การที่เราจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข เราจำเป็นต้องมีรายได้หรือเงินที่เพียงพอ สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงชีวิตนั้นๆ
มนุษย์เงินเดือนหลายคน ก็โชคดีที่บริษัทมี Provident Fund หรือ PVD ซึ่งเป็นกองทุนสำรองเพื่อการเลี้ยงชีพหลังเกษียณอายุ ทำให้มีเงินก้อนหนึ่งสำหรับใช้จ่ายหลังการเกษียณ โดยทั่วไปก็จะเก็บ 3-5% ของเงินเดือน
อนึ่ง โดยทั่วไปเราพบว่าแค่เงิน PVD ก้อนนี้ ไม่น่าจะเพียงพอต่อการดำรงชีวิตหลังเกษียณอีกประมาณ 20 ปี ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องออมเงิน หรือวางแผนการลงทุนเพิ่มอีกส่วนหนึ่งด้วยตัวเอง
• กลุ่มเกษียณชิล ใช้จ่ายเดือนละ 15,000 บาท ต้องมีเงินเก็บตอนเกษียณ 4 ล้านบาท
• กลุ่มเกษียณสุขใจ ใช้จ่ายเดือนละ 30,000 บาท ต้องมีเงินตอนเกษียณ 8 ล้านบาท
• กลุ่มเกษียณสำราญ ใช้จ่ายเดือนละ 50,000 บาท ต้องมีเงินตอนเกษียณ 13.4 ล้านบาท
ส่วนจะต้องออมเงินอีกเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับว่า ต้องการมีเงินใช้จ่ายเดือนละเท่าไหร่ในช่วง 20 ปีหลังเกษียณ ซึ่งลองคำนวณได้จากค่าใช้จ่ายประจำวัน, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าใช้จ่ายเพื่อความสุข, ท่องเที่ยวและช้อปปิ้ง หรือใครที่คิดว่าต้องมีมรดกให้ลูกหลานหรือมีเงินบริจาค ทำบุญ อีกด้วย ก็ยิ่งต้องวางแผนตั้งแต่วันนี้เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับวันข้างหน้า
ดังนั้น ถ้าเราฝันอยากมีเงินใช้สบายๆ หลังเกษียณ ก็ต้องรีบลงมือวางแผนการเงินตั้งแต่วันนี้!!
เงินเดือนสูง เสียภาษีเยอะขึ้น …แต่ก็ขอคืนภาษีได้เยอะขึ้นเช่นกัน
“การวางแผนภาษี” คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีให้ถูกต้อง ครบถ้วน ในฐานะพลเมืองที่ดี และใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปี
ทั้งนี้ ก็เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง ไม่ต้องเสียภาษีมากจนเกินไป รวมถึงไม่ต้องชำระภาษีเพิ่ม หรือเสียเบี้ยปรับโดยใช่เหตุ และยิ่งถ้าเราวางแผนภาษีได้เป็นอย่างดี เงินที่ประหยัดได้นี้ ก็สามารถนำไปต่อยอดให้ออกดอกออกผล สร้างเงินกลับมาให้เราได้อีกต่อหนึ่งด้วย
ก่อนจะขอลดหย่อน เราก็ต้องคำนวณภาษีกันก่อน
เริ่มแรกเรามาคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายในปีนั้นๆ กันก่อน โดยเงินภาษีที่เราต้องจ่ายนั้นจะคิดจาก จำนวนเงินได้สุทธิคูณกับอัตราภาษีของเรา โดยอัตราภาษีนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นขั้นบันไดตามรายได้ของเรา โดยขั้นแรกคือ 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิไม่ถึง 150,000 บาท/ปี และเพิ่มขั้นทีละ 5% ไปจนถึงผู้ที่มีเงินได้สุทธิมากกว่า 5,000,000 บาท/ปี ขึ้นไป ที่จะมีอัตราภาษี 35%
ส่วนเงินได้สุทธินั้นจะคิดจากการนำรายได้ของเราทั้งหมดมารวมกัน แล้วนำมาหักลบกับค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีของเรา
ทางเลือกกองทุน สำหรับคนที่ต้องการออมเงินเพื่อการเกษียณ และได้สิทธิลดหย่อนภาษี มีอะไรบ้าง?
