12/6/2023

เศรษฐกิจส่อแววฟื้น กนง.คงอัตราดอกเบี้ย 2.5% ต่อปี

HIGHLIGHTS :
• กนง.มีมติเอกฉันท์คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี
• เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง แรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชน
• เงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมาย                 
• KAsset คงมุมมองบวกต่อตราสารหนี้ไทย กองทุน K-SF, K-SFPLUS สามารถเข้าลงทุนได้เลย กองทุน K-PLAN1,              K-FIXEDPLUS แนะนำทยอยเข้าลงทุนได้​

กนง. คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ระดับ 2.50% ในการประชุมเดือน พ.ย.​  

คณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับปัจจุบันเหมาะสมกับบริบทที่เศรษฐกิจกำลังทยอยฟื้นตัวกลับสู่ระดับศักยภาพ เอื้อให้เงินเฟ้ออยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน เสริมสร้างเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว และป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงิน อีกทั้งช่วยรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้​

เศรษฐกิจไทยอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง แรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชน​  ​ 

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.4 และ 3.2 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ ทั้งนี้ หากรวมผลของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล อัตราการขยายตัวในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงจากร้อยละ 4.4 ที่ประเมินไว้ในการประชุมครั้งก่อน ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว โดยได้รับแรงส่งจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวดีตามการใช้จ่ายในหมวดบริการ 

รวมทั้งแรงสนับสนุนจากการจ้างงานและรายได้แรงงานที่ปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่วนหนึ่งจากเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ 

ในระยะต่อไป เศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวสมดุลมากขึ้น ภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่องและภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว แต่มีความเสี่ยงที่อาจไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกเท่าที่คาดจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไป​

เงินเฟ้อมีแนวโน้มทรงตัวในกรอบเป้าหมาย   ​   ​ 

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย และคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 และ 2.0 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ โดยหากรวมผลของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2567 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ลดลงจากร้อยละ 2.6 จากประมาณการครั้งก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2566 ปรับลดลงจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้าและปัจจัยชั่วคราวโดยเฉพาะมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านพลังงาน และราคาอาหารสดที่ต่ำกว่าคาด ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ยังไม่รวมผลของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัลคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 1.3 และ 1.2 ในปี 2566 และ 2567 ตามลำดับ 

​ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความเสี่ยงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับสูงขึ้นจากปรากฏการณ์เอลนีโญ รวมถึงความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลให้ราคาพลังงานโลกปรับสูงขึ้น
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย​

มุมมองของตลาดตราสารหนี้ไทย ในปี 2567​ ​   ​ 

ตลาดคาดดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกเริ่มเข้าใกล้จุดสูงสุดแล้ว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มทยอยปรับตัวลดลง เศรษฐกิจโลกในภาพรวมขยายตัวได้ในอัตราชะลอลง โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยต่อจึงมีจำกัด 

ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยตลาดส่วนใหญ่คาดว่าจะคงอยู่ที่ระดับปัจจุบัน 2.5% ต่อเนื่องไปถึงปีหน้า เนื่องจากอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว (Neutral rate) และสอดคล้องกับแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป แม้ว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงที่ผ่านมาปรับลงมามาก 

แต่อัตราผลตอบแทนยังอยู่ในระดับสูงและน่าสนใจลงทุน อีกทั้งนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาลไม่น่าทำได้เร็ว และอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ดังนั้นความเสี่ยงด้านอุปทานพันธบัตรในระยะสั้นจึงลดลง​

คำแนะนำการลงทุน 

สำหรับกองทุน T+1 : ยังคงมุมมอง Positive
จังหวะที่ดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ในระดับที่สูง นักลงทุนจะได้ประโยชน์จากการถือกองทุนที่ตราสารจ่ายดอกเบี้ยสูง 
ผู้ที่มีอยู่ถือต่อไปได้ หากยังไม่มีสามารถเข้าลงทุนได้เลย
• K-SF (ลงทุนอย่างน้อย 1-3 เดือน)
• K-SFPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 3-6 เดือน)

สำหรับกองทุน T+2 : ยังคงมุมมอง Slightly Positive​
นักลงทุนจะได้ประโยชน์ Running Yield ที่สูงกว่ากองทุนระยะสั้น 
ผู้ที่มีอยู่ถือต่อไปได้ หากยังไม่มีสามารถทยอยเข้าลงทุนได้ เนื่องจากความผันผวนจะสูงกว่ากอง T+1
• K-PLAN1 (ลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน)
• ​FIXEDPLUS (ลงทุนอย่างน้อย 1 ปี)

K-PLAN ,K-PLAN2 , K-PLAN3, K-SF,K-SF-A,K-SF-SSF, K-GINCOME, K-GINCOME-A(A), K-GINCOME-A(R), K-GINCOME-SSF, K-GINCOME-RMF, กองทุนแนะนำ, กองทุนผลตอบแทนดี, กองทุนรวม, กองทุนรวม ตัวไหนดี , กองทุน กสิกร 
ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2023

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
อัปเดตวิกฤตอสังหาริมทรัพย์จีน …เกิดอะไรขึ้น?​ >>Click
เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ย ...แต่ไม่ชัดว่าเป็นครั้งสุดท้าย​ >>Click
สรุปสัญญาณ จากประชุม Politburo ของจีน​​ >>Click​
GDP จีนไตรมาสแรกขยายตัว 4.5% สูงกว่าคาด >>Click​​


Yes
12/6/2023
0