
โลกการลงทุนต้องเผชิญความท้าทายอีกครั้ง กับสงครามการค้าครั้งใหญ่อย่าง “Trade War 2.0” ที่นอกจากจะสร้างความผันผวนให้กับตลาดแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน
แต่ในทุกความท้าทาย ย่อมมีโอกาสอยู่เสมอ โดยเฉพาะนักลงทุนที่เกาะติดสถานการณ์ตลาดไปพร้อมกับแผนกลยุทธ์ เพื่อรับมือกับความท้าทายรอบด้านที่จะเกิดขึ้น
แล้วในไตรมาส 2 ของปี 2568 นี้ เงินลงทุนควรอยู่ที่ไหน แล้วท่ามกลางความผันผวน ยังมีปัจจัยบวกซ่อนอยู่หรือไม่? KAsset สรุปประเด็นสำคัญมาไว้ให้แล้ว
อัปเดตสถานการณ์การลงทุนในไตรมาสนี้
ในเวลานี้ ตลาดการเงินโลกต่างพากันปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง “นโยบายภาษีตอบโต้” ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเปรียบเสมือนตัวตั้งตัวตีของเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม มีหลายประเด็นสำคัญที่นักลงทุนควรติดตาม
1. นโยบายภาษีตอบโต้ ของสหรัฐฯ
“นโยบายภาษีตอบโต้” ของสหรัฐฯ ยังคงเป็นหมากสำคัญ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อคานอำนาจทางการค้า ภายใต้กรอบนโยบาย “สหรัฐฯ ต้องมาก่อน” ที่ทรัมป์เคยได้ปราศรัยเอาไว้
โดยหลังจากที่ต้นเดือนเมษายน ทรัมป์ประกาศตั้งกำแพงภาษีสินค้านำเข้า ซึ่งมีเกือบ 60 ประเทศที่เผชิญอัตราภาษีศุลกากรตอบโต้ “Reciprocal Tariffs” โดยในช่วงที่ผ่านมาตลาดต้องเผชิญกับความผันผวนสูงมากเนื่องจากประธานาธิบดีทรัมป์มีการปรับเปลี่ยนประเด็นภาษีตลอดเวลา มีทั้งพัฒนาการเชิงบวกและลบ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการค้า และการเติบโตของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสร้างความผันผวนให้กับตลาดการเงินเป็นอย่างมาก
2. เศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากนโยบายกีดกันทางการค้า
ภาพรวมเศรษฐกิจยุโรปมีแนวโน้มการเติบโตที่ดี จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะในฝั่งของเยอรมนี ที่ทางรัฐบาลมีแนวโน้มในการเพิ่มค่าใช้จ่าย ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานกว่า 5 แสนล้านยูโร ใน 10 ปี ทำให้เกิดการจ้างงานและกระตุ้นการลงทุน ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของยุโรปในระยะกลาง-ยาว
3. การแข่งขันเทคโนโลยี AI ที่ร้อนระอุ
สหรัฐฯ และจีนกำลังแข่งขันกันอย่างดุเดือด เพื่อความเป็นผู้นำในเทคโนโลยี AI ซึ่งเป็นขุมพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต
การแข่งขันดังกล่าว ยังอาจนำไปสู่ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างสหรัฐฯ และจีน มากขึ้น ซึ่งนักลงทุนควรติดตามสถานการณ์นี้อย่างใกล้ชิด เพราะในระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนให้กับหุ้นกลุ่มเทคฯ ได้
ผลกระทบ และความเสี่ยงที่ต้องจับตา
- จับตาเงินเฟ้อทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้น
เงินเฟ้อทั่วโลกมีความเสี่ยงที่จะเพิ่มขึ้นจากนโยบายการขึ้นภาษีของทรัมป์ ที่จะทำให้ต้นทุนการนำเข้าสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง ในขณะที่เงินเฟ้อในบางประเทศ เช่น สหรัฐฯ และยุโรป มีความหนืดมากขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา
- นโยบายการเงินของ Fed
แม้ Fed อาจต้องชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อที่เป็นผลจากการขึ้นภาษีนำเข้า แต่ในระยะยาว เศรษฐกิจสหรัฐฯจะมีแนวโน้มชะลอตัวลง และมีโอกาสเพิ่มขึ้นมากที่จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย และนำไปสู่การลดดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า
- การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานโลก
จากมาตรการภาษีตอบโต้ ของสหรัฐฯ อาจส่งผลให้บริษัทต่าง ๆ เริ่มทบทวน และปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทาน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากกำแพงภาษี เช่น บางบริษัทอาจย้ายฐานการผลิตออกจากจีนฯ ไปยังประเทศอื่น ๆ หรือจัดหาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าจากแหล่งใหม่
กลยุทธ์การลงทุนแบบไหน ที่ตอบโจทย์สถานการณ์ตอนนี้
สำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ แนะนำให้ใช้กลยุทธ์กระจายการลงทุนไปในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลกเพื่อกระจายความเสี่ยง
กลุ่มกองทุนผสม 𝐊-𝐖𝐞𝐚𝐥𝐭𝐡𝐏𝐋𝐔𝐒 𝐒𝐞𝐫𝐢𝐞𝐬 ที่ตอบโจทย์ทุกการลงทุน พร้อมกระจายความเสี่ยงไปในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือก โดยมีให้เลือกถึง 3 กองทุนตามระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
● K-WPBALANCED* : เน้นลงทุนตราสารหนี้ 70% และหุ้น 30% เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
● K-WPSPEEDUP : เน้นลงทุนหุ้นในสัดส่วนมากขึ้น 65% เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางถึงค่อนข้างสูง
● K-WPULTIMATE* : เน้นลงทุนหุ้นเป็นหลักถึง 85% เพื่อเร่งพอร์ตให้โต เหมาะสำหรับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง
*กองทุนติดอันดับ Morningstar 5 ดาว (ณ 31 มีนาคม 2568)
สำหรับผู้ที่ไม่กล้ารับความเสี่ยง และต้องการรอความชัดเจนของมาตรการภาษี
แนะนำลงทุนในตราสารหนี้ที่มีความมั่นคง
● K-SFPLUS : กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น สำหรับพักเงิน 3-6 เดือน
● K-FIXEDPLUS : กองทุนตราสารหนี้ระยะกลาง-ยาว สำหรับลงทุน 1-1.5 ปี ขึ้นไป
ที่มา: บลจ.กสิกรไทย ข้อมูล ณ วันที่ 23 เมษายน 2568
คำเตือน ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่
www.kasikornasset.com 
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :
วางแผนอย่างไร เมื่อ LTF ครบกำหนด >>อ่านต่อ
กองทุน LTF ยังมีหวัง หรือไม่ >>อ่านต่อ
รับมืออย่างไร? ในวันที่ไม่มี SSF >>อ่านต่อ
จัดการเงินโบนัส ให้ชนะเงินเฟ้อ >>อ่านต่อ