4/10/2024

กนง. มีมติคงดอกเบี้ยต่อ ที่ระดับ 2.50%

กนง.มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงดอกเบี้ยที่ระดับ 2.50% ในการประชุมครั้งที่ 2/2567 (10 เม.ย. 2567)

 ​​​

คณะกรรมการฯ มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี  โดยเป็นการคงดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่สาม สวนทางความต้องการของรัฐบาลที่สนับสนุนให้ลดดอกเบี้ยนโยบายลง ขณะที่กรรมการ 2 ท่าน ที่เห็นควรปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจที่ขยายตัวลดลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างและจะมีส่วนช่วยบรรเทาภาระของลูกหนี้ลงบางส่วน

 

นอกจากนี้ ธปท. มีการปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปี 2567 จากครั้งก่อนเมื่อเดือน พ.ย. ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นขยายตัวร้อยละ 2.6 จากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่ล่าช้า การใช้จ่ายภาครัฐที่ลดลงมาก ด้านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐอย่างมาตรการภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่งประกาศออกมา ธปท. มองไม่ได้กระทบคาดการณ์เศรษฐกิจข้างต้นนัก ขณะที่โครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปีนี้จำกัดเนื่องจากกว่าจะเริ่มใช้ได้ก็ไตรมาสที่ 4 ไปแล้ว  

 

“เศรษฐกิจไทยระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง แต่พอทยอยเติบโตได้จากแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับดีขึ้น การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวต่อเนื่องแม้ชะลอลงจากปีก่อน"

 

ด้านเงินเฟ้อทั่วไป ธปท. คาดจะขยายตัวเฉลี่ยเพียง 0.6% ในปีนี้ โดยมองว่าจะทยอยกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ 1-3% ได้ในช่วงปลายปี

 

มุมมองของตลาดตราสารหนี้ไทยในปี 2567

แม้ว่ากรรมการ กนง. ส่วนใหญ่มองอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน อีกทั้งมองว่านโยบายการเงินมีประสิทธิผลที่จำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง

 

“อย่างไรก็ดี เรายังคาดว่า ธปท. จะลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้ง (0.50%) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 นี้ เพื่อให้เหมาะสมกับบริบทเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันที่ชะลอลง"

 

การเติบโตทางเศรษฐกิจมีทิศทางฟื้นตัวแต่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในระดับต่ำกว่าที่คาดเดิม อย่างไรก็ดีจังหวะการปรับลดดอกเบี้ยยังคงขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยภายนอกเช่น การลดดอกเบี้ยของ Fed ที่มีแนวโน้มชะลอออกไปจากเดิมและอาจลดได้น้อยกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ และปัจจัยภายในเช่น ทิศทางตัวเลขเศรษฐกิจและตัวเลขเงินเฟ้อในการประชุมแต่ละรอบ

 

คำแนะนำการลงทุน

แนะนำลงทุนในทั้งพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชน จากอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับน่าสนใจ วัฎจักรดอกเบี้ยขาขึ้นที่สิ้นสุดลง แม้มีความเสี่ยงในช่วงเวลาในการลดดอกเบี้ยอาจล่าช้าลงไป แต่ภาพรวมยังถือเป็นปัจจัยบวกต่อผลตอบแทนกองทุนตราสารหนี้

 

กองทุนแนะนำ

K-SF (ลงทุนอย่างน้อย 1-3 เดือน)

K-SFPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 3-6 เดือน)

K-PLAN1 (ลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน)

K-FIXEDPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 1-1.5 ปี)

 

กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกัน (ทั้งหมด/บางส่วน/ไม่ได้ป้องกันความเสี่ยง) ตามที่กำหนดในโครงการจัดการหรือหนังสือชี้ชวนของแต่ละกองทุน ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ /  ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

​ 

บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย 

ข้อมูล ณ วันที่ 10 เมษายน 2024

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 

เริ่ม DCA กองทุนแรก ...แบบใหนดี? >>Click

รวม 5 วิธีเริ่มวางแผนการเงิน ฉบับคนรุ่นใหม่ >>Click
วางแผนภาษี มีแค่ PVD พอไม๊ >>Click

ทำไมลงทุนเร็ว ถึงดีกว่าเริ่มลงทุนช้า  >>Click



Yes
4/10/2024
none