หลักๆ จะมี 2 รูปแบบ คือ กองทุน SSF และกองทุน RMF โดยแต่ละแบบมีเงื่อนไขในการลงทุน ดังนี้
กองทุน SFF :
ต้องซื้อแล้วต้องถือครองอย่างน้อย 10 ปี นับจากวันที่ซื้อ แต่ไม่จำเป็นต้องซื้อทุกปี สามารถซื้อได้สูงสุด 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกินปีละ 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินกลุ่มเกษียณทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยสามารถเลือกลงทุนได้ในหลากหลายสินทรัพย์ เช่น หุ้นไทย หุ้นต่างประเทศ และตราสารหนี้
กองทุน RMF :
ซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษี ลงทุนได้สูงสุด 500,000 บาท แต่เมื่อรวมกับเงินกลุ่มเกษียณทั้งหมดต้องไม่เกิน 500,000 บาท สามารถลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท เมื่อซื้อแล้วจะต้องซื้อติดต่อกันทุกปีไปจนอายุครบ 55 ปี สามารถเว้นวรรคการซื้อได้ไม่เกิน 1 ปี และต้องถือครองไปจนถึงอายุ 55 ปี
หากขายคืน SSF / RMF ก่อนครบอายุจะต้องคืนภาษีที่เคยได้ลดหย่อนไปทั้งหมด และต้องจ่ายเงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ได้รับลดหย่อนตั้งแต่เดือนเม.ย.ของปีที่ได้รับลดหย่อนภาษี
ใครควรซื้อ SSF / RMF และควรซื้อตอนไหน ซื้อเท่าไหร่ดี?
กองทุน SSF / RMF เหมาะกับคนที่ต้องการออมเงินเพื่อการเกษียณและต้องการลดหย่อนภาษี ถ้ามีเงินได้สุทธิเกินปีละ 150,000 บาท เริ่มซื้อกองทุน SSF / RMF ได้
"ถ้าอายุต่ำกว่า 45 ปี แนะนำให้ซื้อ SSF ก่อน หากต้องการวางแผนเกษียณระยะยาว จะซื้อ RMF เพิ่มก็ได้ แต่ถ้าอายุเกิน 45 ปี ควรเลือกซื้อ RMF เพราะใช้เวลาถือครองน้อยกว่า"
ในภาวะที่ตลาดผันผวน การลงทุนเงินก้อนเดียวซื้อครั้งเดียว (Market Timing) เหมาะกับคนที่สามารถวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและเศรษฐกิจได้ดี มีเวลาในการติดตามข่าวสารการลงทุน และมีเงินก้อนและรอคอยเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนได้ การลงทุนแบบนี้มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากกว่า หากสามารถจับจังหวะลงทุนได้ถูกต้อง
การลงทุนสม่ำเสมอแบบ DCA เหมาะสำหรับคนที่มีวินัยในการลงทุน ไม่อยากใช้เงินก้อนลงทุน และไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุน อาจจะมีโอกาสผลตอบแทนน้อยกว่า แต่ก็แลกกับการถัวเฉลี่ยความเสี่ยงในการจับจังหวะลงทุนผิด
บางคนอาจเลือกลงทุนแบบผสม คือ แบ่งเงินก้อนไว้ซื้อครั้งเดียว และทยอยลงทุนแบบ DCA
![]()

กองทุน SSF / RMF ที่น่าสนใจ แบ่งตามความสามารถในการรับความเสี่ยงของผู้ลงทุน
ลงทุนความเสี่ยงต่ำ : เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ หรือคนที่รับความเสี่ยงได้สูง แต่ต้องการที่พักเงินช่วงตลาดผันผวน แนะนำกองทุน K-SF-SSF และ RMF เน้นลงทุนตราสารหนี้ไทยระยะสั้นของภาครัฐและเอกชนที่มีเครดิตดี คนที่รับความเสี่ยงได้สูง แต่ยังไม่มั่นใจกับสถานการณ์ตลาดช่วงนี้ อาจจะลงทุนไว้ก่อนแล้วโยกเงินไปลงทุนกองทุน SSF หรือ RMF ที่มีความเสี่ยงสูงกว่าได้
