกอบการที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปจะต้องมีการลงทุนในเทคโนโลยีลด GHG เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออก รวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่กำลังศึกษาการนำมาตรการ CBAM มาใช้ เช่น สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น เป็นต้น

ดังนั้นการลงทุนด้าน Climate Change จึงมีศักยภาพในการเจริญเติบโตในระยะยาว 
ภาคอุตสาหกรรมที่ลดการปล่อย GHG มีโอกาสเติบโตอย่างมากในระยะยาว เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม รถยนต์ไฟฟ้า เทคโนโลยีการลด GHG เป็นต้น โดยจะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนของภาครัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อย GHG ที่ให้คำมั่นไว้ในการประชุม COP และแผนของประเทศไทยในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ปี 2050 และการปล่อย GHG สุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 อีกทั้งการลงทุนในภาคเอกชนด้านการลด GHG ที่ได้รับแรงกดดันจากมาตรการในประเทศและต่างประเทศ

ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

ข้อมูลอ้างอิง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม 2024

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
จัดพอร์ตลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core-Satellite Portfolio >> Click​
เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ย ...แต่ไม่ชัดว่าเป็นครั้งสุดท้าย >> Click
โลกร้อนหลบไป "โลกเดือด" กำลังเข้ามาแทน!! >> Click​​



Yes
1/31/2024
none