4/6/2025

เกาะติดปัญหาสงครามการค้า และกลยุทธ์การลงทุน เดือนเม.ย. 2025​

สรุปเหตุการณ์สำคัญ ในช่วง 4-5 เม.ย. หลังทรัมป์ประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ 

▪️ สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษี
1. ภาษีนำเข้า 10% ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท
2. ภาษีเพิ่มเติมในบางประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น EU ไทย เวียดนาม อินเดีย และอื่นๆ โดยมีอัตราสูงสุดถึง 64%
▪️ จีนตอบโต้โดยประกาศเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ 34%
▪️ ตลาดการเงินทั่วโลกยังคงปรับลดลงต่อเนื่อง
  • S&P 500 -6%
  • Nasdaq -5.8%
  • SET Index -2.5%
▪️ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมัน ทองแดง) ลดลง ขณะที่ทองคำและเงินเยนแข็งค่าในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย
▪️ บอนด์ยิลด์พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 3.9% 
▪️ มีพัฒนาการเชิงบวกเล็กน้อย ในช่วงวันศุกร์ถึงวันเสาร์ที่ผ่านมา (4- 5 เม.ย.) มีข่าวออกมาว่า อิสราเอล อินเดีย ยุโรป ญี่ปุ่น เวียดนาม และกัมพูชา ประกาศลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ให้เหลือศูนย์ ถ้าทรัมป์สัญญาว่าจะทำเหมือนกัน โดยเวียดนามประกาศว่าจะลดภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ (หากสหรัฐฯ ยอมลดด้วย) หลังจากข่าวนี้ออกมา บริษัทที่เกี่ยวกับการผลิตในเวียดนาม เช่น Nike ที่มีพนักงานกว่า 5 แสนคนในเวียดนาม และ  Lululemon ปรับตัวขึ้นทันที 

ผลกระทบต่อตลาดการเงิน
▪️ ตลาดหุ้น : หุ้นทั่วโลกร่วงแรง โดยกลุ่มส่งออกและกลุ่ม cyclical ที่ปรับตัวตามวัฏจักรของเศรษฐกิจโลกโดนเทขาย ขณะที่หุ้นที่พึ่งพาตลาดภายในประเทศปรับตัวลงน้อยกว่า ส่วน Sector ปลอดภัย อย่างเช่น Healthcare, Utilities ปรับตัวลงเช่นเดียวกันแต่ปรับตัวลงน้อยกว่ากลุ่มการเงิน ที่ถือเป็นกลุ่มวัฏจักร

▪️ ตราสารหนี้ : นักลงทุนเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล ทำให้บอนด์ยิลด์ของสหรัฐฯ 10 ปี ปรับตัวลงต่ำกว่า 4% แล้ว
▪️ ​ค่าเงิน : ความผันผวนของค่าเงินเพิ่มขึ้น โดยเงินเอเชียส่วนใหญ่อ่อนค่า เงินบาทอ่อนเล็กน้อย ขณะที่เงินเยนแข็งค่า 
▪️ สินค้าโภคภัณฑ์ : เช่นน้ำมัน ปรับตัวลงอย่างมาก จนทำให้ Brent Oil อยู่ที่ 65 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำใกล้เคียงตอนปี 2020-2021 โดยมีแรงกดดันจากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ฉุดราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลง

มุมมองการลงทุน ทั้งในระยะสั้นและยาว

ระยะสั้น (3–6 เดือน)
▪️ตลาดยังคงมีความผันผวนสูง ขึ้นอยู่กับนโยบายและมาตรการตอบโต้ โดยที่ตลาดบางส่วนมองถึง scenarios ของเศรษฐกิจถดถอย
▪️การเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกถูกปรับลดคาดการณ์ รวมทั้งกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั่วโลก
▪️นักลงทุนหันเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย และคุณภาพสูง เช่น ตราสารหนี้ มากขึ้น

ระยะกลางถึงยาว (6–12 เดือน)
▪️ กรณีฐาน (Base Case) : ผลกระทบบางส่วนถูกลดทอนด้วยการเจรจา และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น ยุโรป และจีน หรือการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทาน เช่น จีนที่ลดการส่งออกไปสหรัฐฯแล้วตั้งแต่ปี 2018 

