6/13/2024

Fed และ กนง. คงดอกเบี้ยตามคาด ในการประชุมเดือน มิ.ย. นี้

Fed คงดอกเบี้ยตามคาด และส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 1 ครั้ง ในปีนี้

คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ในวันที่ 11– 12 มิ.ย. มีมติคงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ระดับ 5.25-5.50% ตามตลาดคาดการณ์ และเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นครั้งที่ 7

 

ในการประมาณการอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Dot Plot) เจ้าหน้าที่ Fed ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ยเหลือเพียง 1 ครั้งในปีนี้ จากเดิมที่ส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในการประชุมเดือนมี.ค. ส่วนในปี 2568 ส่งสัญญาณปรับลด 4 ครั้ง ซึ่งมากกว่าเดิมที่ส่งสัญญาณจะปรับลด 3 ครั้ง โดยจะปรับลดครั้งละ 0.25% รวม 1.00% ...มีต่อ

 

ตัวเลขเศรษฐกิจที่ Fed มีคาดการณ์ ดังนี้

-คงคาดการณ์ GDP ว่าจะเติบโต 2.1%, 2.0% และ 2.0% ในปี 2567, 2568 และ 2569 ไม่เปลี่ยนแปลงจากตัวเลขคาดการณ์ในเดือนมี.ค. ขณะที่อัตราการขยายตัวในระยะยาวอยู่ที่ระดับ 1.8%

-คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ที่ระดับ 2.8%, 2.3% และ 2.0% ในปี 2567, 2568 และ 2569 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.6%, 2.2% และ 2.0% ตามลำดับ

-อัตราว่างงาน Fed มองที่ระดับ 4.0%, 4.2% และ 4.1% ในปี 2567, 2568 และ 2569 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 4.0%, 4.1% และ 4.0% ตามลำดับ ขณะที่อัตราว่างงานระยะยาวอยู่ที่ 4.2% ...มีต่อ

 

กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ คงดอกเบี้ยตามคาด

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.50% ต่อปี โดย 1 เสียง เห็นควรให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี พร้อมคงคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้ที่ 2.6% และปีหน้าที่ 3.0%

 

โดยรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศ และภาคการท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกขยายตัวในระดับต่ำ อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มทยอยปรับขึ้นและประเมินว่าจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปีนี้ ...มีต่อ

 

มุมมองการลงทุน ตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศ

KAsset มองว่า แม้ Dot Plot ของ Fed ล่าสุดจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยเหลือ 1-2 ครั้งในปีนี้ แต่เป็นมุมมองที่ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ในปัจจุบัน ขณะที่ปรับเพิ่มจำนวนครั้งการลดดอกเบี้ยในปี 2568 เป็น 4 ครั้ง เมื่อประกอบกับตัวเลขเงินเฟ้อ CPI ที่ประกาศออกมาล่าสุด ขยายตัวต่ำกว่าคาด สะท้อนภาพการชะลอตัวของเงินเฟ้อสหรัฐฯ อย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยหนุนโอกาสการลดดอกเบี้ยของ Fed ในระยะข้างหน้า

 

ด้าน กนง. การคงดอกเบี้ยนโยบายนั้นเป็นไปตามที่ตลาดคาด ส่วนโอกาสการลดดอกเบี้ยในปีนี้แม้จะมีน้อยลง โดยเฉพาะหากเศรษฐกิจมีทิศทางฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่มองว่าดอกเบี้ยในประเทศได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และคาดว่าการดำเนินนโยบายในระยะถัดไปจะเป็นการลดดอกเบี้ยลง ...มีต่อ

 

คำแนะนำการลงทุน

KAsset จึงยังคงให้น้ำหนักที่ Overweight สำหรับการลงทุนตราสารหนี้ไทยและต่างประเทศในระยะกลางถึงยาว สามารถทยอยซื้อสะสมได้ จากอัตราผลตอบแทนที่ยังอยู่ในระดับสูงในรอบหลายปี

 

อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยและสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงในระยะข้างหน้า แม้ว่าในระยะสั้นมีโอกาสผันผวน จนกว่าทิศทางการลดดอกเบี้ยจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยมีกองทุนแนะนำ ดังนี้

 

แนะนำ K-SFPLUS กองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

-เน้นลงทุนตราสารหนี้ไทยคุณภาพดี ให้โอกาสรับผลตอบแทนที่มากกว่าเงินฝาก

-เหมาะกับการเป็นแหล่งพักเงินสั้น ๆ ระยะเวลา 3 – 6 เดือน

 

แนะนำ K-FIXEDPLUS กองทุนตราสารหนี้ระยะยาว

-ลงทุนตราสารหนี้ทั้งในไทยและต่างประเทศ โดยปรับสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศได้อย่างยืดหยุ่น เพื่อรับมือความผันผวนทุกสภาวะตลาด

-เหมาะกับการลงทุนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

 

แนะนำ K-GDBOND กองทุนตราสารหนี้ทั่วโลก

-เน้นกระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลก ด้วยกลยุทการลงทุนที่มีความยืดหยุ่นสูง

-เหมาะกับการลงทุนตั้งแต่ 3 ถึง 5 ปีขึ้นไป

 

ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน โดยศึกษานโยบายกองทุนและความเสี่ยงได้ที่ www.kasikornasset.com

 

บทความโดย

ที่มา: KAsset Investment Strategy บลจ.กสิกรไทย

ข้อมูล ณ วันที่ 13 มิ.ย. 2567

 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคจัดพอร์ตลงทุน ให้โตไว  >>Click

ECB ลดดอกเบี้ยครั้งแรก ในรอบ 5 ปี >>Click

จัดพอร์ต Core-Satellite ไม่ใช่เรื่องยาก >>Click

เป้าหมาย Net Zero ไทย ไม่ไกลเกินเอื้อม  >>Click

Yes
6/13/2024
none