11/25/2022

อาชีพฟรีแลนซ์ โสด รายได้ดี ลงทุนลดหย่อนภาษี ยังไงดี?​

​​​​​HIGHLIGHTS :
• อาชีพแม่ค้าออนไลน์ และฟรีแลนซ์ หากไม่ได้จดทะเบียนบริษัท จะต้องคิดภาษีแบบเดียวกับภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดา 
• สำหรับแม่ค้าออนไลน์ หากรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท/ปี ก็จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 
• สำหรับฟรีแลนซ์ ปกติจะโดนหัก ณ ที่จ่าย 3% โดยภาษีส่วนนี้สามารถขอคืนเงินภาษีได้ 
• การลงทุนลดหย่อนภาษี สำหรับอาชีพอิสระและเเม่ค้าออนไลน์ แนะนำเลือกลงทุน SSF ก่อน เพราะจะไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินมากนัก​

อาชีพฟรีแลนซ์ต่างๆ รวมไปถึงพ่อค้า และแม่ค้าออนไลน์ ถือเป็นอาชีพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ทั้งจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น และมีอิสระในการใช้ชีวิตที่มากกว่า ซึ่งพอถึงช่วงสิ้นปีที่ทุกคนต้องวางแผนลดหย่อนภาษีแบบนี้ ไม่เว้นแม้แต่คนที่ทำอาชีพอิสระแบบนี้ด้วย แต่คำถามคือถ้าจะลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษีควรเน้น SSF หรือ RMF มากกว่ากัน

อาชีพอิสระเหล่านี้ ต้องคิดภาษียังไง?
โดยทั้งแม่ค้าออนไลน์และฟรีแลนซ์อื่นๆ หากไม่ได้มีการจดทะเบียนในรูปแบบของบริษัท ก็จะมีการคิดภาษีแบบเดียว คือ การคำนวณภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดา ตามสูตร

(รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย 

ทั้งนี้ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ถ้ามีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ก็จะต้องทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีกด้วย

การคิดค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษี สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ 
1) ค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ไม่ได้ผลิตสินค้าเอง
2) ค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง
3) ค่าใช้จ่ายแบบเหมา 0.5% ของรายได้ หากมีรายได้จากการขายของมากกว่า 1,000,000 บาท

ส่วนฟรีแลนซ์อื่นๆ จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ทุกครั้งที่จ่ายเงินอยู่แล้ว โดยภาษีส่วนนี้ จะนำมาคิดกับภาษีรายได้แบบบุคคลธรรมดาตามปกติ ว่าภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วนั้น มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับอัตราภาษีที่เราต้องจ่าย ซึ่งถ้าภาษีที่ถูกหักไปนั้นน้อยกว่าจำนวนทั้งหมดที่เราต้องจ่ายในแต่ละปี เราก็ต้องจ่ายภาษีนั้นเพิ่มด้วย แต่ถ้าคำนวณแล้วน้อยกว่า เราก็สามารถขอคืนเงินภาษีได้ 

ข้อจำกัดด้านการลงทุน เพื่อลดหย่อนภาษี
หลักๆ ที่ต้องพิจารณาคือจำนวนที่สามารถนำมาลดหย่อนได้สูงสุดของกองทุนแต่ละประเภท และระยะเวลาที่ต้องถือครอง โดย SSF จะต้องถือหน่วยลงทุนเอาไว้ไม่ต่ำกว่า 10 ปี นับจากวันที่เราซื้อ ไม่มีขั้นต่ำในการซื้อ และยังไม่ต้องซื้อต่อเนื่องทุกปีอีกด้วย SSF ซื้อปีไหนก็ได้ลดหย่อนภาษีในปีนั้นๆ จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าสำหรับคนทำอาชีพอิสระ เพราะกองทุน SSF ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินของเรามากนัก
tax saving 2565.jpg

SSF & RMF เลือกลงทุนแบบไหน ดีกว่ากัน?
เราคงต้องบอกว่ากองทุน SSF ดูจะเป็นกองทุนที่เหมาะสมกับคนที่ทำอาชีพอิสระอย่างแม่ค้าออนไลน์และฟรีแลนซ์มากกว่า ในด้านของสภาพคล่องทางการเงิน เพราะการลงทุนใน SSF ไม่มีภาระผูกพันธ์ที่ต้องลงทุนทุกๆปี ยกตัวอย่างเช่น ปีนี้มีรายได้เยอะก็เลือกลงทุนเยอะ หรือปีที่ผ่านมามีรายได้น้อยมากๆ เราก็อาจเลือกไม่ลงทุนเซฟภาษี แต่นำเงินรายได้ที่มีไปลงทุนซื้อของมาขายแทน เป็นต้น 

ดังนั้น สำหรับคนที่ประกอบอาชีพอิสระ ควรเน้นสัดส่วนไปที่กองทุน SSF โดยซื้อให้เต็มสิทธิ์ก่อน แล้วค่อยนำส่วนที่เกินสิทธิ์ ไปลงทุนต่อในกองทุน RMF​   
(หมายเหตุ กองทุน SSF สามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีต่อปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท)  

และหากต้องการลดหย่อนภาษีเพิ่มก็สามารถแบ่งเงินบางส่วนไปซื้อกองทุน RMF เก็บไว้ด้วยน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะพ่อค้าแม่ค้าหรือฟรีแลนซ์ต่าง ๆ ไม่ได้มีสวัสดิการหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบพนักงานประจำ การแบ่งสัดส่วนการลงทุนแบบนี้ นอกจากจะได้ผลประโยชน์ด้านภาษีแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วยแล้ว RMF ยังช่วยให้เราสามารถวางแผนทางการเงินสำหรับช่วงวัยเกษียณในอนาคตได้อีกด้วย

และสำหรับใครที่กำลังมองหากองทุน SSF และ RMF ไว้ลดหย่อนภาษี KAsset ก็มีกองทุนมากมาย เลือกได้ตามสไตล์ที่ชอบ ที่ช่วยให้เราได้รับผลประโยชน์ทั้งด้านการลงทุนและด้านภาษีได้เป็นอย่างดี แถมซื้อได้ง่ายผ่านแอป K-My Funds ที่ให้เราลงทุนได้ทุกที่ ทุกเวลา แถมใช้เงินลงทุนเริ่มต้นขั้นต่ำเพียง 500 บาทเท่านั้น

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับกองทุน SSF และ RMF เพิ่มเติม >>คลิก​<<  
สนใจลงทุน เริ่มต้นเพียง 500 บาท ผ่านแอป K-My Funds ตลอด 24 ชม.​


บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 25 พ.ย. 2565

คำเตือน
- ผู้ลงทุนอาจไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน
- กองทุนรวมนี้มีลักษณะเฉพาะและความเสี่ยงเฉพาะ ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
ลงทุนให้ถึงเป้าหมายเงินล้าน >> อ่านต่อ​
วางแผนภาษี มีแค่ PVD พอไม๊ >> อ่านต่อ​
ลงทุน SAVE ภาษีกันดีกว่า >> อ่านต่อ
ทำไมลงทุนเร็ว ถึงดีกว่าเริ่มลงทุนช้า​ >> อ่านต่อ​



​​​​​
Yes
11/25/2022