KAsset มองว่าการปรับตัวลงของตลาดจะค่อยๆ เปิดโอกาสให้สามารถเข้าลงทุนในบริษัทที่มีคุณภาพ มองไปข้างหน้า ตลาดหุ้นจะเริ่มฟื้นตัวเฉพาะกลุ่ม หุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน หุ้นที่ปลอดภัย และกองทุนที่เน้นการเลือกลงทุนเป็นรายบริษัท แบบ bottom-up เช่น กองทุน K-GSELECT จะมีโอกาสเลือกหุ้นคุณภาพดี ในระดับราคาไม่แพงได้

▪️ กรณีแย่ (Bear Case) : สงครามการค้ายืดเยื้อ ไม่มีประเทศใดๆ ยอมเจรจา แต่เลือกที่จะตอบโต้ขึ้นภาษีนำเข้ากับสหรัฐฯ จนนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและวิกฤตสภาพคล่อง 

▪️ กรณีดี (Bull Case) : เจรจาลดภาษีสำเร็จ ส่งผลให้ตลาดรีบาวด์อย่างแรง คล้ายคลึงกับปี 2019

▪️ ท่าทีของประเทศหลัก : จีน เดินหน้าตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษีนำเข้าในระดับ 34% เท่ากับสหรัฐฯ ขณะที่ยุโรป ญี่ปุ่น อินเดีย ไทย เวียดนาม และเกาหลีใต้ เลือกใช้แนวทางเจรจาและเตรียมมาตรการในประเทศเพื่อลดผลกระทบ

คำแนะนำการลงทุนสำหรับช่วงนี้

ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ "เพื่อเป้าหมายรักษาเงินต้น เสี่ยงต่ำ รายได้มั่นคง สามารถลงทุนในตราสารหนี้ได้ทันที" 
K-SFPLUS
▪️ กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น ที่ลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูง
▪️ ปัจจัยสนับสนุน: ราคาคงที่ เหมาะในช่วงตลาดผันผวน 

K-FIXEDPLUS
▪️ กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว เพื่อกระจายความเสี่ยงของพอร์ต
▪️ ปัจจัยสนับสนุน: มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีกว่ากองทุนระยะสั้นในระดับความเสี่ยงปานกลาง

คำแนะนำสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ
▪️ เน้นตราสารหนี้อายุสั้นถึงกลาง
▪️ หลีกเลี่ยงความผันผวนจากหุ้น
▪️ ปรับพอร์ตเป็นระยะ ตามระดับความเสี่ยง

ผู้ลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง "เพื่อเป้าหมายเติบโตระยะยาว รับความเสี่ยงระยะสั้นได้"
K-WealthPLUS Series
▪️ กองทุนผสม กระจายการลงทุนทั่วโลก ร่วมบริหารโดย JPMAM
▪️ ปัจจัยสนับสนุน: เหมาะเป็น Core Portfolio ในช่วงตลาดผันผวน

คำแนะนำการลงทุนสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
▪️ ลงทุนเฉพาะในซีรีส์ K-WealthPLUS เป็น Core Portfolio
▪️ หลีกเลี่ยงกองทุนหุ้นรายประเทศที่มีความผันผวนสูงในช่วงที่การเจรจาเรื่องภาษียังไม่ชัดเจน
▪️ ใช้กลยุทธ์ ทยอยลงทุน (DCA) ช่วง 3–6 เดือนข้างหน้า
▪️ ติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิด และพร้อมปรับพอร์ตตามความเหมาะสม​


ที่มา: KAsset Investment Strategy บลจ.กสิกรไทย 

ข้อมูล ณ วันที่ 6 เมษายน 2025​

ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน​

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
นโยบายภาษีทรัมป์ ส่งผลตลาดหุ้นผันผวนทั่วโลก​​ >>Click
สรุปผลกระทบจาก Reciprocal Tariffs >>Click​
วิเคราะห์ตลาดหุ้นไทย หลังแผ่นดินไหว >>Click
จุดเปลี่ยนตลาดหุ้นโลก ลงทุนอย่างไร? >>Click
หุ้นสหรัฐฯร่วงยกแผง เกิดอะไรขึ้น? >>Click

Yes
4/6/2025
0
situation