"จากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกต้องใช้ยาแรงในการสกัดเงินเฟ้อผ่านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย สำหรับไทยเองก็เลือกใช้เครื่องมือนี้เช่นกัน โดยในปีนี้ กนง. มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 2 ครั้ง ในเดือน ส.ค. และ ก.ย. ที่ผ่านมา"
วันนี้ KAsset เลยจะพาทุกท่านมาดูกันว่า เมื่อสถานการณ์โลกอยู่ในภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น การลงทุนแบบไหนจะได้ประโยชน์สูงสุด
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร?
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเครื่องมือที่ธนาคารกลางใช้ดำเนินนโยบายทางการเงิน ทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการลงทุน ผ่านการปรับลดดอกเบี้ย หรือชะลอความร้อนแรงของเศรษฐกิจ ควบคุมเงินเฟ้อ ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งเราจะเห็นว่าขณะนี้ว่าทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติเงินเฟ้อรุนแรงในรอบหลายปี และเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น
เมื่อธนาคารกลาง ขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลอย่างไร?
สถาบันทางการเงิน จะทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยประเภทต่างๆ ไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ยเงินกู้ ดอกเบี้ยเงินฝาก รวมถึงดอกเบี้ยที่เป็นผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล ซึ่งถ้ามีการปรับขึ้นดอกเบี้ยแต่ละครั้ง จะส่งผลกระทบต่อเนื่อง ดังนี้
🟢 1. ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง และงดสร้างหนี้
เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น ผู้คนจะเริ่มระมัดระวังในการจ่ายเงิน การจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น ถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อชะลอตัวลงในที่สุด
🟢 2. ธุรกิจชะลอการขยายตัว เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้น
ความน่าสนใจของการลงทุนจะลดลง แนวโน้มจะฝากเงินไว้ในธนาคารเยอะขึ้น เพราะได้ผลตอบแทนจากเงินฝากสูงขึ้น จึงมีแรงจูงใจน้อยลงที่จะนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงมากกว่า แต่ผลตอบแทนอาจจะไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก
ส่วนการลงทุนของภาคธุรกิจ ก็จะมีต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น จากภาระหนี้ที่อาจเพิ่มขึ้นมหาศาล ทำให้หลายบริษัทอาจจะชะลอการขยายธุรกิจออกไปก่อนในช่วงนี้ หรือลงทุนอย่างระมัดระวังตัวขึ้น ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนาคต
🟢 3. เกิดการระดมทุนเพื่อล็อกต้นทุน เช่น ออกหุ้นกู้ เพิ่มทุนจดทะเบียน
ในระยะสั้น หลายธุรกิจอาจจะเร่งการลงทุนก่อนที่ดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น โดยระดมทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การออกหุ้นกู้ หรือ เพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อเป็นการล๊อกต้นทุนทางการเงินในระยะยาว
ความเสี่ยงในการลงทุนผ่าน หุ้นกู้เอกชน โดยตรง
- นักลงทุนต้องประเมินความเสี่ยงเอง จากอันดับความน่าเชื่อถือ และผลประกอบการของบริษัท
- มีความยืดหยุ่นต่ำ ต้องใช้เงินก้อนซื้อ และถือหุ้นตามสัญญา 2-5 ปี
- หากต้องการขายก่อนอายุสัญญาสามารถไปเปิดพอร์ทซื้อขายในตลาดรอง (BEX) ได้ด้วยตนเอง
ดอกเบี้ยขาขึ้น ควรลงทุน อะไรดี?
การลงทุนในภาวะเช่นนี้ หากลงทุนในกองตราสารหนี้ที่เป็น Passive fund (อายุตราสารที่ลงทุนเฉลี่ยจะยาว) จะได้รับผลกระทบทางลบจากภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น (เนื่องจากราคาตราสารหนี้จะปรับตัวลง สัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนในทางตรงกันข้าม) แต่ก็ยังนับว่ามีการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตได้ดี หากรับความเสี่ยงได้มากขึ้นก็อาจลงทุนใน Active fund ซึ่งผู้จัดการกองทุนสามารถปรับพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมต่อสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
คำแนะนำการลงทุนจาก บลจ.กสิกรไทย
ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกกำลังเป็นขาขึ้น นักลงทุนควรปรับพอร์ตลงทุน ในส่วนของตราสารหนี้ ด้วยการเพิ่มน้ำหนักลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนทีเพิ่มขึ้น จากการที่กองทุนนำเงินที่ถือตราสารหนี้จนครบอายุ และได้ผลตอบแทนจากเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวน ไปลงทุนต่อ (Roll Over) ในตราสารหนี้ใหม่ที่จ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้น
🟢 1. สำหรับนักลงทุนที่ รับความเสี่ยงได้น้อย : แนะนำกองทุน Term Fund
ที่มีอายุไม่ยาว ประมาณ 6 เดือน จนถึง 12 เดือน เมื่อครบกำหนดอายุโครงการ ก็สามารถลงทุนต่อเนื่อง Roll Over ไปลงทุนใหม่ในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นได้
ข้อดีของการลงทุนใน กองทุน Term Fund
- ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้คุณภาพดี ทั้งในและต่างประเทศ
- รู้ประมาณการผลตอบแทนได้คร่าวๆ ก่อนการลงทุน
- ใช้เวลาลงทุนเพียง 6 หรือ 12 เดือน เพื่อรอจังหวะลงทุนใหม่ตามเทรนด์ดอกเบี้ยขาขึ้นได้อีก
🟢 2. สำหรับนักลงทุนที่ รับความเสี่ยงได้มากขึ้น : แนะนำกองทุน K-GINCOME-A(R)
เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เน้นสร้างผลตอบแทนทุกเดือน (Income) จากการ Automatic Redemption หรือ การขายคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ โดยกองทุนมีการกระจายลงทุนในทุกสินทรัพย์ทั่วโลก ทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้นฯ ทำให้สามารถลงทุนได้ทุกช่วงทุกเวลา เพราะมีการปรับสัดส่วนให้ทันกับสภาวะตลาด
ข้อดีของการลงทุนใน กองทุน K-GINCOME-A(R)
บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย