8/5/2024

ตลาดหุ้นเอเชียเปิดตลาดร่วงแรง ตามตลาดญี่ปุ่น

หุ้นเอเชียร่วงแรง ตลาดกำลัง Risk-off อย่าเพิ่งตกใจ

ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ปรับตัวลงมาจากจุดสูงสุดในช่วงเดือนก.ค.เกือบ -20% หลังจากที่เป็นหนึ่งในตลาดที่ปรับตัวขึ้นมาเยอะในปีนี้ โดย ณ 11.00น. (5 ส.ค. 2567) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ปรับตัวลงประมาณ 7-8% ขณะที่ฝั่งไทยและเวียดนาม ปรับตัวลงน้อยกว่า ติดลบประมาณ 1.5-2% เนื่องจากมี downside จำกัด

 

ปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นญี่ปุ่น มาจาก

1. เงินเยนแข็งค่าสุดในรอบ 7 เดือน มาแตะที่ 145 เยนต่อดอลลาร์ เนื่องจากนักลงทุนหันเข้าหาสินทรัพย์ปลอดภัย (Risk-off) โดยการแข็งค่าของเงินเยน ส่วนหนึ่งมาจากการที่ตลาดประเมินว่า มีโอกาสสูงขึ้นที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) จะปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งถัดไปในเดือนต.ค.นี้ โดยที่การแข็งค่าของเงินเยนได้กดดันหุ้นกลุ่มส่งออก

2. การเพิ่มขึ้นของ Yield พันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งกดดันหุ้นกลุ่มอสังหาฯ

3. แรงขายทำกำไรในหุ้นกลุ่มการเงิน นำโดยกลุ่มธนาคาร

4. แรงขายหุ้นเทคฯ นำโดยกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ ตามที่ได้รับ sentiment ในเชิงลบ จากการปรับฐานของกลุ่มเทคฯสหรัฐฯ และจากความกังวลความเสี่ยงการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังจากตัวเลขตลาดแรงงานและภาคการผลิตของสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแออย่างมาก

5. การที่รัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น กล่าวว่า ความผันผวนฉับพลันของค่าเงินเยนจะเพิ่มความไม่แน่นอนในกิจกรรมภาคธุรกิจ และมีผลกระทบทางลบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน

 

ความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐฯถดถอย

นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากตัวเลขภาคแรงงานสหรัฐฯที่เพิ่งประกาศออกมาเมื่อวันศุกร์ (2 ส.ค. 2567) ที่สร้างความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้ง

 

1. ตัวเลขการจ้างานนอกภาคเกษตรเดือนก.ค. มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเพียง 114,000 ตำแหน่ง น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 177,000 ตำแหน่ง และชะลอตัวจากระดับ 179,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.

2. อัตราการว่างงานปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.3% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2564 จากเดือนมิ.ย.ที่ 4.1%

3. ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน (Job Openings) ที่ประกาศตั้งแต่ปลายเดือนก.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 8.18 ล้านตำแหน่งในเดือนมิ.ย. และเป็นการปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง

 

โดยทั้ง 3 ตัวเลขนี้ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากเป็นภาวะที่จะเกิดเมื่อคนไม่มีงานทำ บริษัทปลดคน หรือหยุดการจ้างงาน จนส่งผลกระทบต่อรายได้ เงินออมเหลือน้อย และจะค่อยๆส่งผลกระทบเป็นระลอกๆเข้ามาที่เศรษฐกิจ

 

คำแนะนำการลงทุน

ในระยะสั้น ตลาดกำลังอยู่ในช่วง Risk-off และอาจเห็นการปรับตัวลงได้อีก นักลงทุนระยะยาวไม่ควรตกใจจนเกินไป และยังสามารถ Stay Invested ได้ เนื่องจากหาก Fed ลดดอกเบี้ย (ตลาดคาดจะเริ่มลดในเดือนก.ย.นี้) ตลาดหุ้นและตราสารหนี้จะสามารถปรับตัวขึ้นได้หากไม่มีเศรษฐกิจถดถอยที่รุนแรง

 

ความผันผวนในช่วงนี้ ยิ่งตอกย้ำความสำคัญของการจัดพอร์ตแบบ Core-Satellite โดยกระจายความเสี่ยงด้วยการแบ่งพอร์ตออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

 

Core Port คิดเป็นประมาณ 80% ของพอร์ต

เน้นไปที่การลงทุนระยะยาวในหลากหลายสินทรัพย์ ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก แนะนำ กลุ่มกองทุน K-WealthPlus Series

 

Satellite Port คิดเป็นประมาณ 20% ของพอร์ต

แนะนำ “รอความผันผวนเริ่มน้อยลงก่อนค่อยเข้าลงทุนเพิ่ม" และ Valuation ปรับลงมาเป็นโอกาสทยอยเข้าสะสม แนะนำ K-GLOBE, K-VIETNAM, K-INDIA และ K-FIXEDPLUS

 

คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com กองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

 

ที่มา: KAsset Investment Strategy

ข้อมูล ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2567

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Fed คงดอกเบี้ย!! ลุ้นประชุมครั้งหน้า >>Click

IMF เพิ่มคาดการณ์ 'เศรษฐกิจโลก' ปี 2568 >>Click

จับตานโยบายการคลังสหรัฐฯ >>Click

เส้นทางสู่การเป็น ปธน.สหรัฐฯ คนที่ 47 >>Click

จัดพอร์ต Core-Satellite ไม่ใช่เรื่องยาก >>Click



Yes
8/5/2024
none