7/15/2024

จุดวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ความจำเป็นที่แผนพลังงานชาติ ต้องรีบปรับตัว!!

อุณหภูมิเฉลี่ยโลก ยังคงทำสถิติสูงสุดใหม่ อย่างต่อเนื่อง

ทุกคนคงจดจำเหตุการณ์เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2566 ซึ่งได้ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ที่ได้มีการบันทึกมา และมีความเป็นไปได้สูงที่สถิติจะมีถูกทำลายได้ในอนาคตอันใกล้ เลขาธิการองค์การสหประชาชาติจึงได้ออกประกาศในเดือนกรกฎาคมปี 2566 ว่าเราได้เข้าสู่ภาวะโลกเดือดแล้ว (Global Boiling) ซึ่งโลกกำลังร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วต่างจากยุคของภาวะโลกร้อน (Global Warming)

 

โดยตัวการหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกและทำให้โลกของเราต้องพบเจอกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงมากขึ้น จนกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน

 

จากข้อมูลของหน่วยบริการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Climate Change Service) ที่ได้ติดตามอุณหภูมิเฉลี่ยเหนือพื้นโลก ดังรูปภาพที่ 1 จะเห็นว่าเดือนกรกฎาคม 2566 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลมา ขณะที่ข้อมูลล่าสุดของปี 2567 พบว่าช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเป็นช่วงที่โลกอุณหภูมิเฉลี่ยทำสถิติสูงสุดเช่นกันเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกัน

 ​

“สะท้อนให้เห็นว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ยังคงสูงขึ้นและทำสถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง"


รูปภาพที่ 1 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก

 ​earth-average-temperature.png

ที่มา: เว็บไซต์ our world in data

 

สภาพอากาศ ยังคงร้อนรุนแรงและต่อเนื่อง

ตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรับรู้ได้ทั่วโลก ปีนี้ฤดูหนาวที่รัฐแคชเมียร์ประเทศอินเดียมีอุณหภูมิสูงขึ้นราว 6-8 °C ทำให้ต้องเผชิญฤดูหนาวที่ไม่มีหิมะซึ่งกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวในเขตกุลมาร์ค มีนักท่องเที่ยวยกเลิกการจองโรงแรมเพื่อมาเล่นสกีกว่า 40%

 

ต่อมาในเดือนเมษายน ได้มีพายุรุนแรงถล่มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และหลายพื้นที่ใกล้เคียงส่งผลให้การจราจรในสนามบินดูไบซึ่งหนาแน่นต้องติดขัดและผู้โดยสารต้องหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10-30 ชั่วโมงไปจนถึงยกเลิกเที่ยวบิน โดยในเดือนมิถุนายน สวิตเซอร์แลนด์ตอนใต้ และประเทศเนปาลก็ประสบกับน้ำท่วมเกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน

 

“ขณะที่ประเทศไทยเองในเดือนเมษายนที่ผ่านมา เราได้เผชิญกับปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้อากาศร้อนขึ้น"

 

ทำให้ขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากโรคลมร้อน (Heat stoke) จำนวนมาก ต่อมาไม่นานในปลายเดือนมิถุนายนเกิดปรากฏการณ์ลานีญา ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาต้องออกประกาศเตือนกว่า 40 จังหวัดในไทย อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากจากฝนตกหนักถึงหนักมาก

 

และในเดือนกรกฎาคม องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกแห่งสหประชาชาติ (WMO) ยังได้เตือนอีกว่ามีโอกาสที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงเกินเกณฑ์ขีดจํากัด 1.5 °C ภายในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ค.ศ. 2024 - 2028) โดยในปี 2566 โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นแล้วกว่า 1.45 °C เทียบกับช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1850-1900)

 

ถึงแม้ว่าอุณหภูมิที่สูงเกิน 1.5°C จะเป็นเพียงการเกินชั่วคราวและไม่ถือว่าเป้าหมายในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) สูญเสียไป จากที่กล่าวมาข้างต้น เรากำลังเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน ความรุนแรงและความถี่ของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ไม่คาดคิดนำมาสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สามารถย้อนกลับได้

 

“เหตุการณ์เหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นว่า สภาพภูมิอากาศได้เข้าสู่ภาวะวิกฤตแล้ว ซึ่งมนุษยชาติจำเป็นต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจเลวร้ายกว่าในอดีต"

 

