
ทุกวันนี้เราต่างเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีความรุนแรงแตกต่างกันไป ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย
ไม่เพียงเท่านั้น จากรายงานล่าสุดของ WaterAid ระบุว่า ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกได้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Climate Whiplash” หรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง สลับกันระหว่างภัยแล้งและน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งส่งผลกระทบทั้งต่อการใช้ชีวิต และการดำเนินธุรกิจของกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย
เช่น โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในภาคตะวันออกของไทย ที่ต้องหยุดผลิตชั่วคราว เนื่องจากเกิดภัยแล้งรุนแรง ทำให้ขาดแคลนน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิต อีกทั้งเมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น โรงงานกลับต้องเผชิญกับฝนตกหนัก และเกิดน้ำท่วมฉับพลันตามมา จึงทำให้คลังสินค้าเสียหาย และเกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปรากฏการณ์นี้
และเมื่อลองมองย้อนกลับไปที่ต้นเหตุ ก็จะพบว่าเกิดจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ทั้งเรื่องการคมนาคม การตัดไม้ทำลายป่า การผลิตพลังงานไฟฟ้า และการขยายตัวของเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก จึงเกิดการกักเก็บความร้อน และส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น
ทั่วโลกร่วมมือกันแก้ปัญหา ผ่านความตกลงปารีส
หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 0.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมหาศาล ดังนั้นหลายประเทศทั่วโลกจึงตระหนักถึงความสำคัญ พร้อมเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงปารีส
โดยมีเป้าหมายหลักคือ การควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และพยายามจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรม
สำหรับประเทศไทย
ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศ ที่ได้แสดงเจตนารมณ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยประกาศเป้าหมายมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2065 อีกด้วย
ความคืบหน้าในการประชุมโลกร้อน COP29
การประชุมที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 29 หรือ COP29 ครั้งล่าสุด มีรัฐบาลกว่า 200 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม โดยมีความคืบหน้าในประเด็นต่าง ๆ เช่น
เป้าหมายใหม่ทางการเงิน
ประเทศที่กำลังพัฒนาจะต้องใช้ทรัพยากรตนเอง เพิ่มขึ้น 5 แสนถึง 1 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งน้อยกว่างบประมาณที่ได้รับต่อปี จึงเกิดการหารือกับสถาบันการเงิน และระดมทุนจากภาคเอกชนเพิ่มเติม
แผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก
ปัจจุบันมีกำหนดการปรับแผนในทุก ๆ 5 ปี โดยการประชุมครั้งนี้ ประเทศต่าง ๆ ได้นำเสนอแผนดังกล่าวด้วย และหลายฝ่ายยังเสนอให้เพิ่มเป้าหมายเฉพาะส่วน อย่างเรื่องการเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงาน และอาหารที่ไม่มีการปล่อยมลพิษสู่โลก เพื่อให้แผนปฏิบัติมีความชัดเจนมากขึ้น
ประเทศไทยกับประเด็น Net Zero
ก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) อย่างชัดเจนไปแล้ว และล่าสุดได้เร่งผลักดัน พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฉบับแรกของประเทศไทยควบคู่กันไป เพื่อสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งคาดว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2027 โดยมีเนื้อหาสำคัญ คือ
• การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด การกำหนดมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาระบบขนส่ง
• การปรับตัวในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการจัดเตรียมแผนรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
• การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐบาล เอกชน และประชาชน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืนมากขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ภาคธุรกิจของประเทศไทยก็ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้น โดยเห็นได้จากธุรกิจต่าง ๆ เช่น ธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก ได้เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมตั้งเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050
ผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับ 'ประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคม'
และจากผลสำรวจของ Bain & Company พบว่าผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิกให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยจะเน้นสนับสนุนสินค้าที่ใส่ใจเรื่องความยั่งยืนมากกว่า รวมถึงนักลงทุนทั่วโลกกว่า 78% ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น และยังเชื่อว่า ESG จะกลายเป็นแนวทางมาตรฐานในอีก 5 ปีข้างหน้าอีกด้วย
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และในฐานะนักลงทุน คุณก็สามารถมีส่วนร่วมในการสนับสนุนได้ ผ่านการลงทุนในกองทุน Thai ESG และ Thai ESGX ที่เน้นลงทุนธุรกิจไทยที่ใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล พร้อมกับรับสิทธิในการลดหย่อนภาษีร่วมด้วย
ใครที่สนใจ KAsset ขอแนะนำกองทุน Thai ESG และ Thai ESGX ที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้พอร์ตการลงทุนของทุกคนสามารถเติบโตไปพร้อมกับเทรนด์ความยั่งยืนในอนาคต
กองทุน Thai ESG ลดหย่อนภาษีสูงสุด 3 แสนบาท
เน้นลงทุนตราสารที่ออกโดยภาครัฐ มีความเสี่ยงด้านเครดิตต่ำ และบริหารโดยทีมที่มีประสบการณ์สูง ได้รับรางวัลมากมายทั้งในและต่างประเทศ
กองทุนผสมที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 70% และหุ้นอีก 30% ของบริษัทที่คำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
ลงทุนในหุ้นไทยในบริษัทที่มีเป้าหมาย และแผนการดำเนินงาน เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ชัดเจนในอนาคต
พิเศษ กองทุนลดหย่อนภาษี รูปแบบใหม่ !!
Thai ESGX ลดภาษีวงเงิน +เพิ่มสูงสุด 3 แสนบาท สำหรับปีภาษี 2568 โดยเปิดเสนอขาย IPO ระหว่างวันที่ 2-8พ.ค.2568 นี้
• K-HDThaiESGX*
ลงทุนในหุ้น 100% โดยเลือกหุ้นที่โดดเด่นด้านความยั่งยืน และมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอในระดับที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด หรือมีแนวโน้มจ่ายปันผลที่ดี
• K-70ThaiESGX*
ลงทุนในหุ้นสัดส่วน 70% ที่มีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนและมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอ และอีก 30 %ลงทุนในตราสารหนี้ โดยเลือกตราสารหนี้ Green Bond หรือ Sustainability Bond หรือ Sustainability – Linked Bond
หมายเหตุ *กองทุนอยู่ระหว่างการพิจารณาคำขอจาก SEC / กองทุนนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
ที่มา: บลจ.กสิกรไทย
ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2568
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนแผน NDC ในอาเซียน >>Click
Net Zero คืออะไร ทำไมต้องให้ความสำคัญ? >>Click
ร่าง พ.ร.บ. อากาศฯ แก้ไขวิกฤต PM2.5 >>Click
กฎหมายเปลี่ยนแปลงฯอากาศ ไทยพร้อมรึยัง? >>Click
วิกฤตสภาพอากาศ แผนพลังงานชาติต้องปรับ? >>Click