4/8/2025

นโยบายภาษีสหรัฐฯ สร้างความปั่นป่วนให้ตลาดต่อเนื่อง ​

เกาะติดสงครามการค้า ตลาดหุ้นโลกยังผันผวนหนัก 

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2025 ประธานาธิบดีทรัมป์ ได้ยกระดับความตึงเครียดทางการค้ากับจีน โดยขู่ว่าจะเพิ่มภาษีศุลกากรอีก 50% หากจีนไม่ยกเลิกการขึ้นภาษี 34% ที่เพิ่งประกาศใช้กับสินค้าสหรัฐฯ ภายในวันที่ 8 เมษายน ซึ่งจะทำให้อัตราภาษีรวมของสหรัฐฯ ต่อสินค้าจีนสูงถึง 104%  


"ทรัมป์ยังระบุว่า หากจีนไม่ปฏิบัติตาม สหรัฐฯจะยุติการเจรจาการค้าทั้งหมดกับจีน และจะเริ่มการเจรจากับประเทศอื่นแทน" 

การประกาศดังกล่าวส่งผลให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ในช่วงคืนของวันที่ 7 เม.ย. (ตามเวลาประเทศไทย) ผันผวนอย่างมาก ดัชนี VIX ซึ่งเป็นดัชนีวัดค่าความผันผวนปรับตัวขึ้นสูงถึง 60 และค่อยๆ ลดลงมาในท้ายวัน (VIX ปรับตัวลง แปลว่า ความผันผวนลดลง) จนทำให้ตลาดหุ้น S&P 500 สามารถปิดสิ้นวันเหลือลบเพียง -0.23% จาก -3% ในตอนเปิดตลาด ส่วนดัชนีประเทศอื่นๆ ที่สำคัญๆ ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นักลงทุนกังวลว่าความขัดแย้งทางการค้าที่รุนแรงขึ้นอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก  

 

ผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนอย่างมากระหว่างวัน และปิดตลาด 7 เม.ย.

▪️ ดัชนี S&P 500 - 0.2% และ -13.9% ตั้งแต่ต้นปี 

▪️ ดัชนี Dow Jones -0.9% และ -10.8% ตั้งแต่ต้นปี 

▪️ ดัชนี Nasdaq เพิ่มขึ้นเล็กน้อย +0.1% แต่ -19.2% ตั้งแต่ต้นปี  โดยการปรับตัวลงของ Nasdaq ถือเป็นหนึ่งใน Top 10 ของการร่วงหนักในรอบ 3 วัน เทียบเคียงกับเหตุการณ์ “Black Monday" ปี 1987 และวิกฤตเศรษฐกิจปี 1929 

 

ผลกระทบต่อหุ้นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี Mag7 เริ่มรับแรงกดดันหนัก

▪️ ตั้งแต่ต้นปี 2025 กลุ่ม Mag7 (Big Tech 7 อันดับแรก) ร่วงลง -23.3% ขณะที่กลุ่ม S&P 493 (กลุ่มอื่น ๆ ในดัชนี S&P 500) ร่วงลง -8.6% 

▪️ แม้จะร่วงแรง แต่ Mag7 ยังมีบทบาทสำคัญในโครงสร้างของตลาด กำไรของบริษัท Mag 7 คิดเป็น 25% ของกำไรทั้งหมดในปี 2025 และ คิดเป็น 38% ของการเติบโตของกำไรสุทธิทั้งหมด 

▪️ ทั้งนี้ 9 จาก 11 กลุ่มธุรกิจใน S&P 500 ยังคาดว่าจะมีกำไรเติบโตในปีนี้ ซึ่งอาจไม่ยั่งยืน ภายใต้ความไม่แน่นอนทางนโยบายเช่นนี้ 

 

ผลกระทบต่อตลาดหุ้นยุโรป

▪️ ดัชนี STOXX 600 -4.5% ในการซื้อขายช่วงเช้าของวันจันทร์ที่ 7 เม.ย. 