ก๊าซเรือนกระจก ยังนำความเสียหาย มาสู่สิ่งแวดล้อมและภาคธุรกิจ

ผลการศึกษาของ S&P Global ดังปรากฏในรูปภาพที่ 2 ได้สำรวจและประเมินบริษัททั่วโลกที่อยู่ใน S&P Global Broad Market Index (BMI)

 

“พบว่าในปี 2564 (ค.ศ. 2021) ภาคธุรกิจที่ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก สามารถสร้างความเสียหาย (Damage cost) หรือต้นทุนต่อสิ่งแวดล้อมได้ถึง 656.1 พันล้านดอลลาร์"

 

หรือคิดเป็น 2.2 เท่าของรายได้ที่ธุรกิจนี้หาได้จากปีเดียวกัน (Impact ratio) ตามมาด้วยธุรกิจผลิตปูนซีเมนต์ ปูนขาว และปูนปลาสเตอร์ สร้างความเสียหายได้ถึง 285.1 พันล้านดอลลาร์และคิดเป็น 1.1 เท่าของรายได้ ตอกย้ำให้เห็นว่าธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อทั้งสิ่งแวดล้อมและตัวบริษัทเอง

 

ูปภาพที่ 2 การประเมินความเสียหายจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธุรกิจที่อยู่ใน S&P Global Broad Market Index (BMI) ในปี 2564

global-broad-market-index.png

ที่มา: เว็บไซต์ S&P Global Sustainable

 

หลังจากไทยตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก วันนี้ทิศทางการใช้พลังงานสะอาดของประเทศเป็นอย่างไร?

แม้ไฟฟ้าถือเป็นพลังงานที่สำคัญของครัวเรือนและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย แต่การผลิตไฟฟ้าก็ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดเช่นกัน โดยประมาณกว่า 40% เทียบกับภาคพลังงานทั้งหมด (ไฟฟ้า ขนส่ง อุตสาหกรรม และอื่นๆ) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้าและสนับสนุนแหล่งพลังงานสะอาดเพื่อผลิตไฟฟ้า ประเทศไทยก็จะสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง จากสถิติตัวเลขในรูปภาพที่ 3 ด้านล่างจะเห็นว่าการใช้ไฟฟ้า 5 ปีที่ผ่านมาพบว่าประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน (2563 - 2567) และในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม – เมษายน) การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในทุกภาคส่วนเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ถึง 9.9% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น 17.0% และ 12.3% ตามลำดับ

 

รูปภาพที่ 3 การใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศของไทย (ปี 2563 - 2567)

 electricity-use-thailand.png

​ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

ในปี 2564 ประเทศไทยได้มีการตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% จากการดำเนินการปกติ (Business as usual) ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 (ค.ศ. 2065) และเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย ประเทศไทยก็ได้จัดทำ

 

แผนการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ ได้แก่

1) แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศปี 2558-2593

ซึ่งเป็นแผนที่ต้องการลดอุณหภูมิของโลกระยะยาว โดยมีการมุ่งเน้นมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการปล่อยคาร์บอนต่ำ เช่น สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้พาหนะประหยัดพลังงานและยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น และ

2) แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย 2564-2573

เป็นกรอบการดำเนินงานสู่เป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของไทยในภาคส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ได้แก่ พลังงาน ขนส่ง กระบวนการอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และของเสีย มาตรการที่สำคัญ เช่น การเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ การลดการเดินทางและพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และการจัดการของเสียอุตสาหกรรมและขยะมูลฝอย

 

ภาคธุรกิจจึงได้รับหลากหลายมาตรการส่งเสริม ทั้งการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่โครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำลดโลกร้อนสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการลงทุนด้านเครื่องจักรและสิ่งปลูกสร้าง สินเชื่อเพื่ออาคารคาร์บอนต่ำ ส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (T-VER) สนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าตามนโยบาย 30@30 ที่ภายในปี 2030 รถยนต์ไฟฟ้า (EV) จะต้องมีสัดส่วนการผลิตอย่างน้อย 30% ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในประเทศ รวมไปถึงในอนาคตที่จะมีระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและระบบภาษีคาร์บอนตามร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

 

อย่างไรก็ดี จากรูปภาพที่ 4 จะเห็นว่าสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าของไทยจากเชื้อเพลิงฟอสซิล (ก๊าซ ถ่านหิน และน้ำมัน) ยังคงเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากการเปิดดำเนินการของโรงไฟฟ้าอิสระ (IPPs) ที่ใช้เชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติ ทำให้การใช้พลังงานหมุนเวียนมีสัดส่วนลดลงโดยเปรียบเทียบ  ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าที่กล่าวข้างต้นเป็นโครงการที่เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 2556 และเป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยปี 2556 (Power Development Plan หรือ PDP 2013) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างความมั่นคงและเพียงพอในการจัดหาไฟฟ้าสำหรับประเทศ