ลงทุนความเสี่ยงปานกลาง : แนะนำกองทุน K-GINCOME-SSF และ RMF เป็นกองทุนผสม ที่ลงทุนในสินทรัพย์ 3,000 ตัวทั่วโลก ทั้งหุ้น หุ้นปันผลสูง ตราสารหนี้ หุ้นกู้ฯ เพื่อกระจายความเสี่ยง และให้โอกาสผลตอบแทนสูงกว่าลงทุนในตราสารหนี้ แต่มีความเสี่ยงน้อยกว่าลงทุนในกองทุนหุ้น
ลงทุนความเสี่ยงสูง : แนะนำกองทุนหุ้น ซึ่งมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หุ้นไทย แนะนำกองทุน K-STAR SSF และ RMF เน้นลงทุนในหุ้นไทยพื้นฐานดี มีศักยภาพเติบโตในระยะยาว มีการจับจังหวะปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทน ถือเป็นจังหวะเก็บหุ้นไทยที่ราคาดี มีอนาคตเติบโต
หากสนใจลงทุนในต่างประเทศ : แนะนำกองทุน K-VIETNAM-SSF และ RMF ที่เน้นลงทุนตรงในหุ้นเวียดนาม ทั้งนี้ คาดว่าตลาดหุ้นเวียดนามน่าจะฟื้นตัวและกลับมาเติบโตได้ และอาจมาแรงที่สุดในกลุ่มตลาดเอเชีย ด้วยปัจจัยพื้นฐานที่ดี คือ การเป็นฐานการผลิตสำคัญของโลก เศรษฐกิจเติบโตสูงในระยะยาว ประเทศมีสัดส่วนคนวัยทำงานสูงที่สุดในอาเซียน ซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ
กิจกรรม KAsset Live ใจดีแจกฟรี!! K-CASH 200 บาท
กติกาการร่วมกิจกรรม
1.
ลงทะเบียนเพื่อยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรม >>Click<< 2. เปิดบัญชีกองทุนครั้งแรกผ่าน K-My Funds เพื่อรับหน่วยลงทุน K-CASH 200 บาท* (สำหรับ 300 ท่านแรก)
*ให้สิทธิเฉพาะบุคคลธรรมดาที่ยังไม่เคยมีบัญชีกองทุนกสิกรไทยมาก่อน วันที่ 9 พ.ย. 65 เท่านั้น
เงื่อนไขการรับรางวัล
1. รายการส่งเสริมการขายนี้ให้สิทธิเฉพาะบุคคลธรรมดาที่ยังไม่เคยมีบัญชีกองทุนกสิกรไทยมาก่อน ณ วันที่ 9 พ.ย. 65 และเปิดบัญชีกองทุนกสิกรไทยครั้งแรกผ่าน K-My Funds ในระหว่างวันที่ 9-30 พ.ย. 2565 เท่านั้น
2. บริษัทจะพิจารณาให้หน่วยลงทุน K-CASH มูลค่า 200 บาท กับบุคคลที่ปฏิบัติตามกฎกติกาและเงื่อนไขครบถ้วน 300 ท่านแรก โดยพิจารณาจากเวลาที่ลงทะเบียนยืนยันการเข้าร่วมกิจกรรม(Google Form) ทั้งนี้หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะให้สิทธิในลำดับถัดไป
3. บริษัทจะดำเนินการซื้อหน่วยลงทุน K-CASH ภายในเดือนธันวาคม 2565 เข้าบัญชีกองทุนที่เปิดครั้งแรก และจะดำเนินการแจ้งให้ทราบผ่านทางการแจ้งเตือนของ K-My Funds
4. บุคคลที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในรายการส่งเสริมการขายนี้ จะไม่สามารถรับสิทธิประโยชน์ในรายการส่งเสริมการขายอื่นๆ ในช่วงเวลาเดียวกัน และ/หรือ เงินลงทุนเดียวกันได้อีก
5. บริษัทขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง และ/หรือ ยกเลิกเงื่อนไขโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า กรณีมีข้อพิพาท คำตัดสินของบริษัทถือเป็นที่สิ้นสุด
ที่มา จากงานสัมมนา : ได้เวลาวางแผนภาษี “มีแค่กองทุน PVD เพียงพอ…หรือไม่?”
• คุณเกษตร ชัยวันเพ็ญ รองกรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย
• ดร.พีรภัทร ฝอยทอง, CFP
ข้อมูล ณ วันที่ 15 พ.ย. 2565
หมายเหตุ "กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน"