สิ่งหนึ่งที่ชาวมนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเราต้องทำกันทุกปี นั่นก็คือการเตรียมตัววางแผนลดหย่อนภาษี ซึ่งหลายคนอาจยังไม่รู้ว่า มีบางสิทธิที่เราสามารถลดหย่อนภาษีได้ วันนี้ KAsset เลยรวบรวมมาให้ กับ 3 สิทธิลดหย่อนภาษี ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! เพื่อจะได้เตรียมตัววางแผนเอาไว้ เพื่อจะได้ใช้สิทธิต่างๆ ที่มีให้คุ้มค่าที่สุด
สำหรับนักลงทุนท่านใดที่สนใจ วางแผนลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี สามารถค้นหากองทุนเด่น กองทุนดี ที่เราแนะนำได้เลย >>
Click
สิทธิที่ 1 ลดหย่อนขั้นพื้นฐานของชีวิต หรือ ค่าใช้จ่ายส่วนตัว
เป็นการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเรา เช็กลิสท์หลักๆ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่าอุปการะพ่อแม่ บุตร คู่สมรส ไปจนถึงเบี้ยประกันต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น
1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับส่วนตัว 60,000 บาท
2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับคู่สมรส 60,000 บาท (สำหรับคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีเงินได้)
3. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับบุตร คนละ 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไป ได้ลดหย่อนเพิ่มอีกคนละ 60,000 บาท(เกิดปี 2561 เป็นต้นไปสามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน)
4. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับค่าเล่าเรียนลดหย่อนบุตร (ต้องเรียนไม่เกินอายุ 25 ปี) 30,000 บาท บุตรคนที่ 2 เป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี 2561 ได้คนละ 60,000 บาท
5. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับฝากครรภ์และคลอดบุตร ลดได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท
6. ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ กรณีพ่อแม่ที่อายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท รวมถึงผู้ปกครองของคู่สมรส (กรณีมีพี่น้องหลายคน จะใช้สิทธิ์ได้แค่คนเดียว)
7. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับเลี้ยงดูผู้พิการหรือทุพพลภาพ ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี คนละ 60,000 บาท
สิทธิที่ 2️ ลดหย่อนเพื่อการออมและการลงทุน
เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดการออมและการลงทุนระยะยาว สำหรับใช้ในยามเกษียณไปในตัว ได้แก่
1.การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
โดยเมื่อนับรวมกองทุนกลุ่มเกษียณทั้งหมดจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งการลงทุนใน 2 กองทุนนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีแล้ว การทยอยลงทุนตั้งแต่เนิ่นๆ ยังช่วยให้เราวางแผนเพื่อการเกษียณได้ตามเป้าหมายง่ายขึ้น โดยไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายรายเดือนอีกด้วย
2.เงินสะสมในกองทุนของหน่วยงานต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, เงินสะสมกองทุน กบข., กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) และเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
3.สิทธิลดหย่อนภาษีเพื่อการออมและการลงทุนอื่นๆ
ได้แก่ เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ และดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัย
สิทธิที่ 3 ลดหย่อนเพื่อการบริจาค หรือการศึกษา
สิทธินี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้การแบ่งปันสู่สังคม เช่น
1. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ พรรคการเมือง โดยสามารถดูที่ตามที่จ่ายจริงแต่จะได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
2. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ มูลนิธิและองค์กรสาธารณะกุศล ตามจริง ไม่เกิน10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
3. เงินค่าลดหย่อนภาษีสำหรับการบริจาคให้ การศึกษาหรือด้านกีฬา หรือเข้าโรงพยาบาลรัฐและช่วยเหลือด้านสังคมต่างๆ หักลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
เหล่ามนุษย์เงินเดือนเตรียมเช็กลิสท์ได้เลยตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี โดยเฉพาะสิทธิลดหย่อนเพื่อการออมและการลงทุน ยิ่งเริ่มลงทุนเร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสได้รับผลตอบแทนระยะยาวเพิ่มมากขึ้น ทดลองคำนวนภาษี >>
Click<<