 

รูปภาพที่ 4 สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนและเชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตไฟฟ้าของไทย  (ปี 2563 - 2567)

energy-used-in-electricity-thailand.png

​ที่มา: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง โดยสัดส่วนคำนวณจากหน่วยกิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh)

 

ในเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศฉบับใหม่ พ.ศ. 2567-2580 (PDP 2024) ที่กำลังคาดว่าน่าจะมีใช้จริงในปลายปี 2567 หรือต้นปีหน้า นอกจากต้องการส่งเสริมความมั่นคงและบริหารต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว แผนนี้ยังต้องการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้าไทย

 

โดย PDP 2024 ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดเป็น 51% ภายในปี 2580 จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับประมาณ 25% (ม.ค. – เม.ย. 2567)

 

รูปภาพที่ 5 สัดส่วนการใช้พลังงานในการผลิตไฟฟ้าของไทยในปัจจุบันเทียบกับแผน PDP 2018 Rev.1 และ ร่าง PDP 2024  ปี 2037 (พ.ศ. 2580)

pdp2018.png ​

ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน

 

เห็นได้ชัดว่าในขณะที่โลกกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ การบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกจึงเป็นความท้าทายอย่างมาก ทั้งภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังในการปรับเปลี่ยนนโยบายและแนวทางการดำเนินธุรกิจ

 

โดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและลดความเสี่ยงจากวิกฤติโลกเดือดสำหรับคนรุ่นต่อไป

กองทุน ESG แนะนำจาก บลจ.กสิกรไทย

 

1.ใหม่แกะกล่อง! กองทุนประเภท Thai ESG เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อความยั่งยืน อย่างพันธบัตรไทย ที่มีความเสี่ยงต่ำ ยิ่งลงทุนยาว ยิ่งมีโอกาสรับผลตอบแทนมากขึ้น

เพื่อเซฟภาษี K-ESGSI-ThaiESG รายละเอียด >Click<

 

2.เน้นลงทุนหุ้นไทย ที่มีเป้าหมายในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ที่มาพร้อมกับโอกาสในการสร้างผลตอบแทน ให้ใกล้เคียงดัชนี SET100 เป็นหลัก

เพื่อสะสมมูลค่า K-TNZ-A(A) รายละเอียด >Click<

เพื่อเซฟภาษี K-TNZ-ThaiESG รายละเอียด >Click<

 

3.เน้นลงทุนเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Investment) ตามแนวคิด ESG และมีโอกาสเติบโต เช่น Tesla เพิ่มกำลังการผลิตและสร้างยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสูงกว่าเป้าหมาย และ TSMC ผลิตและส่งออกชิปสู่อุตสาหกรรมไอทีทั่วโลก

เพื่อสะสมมูลค่า K-CHANGE-A(A) รายละเอียด >Click<

เพื่อเซฟภาษี K-CHANGE-SFF และ RMF รายละเอียด >Click<

 

4.กองทุนแรกในไทย ที่ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่ทำธุรกิจด้วยความยั่งยืน และที่สำคัญมีส่วนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเน้นใน 3 ธีมหลักได้แก่ พลังงาน พื้นดิน-มหาสมุทร และวัสดุ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันหรือช่วยลดปัญหา Climate Change

เพื่อสะสมมูลค่า K-PLANET-A(A) รายละเอียด >Click<

เพื่อเซฟภาษี K-PLANET-RMF รายละเอียด >Click<

 

สำหรับใครที่สนใจ ในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทน และช่วยเซฟโลกอย่างยั่งยืน ก็สามารถเริ่มลงทุนได้เลย ที่แอปฯ K-My Funds

 

คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

 

ที่มา: ฝ่ายจัดการลงทุนเพื่อความยั่งยืน

ข้อมูล ณ วันที่ 15 ก.ค. 2567 

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

โลกร้อนขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศ อย่างไร? >>Click 

เป้าหมาย Net Zero ไทย ไม่ไกลเกินเอื้อม >>Click

ได้เวลาลงทุนด้าน Climate Change >> Click
โลกร้อนหลบไป โลกเดือดกำลังเข้ามาแทน >> Click



Yes
7/15/2024
none