10/19/2022

รู้หรือไม่? กองทุน PVD ก็สามารถเลือกแผนการลงทุนได้

01.jpg 
"คุณรู้หรือไม่? กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุน PVD ที่เราหักจากเงินเดือนไปทุกๆเดือน เพื่อเตรียมแผนเกษียณนั้น ก็มีแผนการลงทุน หรือ Employee’s Choice ให้เราเลือกลงทุนตามสไตล์ด้วยนะ"

โดยสามารถเลือกได้จากระดับความเสี่ยงที่รับได้ และจากผลตอบแทนที่ตัวเองต้องการ วันนี้ KAsset ก็มีวิธีพิจารณาความเสี่ยง และ 2 รูปแบบการลงทุนมาแนะนำให้ชาวมนุษย์เงินเดือนได้ลองทำความเข้าใจ จะได้เลือกลงทุนให้เข้ากับตัวเองมากที่สุด แต่ก่อนอื่น เราลองมาพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อประเมินว่า 

แล้วเราควรจะเลือกลงทุน ในรูปแบบไหนดี?
>> 1 ปัจจัยด้านอายุ : ยิ่งอายุน้อย ยิ่งลงทุนได้นาน ยิ่งรับความเสี่ยงได้มาก
>> 2 ปัจจัยด้านสถานะทางการเงิน : หากมีรายได้สูง และมีความมั่นคง ก็รับความเสี่ยงได้มาก หรือหากมีภาระทางการเงินมาก เช่น ค่าเทอมลูก ค่าผ่อนบ้าน,รถ ก็จะรับความเสี่ยงได้น้อยกว่าคนที่มีภาระน้อย
>> 3 ปัจจัยด้านผลตอบแทน : ถ้าต้องการผลตอบแทนสูง ก็ต้องยอมแบกรับความเสี่ยงสูงหน่อย

02.jpg

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ หากคุณอยู่ในวัยเริ่มต้นทำงาน (อายุ 20-30 ปี) ยังไม่มีภาระมาก และยังมีเวลาในการหารายได้สำหรับการลงทุนอีกหลายปี ก็สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้

ในทางกลับกัน ถ้าคุณอยู่ในวัยใกล้เกษียณ (อายุ 50 ปีขึ้นไป) เท่ากับว่าคุณเหลือระยะเวลาลงทุนอีกไม่เกิน 10 ปี และต้องรับภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล จึงควรลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงต่ำ จะปลอดภัยกว่า

การลงทุนรูปแบบที่ 1 : กองทุนเดี่ยว (Single Fund)
กองทุน PVD รูปแบบนี้ จะเป็นกองทุนขนาดใหญ่ที่มีนายจ้างเพียงรายเดียว แต่เป็นบริษัทที่มีเงินทุนตั้งต้นขนาดใหญ่ ซึ่งนายจ้างอาจจะมีให้เลือกลงทุนแค่นโยบายเดียว หรือให้เลือกหลายนโยบายก็ได้ โดยจะเป็นการกำหนดนโยบายเองร่วมกับ บลจ.
เมื่อลูกจ้างเลือกได้แล้วว่าจะลงทุนในนโยบายใด เงินก็จะถูกนำไปลงทุนตามนโยบายที่เลือกเอาไว้ ยกตัวอย่างเช่น นางสาว B เป็นมนุษย์เงินเดือนวัยเริ่มต้นทำงาน ต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง และรับความเสี่ยงสูงได้ จึงเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุน

02-1.jpg

การลงทุนรูปแบบที่ 2 : กองทุนร่วมหลายนโยบายการลงทุน (Master Pooled Fund)
ส่วนในรูปแบบที่ 2 นี้ เป็นกองทุนที่บลจ. จัดตั้งขึ้น โดยมีข้อบังคับหลัก และนโยบายการลงทุนที่ใช้ร่วมกัน และนายจ้างแต่ละรายก็สามารถกำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของตนได้ในข้อบังคับกองทุนเฉพาะส่วน ซึ่งข้อดีของการลงทุนรูปแบบนี้ คือ มีให้เลือกหลายนโยบายการลงทุนมากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น นาย A เป็นมนุษย์เงินเดือนวัยสร้างครอบครัว (อายุ 30 – 40 ปี) สามารถรับความเสี่ยงได้ปานกลาง ก็สามารถเลือกลงทุนในนโยบายผสม ที่มีแผนการลงทุนในหุ้น และ FIF ไม่เกิน 25% ได้

K-Master Pooled Fund คือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพประเภทกองทุนร่วมหลายนโยบายการลงทุน (Master Pooled Fund) ที่ KAsset จัดตั้งขึ้น และจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว

03.jpg

โดยมีให้เลือกลงทุนถึง 12 นโยบายด้วยกัน ครอบคลุมสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือก นอกจากนี้ยังมีความยืดหยุ่นต่อการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสม และไม่มีค่าธรรมเนียมการซื้อขายบนกองทุนรวมอีกด้วย

ท่านสามารถ ดูรายละเอียดเกี่ยวกับ กองทุน PVD จาก KAsset เพิ่มเติม >>คลิก<< 

แต่หากคุณเพิ่งลาออกจากงานมาเป็นฟรีแลนซ์ที่อยากมีรายได้เสริมจากการลงทุน ก็สามารถเปลี่ยนมาลงทุนในกองทุน RMF for PVD ไปกับ KAsset ได้เหมือนกัน สนใจลงทุนและดูรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุน RMF for PVD เพิ่มเติม >>คลิก<< 


บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 19​ ต.ค. 2565

หมายเหตุ "ทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจลงทุน"


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
เทคนิค ลงทุนให้เหมาะกับช่วงเวลา​ >>อ่านต่อ​
ลงทุน Term Fund รับจังหวะดอกเบี้ยขาขึ้น​ >>อ่านต่อ​
รวมทุกเรื่องที่คุณต้องรู้ ก่อนลงทุนใน SSF/RMF​​ >>​อ่านต่อ​

 
Yes
10/19/2022