▪️ ดัชนี DAX ของเยอรมนี -4.1% เข้าสู่ภาวะตลาดหมี (bear market) โดยลดลงมากกว่า 20% จากจุดสูงสุด 

 

มุมมองการลงทุนจาก J.P Morgan Asset Management

สถานการณ์ปัจจุบันมีความไม่แน่นอนสูง และผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นแบบ “Binary Outcome คือสามารถออกได้ทั้งหัวหรือก้อย"  

แต่ความท้าทายคือ ผลลัพธ์ของตลาดจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว ซึ่งก็คือ ปธน. ทรัมป์ ที่สามารถ “เปลี่ยนเกม" ได้ทันทีผ่านนโยบายภาษีนำเข้า ที่ไม่ว่าจะผ่อนคลายหรือกดดันเพิ่มเติม  

จุดเฝ้าระวังสำคัญ

▪️ 9 เมษายน: อาจจะเป็นวันที่มีการตัดสินใจที่สำคัญจากรัฐบาลสหรัฐฯ 

▪️ จับตาการฟ้องร้องต่อคำสั่งฝ่ายบริหารในศาล, คะแนนนิยมของประธานาธิบดีที่อาจปรับลดลง, หรือแรงกดดันจากพรรครีพับลิกัน (GOP) อาจเป็น ตัวเร่งให้ ปธน. ทรัมป์ ปรับเปลี่ยนนโยบาย  

จนกว่าจะถึงตอนนั้น

▪️ Risk premium (ส่วนเพิ่มของความเสี่ยง) ยังคงอยู่ในระดับสูง 

▪️ ตลาดยังเปราะบาง ทั้งในแง่ของ Valuation (มูลค่าที่ประเมินไว้) และ Sentiment (ความเชื่อมั่นของนักลงทุน) ที่อาจจะยังคงไม่เชื่อมั่นต่อนโยบายที่ยังไม่แน่นอน 

 

อย่างไรก็ตาม J.P Morgan Asset Management มองว่า เรื่องภาษีนำเข้านี้ ไม่ใช่แค่เรื่องของสหรัฐฯ แต่จะกลายเป็นความเสี่ยงลุกลามทั่วโลก  เนื่องจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯครั้งนี้ ส่งผลถึงห่วงโซ่อุปทานระดับโลก และบริษัทข้ามชาติใน ยุโรป เอเชีย เม็กซิโก ก็ถูกเกี่ยวพันกับมาตรการนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นคือ “การตอบโต้" หรือ Retaliation risk เพิ่มขึ้น เช่น การขึ้นภาษีตอบโต้ การแบนสินค้า หรืออุปสรรคเชิงกฎระเบียบ 


"KAsset มองว่ามีสัญญาณเชิงบวกจากการแถลงข่าวระหว่าง ปธน. ทรัมป์ และนายกรัฐมนตรีอิสราเอล เบนจามิน เนทันยาฮู เมื่อคืนที่ผ่านมา โดย ปธน. โดนัลด์ ทรัมป์ ได้กล่าวว่ากำลังจะมีการเจรจาร่วมกับหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น เพื่อลดการขาดดุลการค้า ทำให้เช้านี้ ตลาดหุ้น Nikkei 225 ปรับตัวขึ้นตอนเปิดตลาดประมาณ 5-6%" 

 

คำแนะนำการลงทุน

ในช่วง 1-3 เดือนต่อจากนี้ ความผันผวนจะยังอยู่ในระดับที่สูง ควรเน้นถือสินทรัพย์ปลอดภัย เช่นกองทุนตราสารหนี้ หรือกองทุนตลาดเงินระยะสั้นๆ 

▪️ K-SFPLUS สำหรับพักเงินระยะสั้น 3-6 เดือน

▪️ K-FIXEDPLUS สำหรับลงทุน 1-1.5 ปี ขึ้นไป

 

สำหรับเป็น Core Portfolio 

แนะนำกองทุนผสม หรือ Multi-Asset เพื่อสร้างผลตอบแทนระยะยาว

▪️ ​K-WPBALANCED K-WPSPEEDUP และ K-WPULTIMATE ที่มีการกระจายการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก

สำหรับ Satellite แนะนำลดน้ำหนักกองทุนในส่วนที่เป็นหุ้นในส่วนของ Satellite ที่ลงทุนในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาษีนำเข้าตรงๆ เช่น เวียดนาม และ จีน


ที่มา: KAsset Investment Strategy บลจ.กสิกรไทย 

ข้อมูล ณ วันที่ 8 เมษายน 2025​

คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน​


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
สรุปผลกระทบจาก Reciprocal Tariffs​ >>Click​
วิเคราะห์ตลาดหุ้นไทย หลังแผ่นดินไหว >>Click
จุดเปลี่ยนตลาดหุ้นโลก ลงทุนอย่างไร? >>Click
หุ้นสหรัฐฯร่วงยกแผง เกิดอะไรขึ้น? >>Click

Yes
4/8/2025
0
situation