8/3/2023

กนง. ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด!! ดันดอกเบี้ยไทย ขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี

HIGHLIGHTS :
• กนง.มีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.25% ตามตลาดคาด
• เป็นครั้งแรกที่ กนง. ส่งสัญญาณว่า “ใกล้จบรอบ” วัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว
• เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน
• อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงแต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต
• KAsset คงมุมมองต่อตราสารหนี้ไทยเป็น Positive จังหวะนี้เป็นช่วงเวลาที่น่าลงทุนกองทุนตราสารหนี้ แนะนำ K-SF, K-SFPLUS, K-PLAN1 และ K-FIXEDPLUS 


กนง.มีมติเอกฉันท์ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เป็น 2.25% ตามตลาดคาด

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 2 ส.ค. 2566 มีมติเอกฉันท์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี เป็น 2.25% จากเดิม 2.00% ต่อปี ด้วยเหตุผลหลัก ดังนี้
1) เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว ป้องกันการสะสมความไม่สมดุลทางการเงินที่เกิดจากสภาวะดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานาน
2) เพื่อรักษาเงินเฟ้อในระยะยาวให้อยู่ในกรอบเป้าหมายอย่างยั่งยืน โดยกนง.มองว่ามีโอกาสที่เงินเฟ้อในระยะถัดไปยังมีความเสี่ยงด้านสูง 
3) เพื่อสร้าง Policy Space เพื่อสร้างขีดความสามารถในนโยบายการเงินรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่อยู่ในระดับสูง หากกรณีเศรษฐกิจชะลอตัวและจำเป็นต้องใช้เครื่องมือด้านนโยบายการเงินในส่วนของการลดอัตราดอกเบี้ย

เป็นครั้งแรกที่ กนง. ส่งสัญญาณว่า “ใกล้จบรอบ” วัฎจักรการขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้แล้ว

เอกสารแถลงผลการประชุมกนง. ได้มีการตัดประโยค “การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องยังเหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ” ออกไป และเน้นในเรื่องของการตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งต่อไปจะขึ้นอยู่กับแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อเป็นหลัก

กนง. มองว่า “เศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวกลับเข้าสู่ระดับศักยภาพ” ซึ่งแตกต่างและแนวโน้มเชิงบวกลดลงจากประชุมครั้งก่อนที่ระบุว่า “เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้” 

ทั้งนี้ กนง. มีมุมมองต่อดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทยในปัจจุบัน อยู่ใกล้เคียงกับระดับ Neutral Rate มากขึ้น

มีความกังวลในคุณภาพสินเชื่ออาจด้อยลง

จากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการ SMEs และครัวเรือนบางส่วนที่ยังเปราะบางจากภาระหนี้ที่สูงขึ้นและรายได้ที่ฟื้นตัวช้า  โดยได้ตัดข้อความ “ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ” ที่มีอยู่ในการแถลงการประชุมครั้งก่อนออกไป

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชน

เศรษฐกิจไทยในภาพรวมมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยวและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกสินค้าหดตัวในระยะสั้น ส่วนหนึ่งตามเศรษฐกิจจีนและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ฟื้นตัวได้ช้า แต่คาดว่าจะปรับดีขึ้นในระยะข้างหน้าสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ทั้งจากภาคการส่งออกสินค้าที่อาจฟื้นตัวช้ากว่าคาด รวมถึงสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลง แม้มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต ​​

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับลดลงจากราคาในหมวดพลังงาน มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และผลของฐานที่สูงในปีก่อนหน้า แต่ประเมินว่าจะปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี หลังปัจจัยชั่วคราวทยอยหมดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานปรับลดลงแต่มีแนวโน้มทรงตัวในระดับที่สูงกว่าในอดีต โดยมีความเสี่ยงด้านสูงจากต้นทุนราคาอาหารที่อาจปรับเพิ่มขึ้นหากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงกว่าคาด ซึ่งอาจเร่งการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการในบริบทที่เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่อง

มุมมองและคำแนะนำการลงทุน กองทุนตราสารหนี้ไทย​

การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นในครั้งนี้เป็นไปตามคาดการณ์ของตลาด และคาดว่าหลังจากนี้ กนง.น่าจะติดตามแนวโน้มและความเสี่ยง ของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อไทย เพื่อพิจารณาปรับดอกเบี้ยขึ้นเพิ่มเติม หากเหมาะสม อย่างไรก็ดี  การที่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงเริ่มกลับสู่แดนบวก ทำให้โอกาสที่จะขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องแบบช่วงที่ผ่านมามีจำกัดมากขึ้น

KAsset คงมุมมองต่อตราสารหนี้ไทยเป็น Positive 
จังหวะนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่น่าลงทุน กองทุนตราสารหนี้ เนื่องจาก
1. อัตราดอกเบี้ยนโยบายโลกและไทยใกล้ถึงระดับสูงสุดของวัฏจักรแล้ว แม้ว่า Fed จำเป็นต้องคงดอกเบี้ยไว้ในระดับสูงอีกระยะหนึ่ง แต่การปรับขึ้นของ Bond Yield น่าจะจำกัดมากขึ้น 
2. อัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับขึ้นมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจลงทุน ตามการปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบาย
3. ตราสารหนี้เป็นทางเลือกในการลงทุนที่ช่วยกระจายความเสี่ยง ในภาวะที่เศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสููง ในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของ Asset Allocation

คำแนะนำการลงทุน : สามารถเลือกลงทุนตราสารหนี้ ตามระยะเวลาที่ถือครองได้ 
- กลุ่มตราสารหนี้ระยะสั้น :  K-SF​ ควรลงทุนอย่างน้อย 1-3 เดือน และ K-SFPLUS ควร​ลงทุนอย่างน้อย 3-6 เดือน
- กลุ่มตราสารหนี้ระยะกลาง :  K-PLAN1 ควรลงทุนอย่างน้อย 9-12 เดือน
- กลุ่มตราสารหนี้ระยะยาว :  K-FIXEDPLUS​ ควรลงทุนอย่างน้อย 1 ปี

หมายเหตุ ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

บทความโดย ฝ่ายกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์การลงทุน บลจ.กสิกรไทย 
ข้อมูล ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2023

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 
เมื่อ Fed ขึ้นดอกเบี้ย แต่ไม่ชัดว่าเป็นครั้งสุดท้าย >>Click
สรุปสัญญาณ จากการประชุม Politburo ก.ค.2566​ >>Click
แบงก์ชาติปรับขึ้นดอกเบี้ย +0.25% เป็น 2% ตามคาด >>Click​​​

K-PLAN ,K-PLAN2 , K-PLAN3, K-SF,K-SF-A,K-SF-SSF, K-GINCOME, K-GINCOME-A(A), K-GINCOME-A(R), K-GINCOME-SSF, K-GINCOME-RMF, กองทุนแนะนำ, กองทุนผลตอบแทนดี, กองทุนรวม, กองทุนรวม ตัวไหนดี , กองทุน กสิกร

Yes
8/3/2023
0