12/13/2023

โลกร้อนหลบไป เพราะ "โลกเดือด" กำลังเข้ามาแทน!!​​

HIGHLIGHTS :​
• ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก
• จึงเกิดข้อตกลง Paris Agreement เพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในศตวรรษนี้ให้ต่ำกว่า1.5-2°C เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม และพยายามเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions ภายในปี 2050   
• หลายประเทศจึงเริ่มใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
• ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 30% ภายในปี 2030 (40% แบบมีเงื่อนไข)ทำให้ภาคธุรกิจต้องปรับเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว
• KAsset แนะนำกองทุน K-TNZ-ThaiESG ที่มีการบริหารพอร์ตลงทุนโดยให้น้ำหนักการลงทุนในธุรกิจที่มีแผนการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน เพื่อสนับสนุนให้ไทยบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ภายในปี 2050 และ Net Zero GHG ภายในปี 2065 หรือเร็วกว่า

​ตอนที่ 1 : รู้จักกับยุคโลกเดือด ที่ทำให้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเข้มข้นขึ้นทั่วโลก
เมื่อกรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้ประกาศว่า “พวกเราอยู่ในยุคภาวะโลกเดือดแล้ว (Global Boiling)” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยมีสาเหตมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas: GHG) 

การเพิ่มขึ้นของอุณภูมิโลกเพียง 1 องศา จะส่งผลให้เกิดสภาพภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงขึ้น ฝนตกรุนแรง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลหนุนสูง การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรจะเปลี่ยนไป และนำมาสู่ภัยพิบัติในอนาคตที่อาจรุนแรงกว่าเดิม โดยในปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของ GHG ทำให้อุณภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้นแล้ว 1.2 °C​​

ในการประชุมสภาพภูมิอากาศในระดับนานาชาติหรือที่เรียกว่า COP (United Nations Climate Change Conference) ครั้งที่ 21 เมื่อปี 2015 ได้บรรลุข้อตกลงที่เรียกว่า Paris Agreement 

เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 – 2.0 °C ซึ่งทั่วโลกจะต้องควบคุมการปล่อย GHG ให้ลดลง 43% ภายในปี ค.ศ. 2030 และต้องมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ภายในปี ค.ศ. 2050 โดยแต่ละประเทศจะจัดทำเป้าหมายการลดการปล่อย GHG ที่แต่ละประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDCs) เพื่อลด GHG ตามศักยภาพของตนเอง

หลายประเทศจึงเริ่มใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นำโดยสหภาพยุโรป (EU) ได้จัดทำแผน European Green Deal 

ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 55 ภายในปี ค.ศ. 2030 ซึ่งประกอบด้วย ตลาดซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (EU-ETS) มาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) การเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน การลงทุนในเทคโนโลยีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) โดยผู้ส่งออกไปยัง EU จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมหากสินค้ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าใน EU ส่งผลให้ผู้ประกอบการจะต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ อีกทั้งประเทศสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น กำลังอยู่ระหว่างศึกษาเพื่อนำมาตรการ CBAM มาใช่เดียวกัน

ประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% จากการดำเนินการปกติ (Business as usual) ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) 

และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2065 (พ.ศ. 2608) อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริมภาคธุรกิจให้ปรับตัว เช่น มาตรการยกเว้นภาษี มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ มาตรการสนับสนุนการใช้รถยนต์ EV เป็นต้น อีกทั้งรัฐบาลอยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้ภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการรายงานปริมาณการปล่อย GHG และในอนาคตอาจมีมาตรการภาษีคาร์บอนหรือตลาดซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ETS) ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ปล่อย GHG สูงมีต้นทุนในการดำเนินกิจการสูงกว่าธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ทั้งหมดนี้ เพื่อชี้ว่ามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยจะทวีความเข้มงวดมากขึ้นในอนาคต 

ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานของธุรกิจที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการปล่อย GHG สูงขึ้น อาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินธุรกิจให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว และจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในอนาคต

คำแนะนำการลงทุน
สำหรับตลาดทุนไทย เม็ดเงินจากกองทุน Thai ESG ที่ภาครัฐสนับสนุน จะเข้าสู่ตลาดประมาณ 10,000 ล้านบาท ถือเป็นข่าวดีสำหรับตลาดหุ้นไทย โดยกองทุนดังกล่าวจะมาช่วยขับเคลื่อนการลงทุนในหุ้นกลุ่ม ESG 


ทั้งนี้ บลจ.กสิกรไทย ก็ได้เสนอกองทุนหุ้นไทยกลุ่ม ESG ที่รับผลตอบแทนใกล้เคียงดัชนี SET100 ผ่านกองทุน K-TNZ-ThaiESG 

เป็นกองทุนแรกของไทยที่กลยุทธ์การลงทุนมีเป้าหมายช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ภาคธุรกิจและประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ได้เร็วขึ้น พร้อมจับมือพันธมิตรที่ปรึกษาการลงทุนและใช้โมเดลคัดสรรหุ้นจาก Lombard Odier เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารพอร์ตลงทุน เสนอขายครั้งแรก 8-21 ธ.ค. นี้ ​ 

ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

ข้อมูลอ้างอิง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2023​

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
จัดพอร์ตลงทุนด้วยกลยุทธ์ Core-Satellite Portfolio​​ >>Click​
เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ย ...แต่ไม่ชัดว่าเป็นครั้งสุดท้าย​ >>Click
สรุปสัญญาณ จากประชุม Politburo ของจีน​​ >>Click​
GDP จีนไตรมาสแรกขยายตัว 4.5% สูงกว่าคาด >>Click​​

promotion tax 2023.png


Yes
12/13/2023
0